อัลตร้าซาวด์ท้อง กี่เดือนรู้เพศลูก ควรตรวจอัลตร้าซาวด์ตอนไหน?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การตรวจ อัลตร้าซาวด์ท้อง ส่วนใหญ่คุณแม่มักจะตั้งคำถามว่า ท้องกี่เดือนถึงจะรู้เพศ กี่เดือนรู้เพศลูก แต่จริง ๆ แล้ว ประโยชน์ของอัลตร้าซาวด์ของคุณแม่ตั้งครรภ์ คือการตรวจหาความสมบูรณ์ของทารกและพัฒนาการ และวางเป้าหมายการคลอดอย่างเหมาะสม เช่น คุณแม่สามารถคลอดธรรมชาติ หรือหากอยู่ในขั้นวิกฤติอาจจะต้องผ่าคลอดก่อนกำหนด กี่เดือนถึงจะรู้เพศลูก ท้องกี่เดือนถึงจะรู้เพศ รวมไปถึงคุณแม่ที่ตั้งใจผ่าคลอดเพื่อดูฤกษ์ยาม ทั้งนี้การอัลตร้าซาวด์ยังช่วยแพทย์ประเมินได้ถึงความพร้อมของแม่และความปลอดภัยของลูกน้อยเป็นอย่างดี

 

การตรวจ อัลตร้าซาวด์ท้อง ดูเพศลูก รู้เพศลูกตอนกี่เดือน

คุณแม่นิยมใช้การตรวจ อัลตร้าซาวด์ท้อง (Ultrasound) เพื่อหาเพศลูกอย่างมาก วิธีนี้คือการใช้ คลื่นเสียงความถี่สูง มากกว่า 20,000 Hz โดยหลักการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงออกจากหัวเครื่องตรวจ ปล่อยคลื่นเสียงกระทบกับเนื้อเยื่อ สามารถผ่านและสะท้อนกลับไม่เท่ากัน ซึ่งหัวตรวจที่ทำหน้าที่รับสัญญาณคลื่นเสียงสะท้อนกลับ ในระดับต่าง ๆ จะบอกความหนาแน่น และระดับความลึกของเนื้อเยื่อ และนำสัญญาณมาประมวลผลเป็นภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทายเพศลูก จากการดิ้นในท้อง แม่นแค่ไหน ต้องลอง

 

 

อัลตร้าซาวด์ท้อง มีประโยชน์อย่างไร

เป้าหมายแรกของคุณพ่อคุณแม่ การตรวจ อัลตร้าซาวด์ท้อง คือต้องการรู้เพศลูก และเพื่อทราบถึงความสมบูรณ์หรือความผิดปกติของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะอวัยวะเพื่อสร้างการเจริญเติบโต เช่น ความสมบูรณ์ของรก ดูสายสะดือ ปริมาณน้ำคร่ำ รวมไปถึงกะโหลกศีรษะ สมอง ปอด หัวใจ ผนังหน้าห้อง แขน ขา อวัยวะเพศ และอื่น ๆ จากภาพอัลตร้าซาวด์ ซึ่งจะเห็นขนาดของตัวอ่อน เพื่อประเมินอายุครรภ์ วางแผนกำหนดวันคลอดได้ ที่สำคัญการอัลตร้าซาวด์ท้องแม่ยังช่วยหาสาเหตุของภาวะเลือดออก ระหว่างตั้งครรภ์ ประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ หากมีเหตุฉุกเฉิน แพทย์จะสามารถรักษาหรือทำคลอดได้ทันที

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การตรวจอัลตร้าซาวด์ท้องคุณแม่ตั้งครรภ์มีดังนี้

  • การตรวจอัลตร้าซาวด์ 2 มิติ คือภาพตัดขวางทีละภาพ ตามแนวคลื่นเสียงความถี่สูงที่ส่งออกไปในแนวระนาบ ซึ่งภาพที่ได้ก็จะเป็นเพียงเงาดำ ๆ

 

  • การอัลตร้าซาวด์ 3 มิติ เป็นการใช้หัวตรวจส่งคลื่นเสียงในลักษณะของหลายระนาบไปพร้อมกัน ทำให้เกิดการเก็บข้อมูลที่ติดต่อกัน ซึ่งข้อมูลที่ได้จะถูกส่งไปยังหน่วยประมวลผลของเครื่อง ทำการสร้างภาพออกมาเป็นภาพ 3 มิติ ที่จะสามารถมองเห็นความลึกของภาพได้เสมือนจริง และสามารถหมุนดูไปมาได้

 

  • การอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ เป็นการประมวลผลที่ซับซ้อนขึ้น โดยจะทำการเก็บภาพ 3 มิติ แต่ละภาพ แล้วแสดงผลเรียงต่อกัน ทำให้เกิดเป็นภาพเคลื่อนไหว สามารถเห็นภาพทารกขยับตัวในท้องแม่ได้ อีกทั้งยังสามารถเห็นปฏิกิริยาที่ทารกเคลื่อนไหวขณะตรวจด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทายเพศลูก จากการดิ้นในท้อง แม่นแค่ไหน ต้องลอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ผลอัลตร้าซาวด์ อ่านอย่างไร

หากคุณแม่เคยตั้งท้องมาแล้ว ก็คงคุ้นเคยกับการอ่านผลอัลตร้าซาวด์มาบ้างแล้ว ที่มีตัวย่อมากมายเต็มไปหมด แต่สำหรับคุณแม่มือใหม่ วิธีอ่านผลอัลตร้าซาวด์ สามารถสังเกตและเรียนรู้ไปง่าย ๆ ดังนี้

  • CRL = ความยาวของทารกตั้งแต่ยอดปลายศีรษะถึงก้นกบ
  • BDP = ความกว้างของศีรษะวัดจากปลายสุดของด้านข้าง
  • HC = ความยาวของเส้นรอบวงศีรษะ
  • AC = ความยาวของเส้นรอบท้องหรือรอบเอว
  • FL = ความยาวกระดูกต้นขาจากบั้นเอวไปถึงหัวเข่า
  • AFI = การวัดปริมาณน้ำคร่ำ
  • EFW = การประเมินน้ำหนักตัวอ่อน จากการคำนวณจาก 2 สูตรที่นิยมคือ สูตร Shepard (EFW/Shepard) หรือสูตร Haddlock (EFW/HAD)
  • FHR (บางที่ใช้ Fetal Cardiac Pulsation) = เป็นการวัดอัตราการเต้นของหัวใจทารก
  • Placental Site = ตำแหน่งของรกที่เกาะผนังมดลูก
  • Placental Grading = ลักษณะรกที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุครรภ์

 

อัลตร้าซาวด์ท้อง กี่เดือนรู้เพศ

กี่เดือนรู้เพศลูก ? จริง ๆ ระยะเวลา 9 สัปดาห์ก็สามารถรู้เพศของทารกแล้ว แต่ด้วยครรภ์ยังอ่อนและเล็กมาก ส่วนใหญ่คุณหมอจะนัดตรวจอัลตร้าซาวด์ท้อง เพื่อดูเพศเมื่อมีอายุครรภ์ 14- 16 สัปดาห์ขึ้นไป สำหรับแม่ท้องบางคนอาจเห็นเพศลูกได้ชัดจากการอัลตร้าซาวด์ช่วงตั้งครรภ์ 18-22 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะท่าทางการขดตัวของทารกในช่วงเวลานั้น ทารกบางคนก็นอนขดจนไม่สามารถเห็นอวัยวะเพศได้เลย อาจจะต้องรอในเดือนถัดไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตรวจดาวน์ซินโดรม แบบไหนดี แม่ท้องต้องตรวจตอนอายุครรภ์เท่าไหร่

 

 

การตรวจดูเพศทารกด้วยวิธีอื่น

1. การตรวจ Chorionic Villus Sampling (CVS)

วิธีนี้คือการหาความผิดปกติของโครโมโซม จากการตรวจรก Chorionic Villus Sampling (CVS) แพทย์จะทำการดูดตัวอย่างของรกบางส่วน เพื่อตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งนอกจากใช้ตรวจหาเพศลูกแล้ว ยังสามารถตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้อีกด้วย เช่น ภาวะดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) ความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือความพิการแต่กำเนิด

ระยะตั้งครรภ์เพื่อการตรวจโครโมโซม : การตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมด้วยการตรวจจาก รก หรือ การตรวจ CVS เป็นการตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ แต่ก็สามารถรู้เพศลูกได้ด้วย สามารถทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 – 12 สัปดาห์

 

2. การตรวจแบบเจาะน้ำคร่ำ

แพทย์จะทำการเจาะน้ำคร่ำ จากถุงน้ำคร่ำ โดยการเก็บตัวอย่าง วิธีนี้จะใช้เข็มขนาดเล็ก เจาะทางช่องท้อง ผ่านเข้าไปถึงมดลูก พร้อมดูจากภาพอัลตร้าซาวด์ ให้ได้ปริมาณน้อยกว่า 1 ออนซ์ จากนั้น น้ำคร่ำจะถูกส่งไปยัง ห้องแล็บเพื่อตรวจวิเคราะห์ ความเสี่ยงที่แพทย์ต้องเฝ้าระวัง วิธีนี้จะบอกความผิดปกติทางพันธุกรรมได้เช่นกัน อย่าง ภาวะดาวน์ซินโดรมของทารก หรือความผิดปกติทางโครโมโซม

