ภูเก็ต แซนด์บอกซ์ อ้าแขนเตรียมรับนักท่องเที่ยวยุโรปนับ 1,000

ภูเก็ต แซนด์บอกซ์ อ้าแขนเตรียมรับนักท่องเที่ยวยุโรปนับ 1,000

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลังจากทางคณะรัฐมนตรี ได้มีการเคาะอนุมัติ โครงการ ภูเก็ต แซนด์บอกซ์ เปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของประเทศไทย ให้กลับมาคึกคักใหม่อีกครั้ง ทำให้เกิดการแห่จองเที่ยวบินจากเยอรมนี และอังกฤษ มากกว่า 1,000 ที่นั่ง แม้ว่านโยบายจะยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร

โครงการ ภูเก็ต แซนด์บอกซ์ จะเป็นโครงการแรกสำหรับการเปิดประเทศ ต้อนรับชาวต่างชาติที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ครบโดส เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย หลังจากมีการปิดประเทศมาอย่างยาวนานราว 1 ปีครึ่ง ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจ และธุรกิจการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบกันอย่างมากมาย และคาดว่า จะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ

 

ชาวยุโรปพร้อมบินเที่ยวภูเก็ต

วันที่ 14 มิ.ย. นายนนท์ กลินทะ ประธานเจ้าหน้าที่สายการบินพาณิชย์ การบินไทย เปิดเผยว่า หลังจากที่การบินไทย ได้เปิดบินเชิงพาณิชย์ ใน 5 เส้นทาง จากยุโรปเข้าสู่จังหวัดภูเก็ต เพื่อตอบรับนโยบาย ภูเก็ต แซนด์บอกซ์ ปรากฎว่า มียอดจองตั๋วโดยสารเข้ามาอย่างคึกคัก

โดยเฉพาะเที่ยวบินจากเยอรมนี และอังกฤษ พบว่า เที่ยวบินแรกของการเปิดประเทศนั้น มีมากกว่า 100 – 120 ที่นั่งต่อเที่ยวบินแล้ว หลังจากการเปิดให้จองเพียง 2 – 3 สัปดาห์เท่านั้น ซึ่งหากรวมทั้ง 5 เส้นทาง ที่จะเปิดเส้นทางบินเพื่อเข้าสู่ภูเก็ต นับว่ามีการจองตั๋วเข้ามากกว่า 1,000 ที่นั่ง

แม้ว่า นโยบายของทางรัฐจะยังไม่ชัดเจนสำหรับการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวในครั้งนี้ แต่จากการตอบรับที่เกิดขึ้น เชื่อได้ว่า หากเรามีนโยบาย และแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ น่าจะเป็นอีกหนึ่งโครงการ ที่ประสบความสำเร็จ และทำให้ธุรกิจการท่องเที่ยว สามารถฟื้นตัวได้อย่างแน่นอน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : Phuket Campground อยู่เมืองไทย เหมือนได้ไปต่างประเทศ

นโยบายเบื้องต้น

ด้านนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา กล่าวว่า แม้กระบวนการขับเคลื่อน ภูเก็ต แซนด์บอกซ์ บางช่วงจะมีปัญหาติดขัดบ้าง แต่รัฐบาลพร้อมเต็มที่ในการขับเคลื่อน และคาดว่าจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ในสิ้นเดือน มิ.ย.

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“เราอยากให้ทุกภาคส่วนเดินหน้า และทดลองระบบ และแก้ปัญหาไปพร้อมกัน เช่น กรณีที่เอกชนท้วงว่า ทำไมต้องอยู่ภูเก็ต 14 วัน ขอ 7 วันได้ไหม หรือขอเปิดบางพื้นที่ในกระบี่ และพังงา ควบคู่ไปด้วยนั้น ประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ ผมอยากให้ลองเปิดสัก 1 เดือนก่อน แล้วมาประเมินผล หากระบบที่วางไว้บริหารจัดการได้ดี ไม่มีผู้ติดเชื้อ ไม่มีการกลับมาแพร่ระบาดอีก ก็จะขอจาก 14 วันให้ลดลงต่อไป”

นายพิพัฒน์ยอมรับว่า การดำเนินการล่าช้าทำให้ตัวเลขนักท่องเที่ยวในเดือน ก.ค. อาจไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 29,000 คน แต่เชื่อว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นตั้งแต่เดือน ส.ค.เป็นต้นไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นายกฯ ลงพื้นที่ตรวจความพร้อม

โดยเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางไปยังท่าเทียบเรืออ่าวปอ จังหวัด ภูเก็ต เพื่อตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ใ นการเตรียมความพร้อมการคัดกรองนักท่องเที่ยว ก่อนเดินทางต่อไปยังด่านตรวจภูเก็ต เพื่อตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการเตรียมความพร้อมการคัดกรองนักท่องเที่ยว ก่อนเสร็จสิ้นภารกิจ และเดินทางกลับกรุงเทพฯ

กำหนดการของนายกรัฐมนตรีดังกล่าว ต่อเนื่องจาก พล.อ.ประยุทธ์แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) ได้ประกาศว่า เปิดประเทศภายใน 120 วัน และจะเร่งรัดนำแผน Sandbox เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณา และอนุมัติในช่วงสัปดาห์หน้า

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : หนังดังแต่ละเรื่อง ฉากนี้ถ่ายที่ไหน ไปเที่ยวตามรอยหนังกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความกังวล ที่ยังคงไม่ได้รับคำตอบ

ในขณะที่ ประชาชน และแพทย์พยาบาล เจ้าหน้าที่ ต่างพากันกังวล ถึงสถานการณ์ภายในประเทศ เนื่องจาก เรายังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดได้ การเปิดประเทศในครั้งนี้ จะทำให้เกิดวิกฤติคลัชเตอร์ใหม่เกิดขึ้นหรือไม่ แล้วถ้าเกิดขึ้น จะมีประสิทธิภาพในการรับมือได้มากแค่ไหน และจะเกิดการแพร่ระบาดจนเกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ตามมาหรือไม่ ยังเป็นคำถามที่ ทุกคนต่างก็ยังคงเป็นกังวล

 

ที่มา : prachachat

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แผนเปิดประเทศ เพื่อการท่องเที่ยว นำร่อง “ภูเก็ต” จังหวัดแรก

รวม 30 ที่พักภูเก็ต โรงแรมในเมืองภูเก็ต ที่พักหรู ราคาประหยัด

สะบัดผ้ากระโดดลงทะเล เที่ยวภูเก็ต ให้ลืมร้อนกันเถอะ

บทความโดย

Arunsri Karnmana