อัพเดต 3 เงื่อนไข รับเงินเยียวยา ประกันสังคม ม.33 39 40

คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ได้มีการประชุม และลงมติอนุมัติโครงการเยียวยานายจ้าง และผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 สำหรับเขตพื้นที่สีแดงเข้ม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ที่ผ่านมา มีการไลฟ์ในเพจประกันสังคม จากผู้อำนายการสำนักสิทธิประโยชน์ และรองโฆษกสำนักงานประกันสังคม ข้อมูลจากเพจ “ไทยคู่ฟ้า” รวมถึงการแถลงข่าวจาก โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) ได้ อัพเดต 3 เงื่อนไข รับเงินเยียวยา สำหรับผู้ที่มีประกันสังคม ม.33 ม.39 และ ม.40

 

อัพเดต 3 เงื่อนไข รับเงินเยียวยา สำหรับผู้ที่มีประกันสังคม ม.33 ม.39 และ ม.40

1. จ่ายเงินผ่าน “พร้อมเพย์” แต่ต้องผูกกับ “บัตรประชาชน” เท่านั้น

สำหรับรายละเอียดการจ่ายเงินเยียวยา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ประกันตน มาตรา 33, 39 หรือ 40 ต่างต้องรับเงินผ่านช่องทางเดียวกัน คือ “พร้อมเพย์” โดยสำหรับผู้ที่อยู่ในระบบอยู่แล้ว ไม่ต้องมายื่นเอกสารเพิ่มเติม เพราะรัฐ โดย ประกันสังคม มีฐานข้อมูลอยู่แล้ว

สิ่งที่ต้องทำมีอย่างเดียว คือ ต้องเปิดบัญชี “พร้อมเพย์” ที่ผูกกับ “บัตรประชาชน” เท่านั้น ห้ามผูกบัญชีกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือ เพื่อรอรับเงินเยียวยาตามสิทธิ์

2. กลุ่ม “อาชีพอิสระ” หรือ “ฟรีแลนซ์” ที่มีข้อมูลใน ประกันสังคมมาตรา 40 มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาเช่นกัน

ลัดดา แซ่ลี้ ผู้อำนวยการสำนักสิทธิประโยชน์ และรองโฆษกสำนักงานประกันสังคม ให้ข้อมูลว่า ผู้ประกันตนรายเก่า ที่อยู่ในประกันสังคมาตรา 39 และมาตรา 40 อยู่แล้ว ตั้งแต่ก่อนประกาศมาตรการวันที่ 28 มิ.ย. 64 หากมีคุณสมบัติครบตามที่มาตรการกำหนด จะมีสิทธิ์ได้รับ “เงินเยียวยา” 5,000 อัตโนมัติ ไม่ต้องลงทะเบียนหรือไปที่สำนักงานประกันสังคม เพียงแค่ “ผูกพร้อมเพย์ด้วยบัตรประชาชน”

แต่สำหรับ ผู้ประกอบ “อาชีพอิสระ” ที่ยังไม่ได้อยู่ในประกันสังคมมาตราใดเลย จะต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายใน 30 ก.ค. 64 ก่อน จึงจะมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา ซึ่งสามารถสมัครได้ที่ ร้านเซเว่น อีเลฟเว่นทุกสาขา บิ๊กซี ธกส. เครือข่ายประกันสังคม หรือเข้าไปสมัครในเว็บไซต์ www.sso.go.th โดยใช้หลักฐานแค่บัตรประชาชนเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม รองโฆษกสำนักงานประกันสังคม ระบุว่า สำหรับกลุ่มใหม่ที่กำลังสมัครเข้าระบบประกันสังคม มาตรา40 นี้ แม้มติ ครม. รับโดยหลักการแล้ว แต่จะต้องนำเรื่องเข้าที่ประชุม ครม. อีกครั้งในวันอังคารหน้า (20 ก.ค.) ว่าจะช่วยเหลืออย่างไรสำหรับกลุ่มที่เพิ่งสมัครเข้าร่วมในช่วง 29 มิ.ย.-30 ก.ค. นี้ เนื่องจากเป็นกลุ่มใหม่ ไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูลตั้งแต่แรก

