วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'

คำถามที่พบบ่อยที่ผู้ปกครองถามบ่อยเกี่ยวกับวัคซีนในเด็กเล็กก็คือ "วัคซีนIPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า ?" วันนี้มาทำความเข้าใจเกี่ยวข้องกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี' หรือที่เรามักเรียกสั้น ๆ ว่า "วัคซีนไอพีดี" กันครับ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เชื้อแบคทีเรียตัวร้ายตัวหนึ่งที่ทำให้เด็กเล็ก (โดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 2 ปี) และคนชราอายุมากกว่า 65 ปีป่วยจนถึงป่วยหนักได้ก็คือ เชื้อนิวโมคอคคัส (Pneumococcus; Streptococcus pneumoniae) ทำให้เกิดการติดเชื้อของทางเดินหายใจ พูดง่าย ๆ ก็คือ ไข้หวัด ไข้คออักเสบและหูชั้นกลางอักเสบนี่แหละครับ … โดยเชื้อนิวโมคอคคัสนี้อาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรง โดยลุกลามลงไปในปอด เข้ากระแสเลือด ไปยังเยื่อหุ้มสมองและสมอง ทำให้เกิดปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในกระแสเลือด (Bacteremia) และโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) 

การติดเชื้อที่ลุกลามนี้ เราเรียกมันว่า โรคIPD  นั่นเอง โดยมีอาการของการติดเชื้อลุกลามมีตั้งแต่ ไข้ ไอ หอบเหนื่อย ความดันโลหิตต่ำ ปวดศรีษะ คอแข็ง ชักเกร็ง และซึมหมดสติ แน่นอนว่าอาจรุนแรงจนทำให้เกิดการทุพพลภาพ พิการและเสียชีวิตได้ โดยพบว่าเด็กจะมีการสะสมของเชื้อแบคทีเรียในลำคอมากกว่าผู้ใหญ่ จึงทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อได้ง่ายกว่า ข้อมูลในปี พ.ศ.2558 พบว่าอุบัติการณ์การติดเชื้อนิวโมคอคคัสในเด็กของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูงถึง 2,432 รายต่อเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีหนึ่งแสนราย และมีผู้เสียชีวิต 69,200 คน [1]

 

เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสมีราว 100 สายพันธุ์ (ซีโรไทป์) โดยจากข้อมูลของประเทศไทยพบว่ามีสายพันธุ์ที่พบบ่อย 5 สายพันธุ์ เรียงลำดับจากสายพันธุ์ที่พบบ่อยที่สุดลงไป ได้แก่ 6B, 19A, 14, 18C และ 6A โดยพบว่าสายพันธุ์ 19A เป็นสายพันธุ์ที่พบเพิ่มขึ้นในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีในช่วง 10 – 15 ปีที่ผ่านมา (จาก 5.6% เป็น 18.3% จากช่วงปี 2543-2552 เทียบกับ 2552-2555) [1] นอกจากนี้ยังพบว่าสายพันธุ์ที่ดื้อยามากขึ้นก็คือสายพันธุ์ 19A นี้ด้วยเช่นกันทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย [2]

 

ข้อดีก็คือ ในปัจจุบันเรามีวัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส หรือที่เรามักรูจักกันในนาม “วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี” แล้ว ในประเทศที่พัฒนาอย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป รวมถึงอีกหลายประเทศทั่วโลกได้บรรจุ ‘วัคซีนIPD’ เป็นวัคซีนพื้นฐานที่เด็กทุกคนในประเทศจะได้รับ โดยสำหรับในประเทศไทย วัคซีนIPD ยังเป็นวัคซีนทางเลือกหรือวัคซีนเสริมที่คุณพ่อคุณแม่ต้องจ่ายเงินเพื่อให้ลูกได้รับ … คำถามที่พบบ่อยตามมาก็คือ 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“เราจำเป็นต้องให้ลูกรับวัคซีนไอพีดีหรือไม่”

“วัคซีนไอพีดี คุ้มค่าเงินที่เสียไปหรือไม่” 

 

คำตอบก็คือ การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาครับ ด้วยความที่เป็น ‘วัคซีนทางเลือก’ สำหรับประเทศไทย การพิจารณาจึงต้องขึ้นกับบริบทของแต่ละครอบครัวด้วยครับ ในทางปฏิบัติ วัคซีนฉีดย่อมดีกว่าไม่ฉีด คงคุ้มค่าอยู่แล้วหากเทียบกับตอนลูกป่วยต้องนอน รพ. จากโรคที่ป้องกันได้ และอาจมีผลแทรกซ้อนจากการติดเชื้อที่รุนแรงอีกด้วย ขึ้นกับเงินในกระเป๋าและความเสี่ยง 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กลุ่มที่เสี่ยงต่อไอพีดีที่ควรฉีด (หากฉีดได้) ก็คือ เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ เด็กในสถานรับเลี้ยงเด็ก และกลุ่มที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังที่ไม่ควรเสี่ยงติดเชื้อเลย เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง โรคไตวายเรื้อรัง เป็นต้น

 

ชนิดของ วัคซีนIPD

สำหรับวัคซีนไอพีดีในเด็กอายุต่ำว่า 2 ปี เป็นชนิด ‘คอนจูเกต’ มี 2 ชนิด ได้แก่ 

 – ชนิด 13 ซีโรไทป์ (สายพันธุ์) ป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส 13 สายพันธุ์ ได้แก่ ซีโรไทป์ 1, 3, 4, 5, 6A, 6B, 7F, 9V, 14, 18C, 19A, 19F และ 23F จากการเก็บข้อมูลในประเทศไทย พบว่าวัคซีนชนิดนี้สามารถครอบคลุมสายพันธุ์ที่ก่อโรคในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี 73.2% – 92% [1]

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 – ชนิด 10 ซีโรไทป์ (สายพันธุ์) ป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส 10 สายพันธุ์ ได้แก่ ซีโรไทป์ 1, 4, 5, 6B, 7F, 9V, 14, 18C, 19F และ 23F จากการเก็บข้อมูลในประเทศไทย พบว่าวัคซีนชนิดนี้สามารถครอบคลุมสายพันธุ์ที่ก่อโรคในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี 48.8% – 74% [1]

 

พบว่าวัคซีนชนิดคอนจูเกตชนิด 13 สายพันธุ์ สามารถครอบคลุมเชื้อนิวโมคอคคัสได้มากกว่า รวมถึงเชื้อนิวโมคอคคัสสายพันธุ์ 19A ที่พบมากขึ้นและดื้อยามากขึ้นในปัจจุบัน โดยผลข้างเคียงของวัคซีนก็ไม่ต่างจากวัคซีนชนิดอื่น ๆ ก็คือ มีโอกาสแพ้ได้แม้จะน้อยก็ตาม และการเกิดไข้หลังจากรับวัคซีนนั่นเอง สำหรับรายละเอียดแนะนำให้สอบถามคุณหมอที่ฉีดวัคซีนให้ลูกเพิ่มเติมครับ

การฉีดวัคซีนไอพีดี เริ่มฉีดได้พร้อมวัคซีนพื้นฐานที่อายุ 2 เดือน #ฉีดเร็วก็มีภูมิคุ้มกันก่อน โดยหากไล่เรียงตามอายุที่ก่อโรคจะพบว่าช่วงอายุที่พบไอพีดีมากที่สุด (ตามการรวบรวมขององค์การอนามัยโลก) คือ น้อยกว่า 1 ปี (มากกว่าครึ่งเกิดก่อนอายุ 1 ขวบ) โดยสามารถรับวัคซีนไอพีดีได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือนพร้อมวัคซีนพื้นฐานตามเกณฑ์ที่อายุ 2, 4, 6 และ 12 – 15 เดือน (รวม 4 เข็ม)

หากเริ่มฉีดหลังอายุ 6 เดือนแต่น้อยกว่า 1 ปี ฉีด 3 เข็ม โดยสองเข็มแรกห่างกัน 2 เดือนเข็มที่ 3 ฉีดตอนอายุ 12 – 15 เดือน หากเริ่มฉีดหลังอายุ 1 ขวบฉีด 2 เข็มห่างกันสองเดือนก็พอครับ

แล้วลูกหมอฉีดไหม อย่างที่เคยบอก ‘จัดเต็ม’ เพราะแค่เป็นไข้หวัดธรรมดาก็สงสารลูกมากแล้ว ถ้าเป็นไอพีดีจะขนาดไหน เอาเงินซื้อประกันสุขภาพแพง ๆ มาฉีดวัคซีนดีกว่า (จริง ๆ คือเจียดเงิน F ของออนไลน์มาฉีดวัคซีนให้ลูกก็พอแล้วมั้ยพ่อหมอ 555)

 

#หมอวินเพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ เลี้ยงลูกตามใจหมอ

โปรดปรึกษาแพทย์ของท่านเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

 

เอกสารอ้างอิง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

[1] A Gamil, et al. Int J Infect Dis. 2021 Jan;102:429-436. 

[2] P Chongtrakool, et al. SEAMEO Trop Med 2022;53:73-90

 

บทความโดย 

ผศ. นพ.วรวุฒิ เชยประเสริฐ

กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านโลหิตวิทยา และมะเร็งในเด็ก

Date of preparation: 01 Feb 2023

PP-PRV-THA-0128

 

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team