3. ประกันสังคมทั้ง ม.33 , 39 และ 40 ไม่ใช่ทุกคนที่ได้รับสิทธิ์การเยียวยา

อีกหนึ่งเรื่องที่หลายคนเข้าใจผิดคือคิดว่าผู้ประกันตนในประกันสังคมจะได้รับเงินเยียวยารอบนี้ทั้งหมด แต่ไม่ได้เป็นแบบนั้น จากจ่ายเงินเยียวยานี้มีเงื่อนไขที่กำหนดไว้ว่า ผู้ที่ได้รับเงินเยียวยาในครั้งนี้จะต้องเป็นผู้ประกันสังคมมาตรา33 ที่ว่างงานจากเหตุสุดวิสัย นั่นคือองค์กรที่ทำงานอยู่ไม่สามารถดำเนินงานได้ในช่วงล็อกดาวน์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รวมถึงกลุ่มผู้ประกันตนมาตรา39 และมาตรา40 ที่ประกอบอาชีพอยู่ในเกณฑ์ 9 กลุ่มอาชีพ ที่อยู่ใน 10 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มเท่านั้น จึงจะได้รับเงินเยียวยา

ขอขอบคุณภาพจาก กรุงเทพธุรกิจ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : วิธีรายงานตัวว่างงานผ่านเน็ต ทำยังไง? ไม่มีงานไม่เป็นไรได้เงินชดเชย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

9 กลุ่มอาชีพที่จะได้รับ “เงินเยียวยา”

1. ที่พักแรม และบริการด้านอาหาร

โรงแรม, รีสอร์ท, เกสต์เฮ้าส์, ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท, การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร, การบริการด้านอาหารบนแผงลอยและตลาด, การบริการด้านการจัดเลี้ยง, การบริการด้านเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นหลักในร้าน

2. การขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า

การขนส่งผู้โดยสารทางรถโดยสารประจำทางระหว่างกรุงเทพกับจังหวัดอื่นและระหว่างจังหวัด,  การขนส่งผู้โดยสารโดยรถยนต์รับจ้าง/แท็กซี่/รถสามล้อเครื่อง/จักรยานยนต์รับจ้าง, การขนส่งสินค้าแช่เย็นหรือแช่แข็งทางถนน, การขนส่งสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ทางถนน

3. การขายส่ง และการขายปลีก การซ่อมยานยนต์

ห้างสรรพสินค้า, ซุปเปอร์เซ็นเตอร์, การขายปลีกสินค้าทั่วไป

ตรวจสอบสิทธิ์ ผ่านทาง www.sso.go.th

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. กิจกรรมการบริหาร และการสนับสนุน

ธุรกิจจัดนำเที่ยว, กิจกรรมของมัคคุเทศก์, กิจกรรมการรักษาความปลอดภัย, การบริการทำความสะอาด, การจัดการประชุมและการจัดแสดงสินค้า (event)

5. กิจกรรมวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ

กิจกรรมของบริษัทโฆษณา, กิจกรรมออกแบบและตกแต่งภายใน, การตรวจสอบบัญชี, การให้คำปรึกษาด้านภาษี

6. ข้อมูลข่าวสาร และการสื่อสาร

กิจกรรมการผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์, กิจกรรมการผลิตรายการโทรทัศน์, กิจกรรมด้านการจัดฉายภาพยนตร์

7. การก่อสร้าง

การก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย, การก่อสร้างถนน, สะพานและอุโมงค์, การติดตั้งระบบประปาและระบายน้ำ

8. กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ

กิจกรรมสปา, กิจกรรมการแต่งผม, กิจกรรมการดูแลความงาม แต่งเล็บมือและเล็บเท้า, กิจกรรมเกี่ยวกับงานศพและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

9. ศิลปะความบันเทิง และสันทนาการ

การดำเนินงานของสถานที่ออกกำลังกาย, กิจกรรมด้านสโมสรกีฬา, กิจกรรมด้านสวนสนุกและธีมปาร์ค, กิจกรรมการแสดงโชว์เพื่อความบันเทิงและการนันทนาการ

หมายเหตุ : กรณีเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ไม่ได้อยู่ในประกันสังคมมาตราใดเลย จำเป็นจะต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนในประกันสังคมมาตรา 40 ภายใน กรกฎาคม 2564 จึงจะได้รับเงินเยียวยา

 

พื้นที่สีแดงเข้มที่ได้รับสิทธิ์ได้แก่

  1. กรุงเทพมหานคร
  2. นครปฐม
  3. สมุทรสาคร
  4. ปทุมธานี
  5. นนทบุรี
  6. สมุทรปราการ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เงื่อนไขการได้รับสิทธิ์

  • กรณีนายจ้างที่อยู่ในฐานข้อมูลประกันสังคม ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564 หรือนายจ้าง ที่ขึ้นทะเบียนใหม่ ตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน – 30 กรกฎาคม 2564 จำนวนทั้งสิ้น 41,940 ราย ท่านจะได้รับเงินเยียวยาในอัตรา 3,000 บาท ต่อลูกจ้างหนึ่งคน สูงสุดไม่เกิน 200 คนต่อแห่ง
  • กรณีผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 663,916 ราย จะได้รับเงินเยียวยาในอัตรา 2,000 บาทต่อคน ทั้งนี้ กรณีที่ผู้ประกันตนได้ทำงานกับนายจ้างมากกว่า 1 ราย ให้มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาเพียงครั้งเดียว ในอัตรา 2,000 บาท

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ติดโควิด-19 ยกบ้าน จากคลัสเตอร์หลักสี่ ไร้หน่วยงานช่วยเยียวยา

 

สำหรับลูกจ้าง

  • ลูกจ้างคนใดที่มีการจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน จะได้รับเงินชดเชยเหตุสุดวิสัย 50 % ของค่าจ้างสูงสุด ไม่เกิน 7,500 บาท
  • รัฐบาลจะจ่ายเพิ่มเติม ให้กับลูกจ้างในระบบประกันสังคมที่มีสัญชาติไทยอีก 2,000 บาทต่อคน

 

รับเงินเยียวยาอย่างไร

  • สำหรับกรณีของบุคคลธรรมดา และผู้ประกันตนในมาตรา 33 ทางสำนักงานประกันสังคม จะโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (Prompt Pay) เฉพาะผู้ที่มีบัญชีพร้อมเพย์ผูกโยงข้อมูลกับเลขบัตรประชาชน
  • นายจ้างที่เป็นนิติบุคคล ทางสำนักงานประกันสังคม จะทำการโอนเข้าบัญชีเงินฝาก ตามที่นายจ้างได้แจ้ง หรือตามวิธีการอื่น ๆ ที่กระทรวงแรงงานได้กำหนดเอาไว้

โดยเงินเยียวยา จะเริ่มโอนให้ครั้งแรก ภายในวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 นี และจะโอนเงินซ้ำทุกสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ครม. เคาะอนุมัติ 4 โครงการเยียวยาโควิด

 

 

ทั้งนี้ นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ ผู้ตรวจราชการกรมสำนักงานประกันสังคม ในฐานะโฆษกสำนักงานประกันสังคม ได้เปิดเผยถึงผู้ประกอบการ ที่มีลูกจ้าง แต่ยังไม่ทำการขึ้นทะเบียนประกันสังคมนั้น ขอให้เร่งมาลงทะเบียนนายจ้าง และให้กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานตรวจสอบนิติสัมพันธ์ความเป็นนายจ้าง ลูกจ้างของนายจ้างที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมรายใหม่

ซึ่งจะสามารถมาขึ้นทะเบียนเพิ่มเติมได้ ในระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน – 30 กรกฎาคม 2564 โดยสามารถขึ้นทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคมได้โดยตรง www.sso.go.th เพื่อทำการยืนยันว่า มีการประกอบธุรกิจ และมีการจ้างงานตามจำนวนที่แจ้งขึ้นทะเบียนประสังคมไว้จริง รวมทั้งจะเร่งประชาสัมพันธ์ให้นายจ้างรายใหม่ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบประกันสังคมมากขึ้นด้วย

 

ที่มา : prachachat.net

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ได้รับสวัสดิการอะไรบ้าง ใครได้บ้าง

ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ วิธีการทำต้องทำอย่างไร

ม.33 เรารักกัน ใช้ซื้อสินค้า จ่ายค่าบริการ ได้ที่ไหนบ้าง

 

บทความโดย

Arunsri Karnmana