ระยะตั้งครรภ์เพื่อการเจาะน้ำคร่ำ : วิธีนี้สามารถตรวจความผิดปกติของทารก ได้ตั้งแต่คุณแม่มีอายุครรภ์ 15 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น น้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตก เลือดออกบริเวณโพรงมดลูก การติดเชื้อในมดลูก หรือภาวะแท้งลูก

 

3. การตรวจแบบ NIPT

การเจาะเลือด NIPT (Noninvasive Prenatal Testing) เพื่อหาความผิดปกติของทารก เช่น โครโมโซมจากเลือดพ่อและแม่ วิธีนี้มีความแม่นยำในการตรวจความผิดปกติของ Trisomy 21 โครโมโซมคู่ที่ 21 (ดาวน์ซินโดรม) ถึงร้อยละ 99 และยังสามารถตรวจคัดกรองความผิดปกติโครโมโซมคู่ที่ 18 (เอ็ดเวิร์ดซินโดรม) และโครโมโซมคู่ที่ 23 (พาทัวซินโดรม) ได้อีกด้วย

ระยะตั้งครรภ์เพื่อการตรวจ NIPT : วิธีนี้คือการตรวจแม่ท้องที่มีประวัติหรือลักษณะทางพันธุกรรมเสี่ยงว่า ทารกอาจพิการแต่กำเนิด ซึ่งคุณแม่จะได้รู้เพศลูกไปพร้อมกันด้วย โดยการตรวจ NIPT ทำได้เร็ว ตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์ก็สามารถตรวจได้แล้ว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. การตรวจแบบนิฟตี้ (NIFTY Test)

วิธีตรวจนิฟตี้ คือ การตรวจหาลักษณะความผิดปกติของโครโมโซมโดยไม่ต้องเจาะน้ำคร่ำ แต่จะเจาะเลือดของคุณแม่เพียง 10 มิลลิลิตร ซึ่งการตรวจนิฟตี้ จะเน้นไปที่กลุ่มความผิดปกติของภาวะ ปากแหว่งเพดานโหว่ ปัญญาอ่อน ปากและกรามเล็ก คางเว้า หูหนวก นิ้วมือ นิ้วเท้าเกิน หัวใจและไตทำงานผิดปกติ และสมองพิการ

ระยะตั้งครรภ์เพื่อการตรวจนิฟตี้: คุณแม่สามารถเข้ารับการตรวจได้เมื่อมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 10 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะเป็นช่วงเวลาที่เด็กในท้องมีอวัยวะครบสมบูรณ์ เริ่มพัฒนาการใช้อวัยวะต่าง ๆ มากขึ้น และดีเอ็นเอของทารกสามารถส่งผ่านเนื้อเยื่อบาง ๆ จากสายรกเข้าไปในระบบเลือดของแม่แล้ว จึงสามารถใช้เลือดของแม่ตรวจหาโรคทางพันธุกรรมของลูกได้โดยไม่ต้องเจาะน้ำคร่ำ

 

การตรวจอัลตร้าซาวด์ท้อง จะทำให้คุณแม่ตื่นเต้นมากค่ะ ยิ่งอยากทราบเพศลูกเท่าไหร่ คุณแม่ยิ่งต้องถนอมสุขภาพรักษาร่างกายตนเองไว้มาก ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทุกวิธีคือการตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ ส่วนการรู้เพศลูก เหมือนผลพลอยได้ มีความเป็นไปได้ที่จะคลาดเคลื่อนในบางวิธี ดังนั้น การอัลตร้าซาวด์ท้อง เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น จะทำให้เห็นเพศทารกได้ชัดเจนกว่า หากแม่อยากทราบเพศลูกควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาวิธีที่เหมาะกับแม่ท้องแต่ละคนนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ที่ควรรู้ก่อนตั้งครรภ์

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 92 ถุงน้ำคร่ำแตก อันตรายอย่างไร

แม่ท้องฉีดวัคซีน หรือยัง วัคซีนไข้หวัดใหญ่ฉีดในหญิงตั้งครรภ์ ป้องกันภาวะปอดอักเสบ

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการอัลตร้าซาวด์ ได้ที่นี่!

อัลตราซาวน์ท้อง สามารถเริ่มอัลตร้าซาวด์ได้ตั้งแต่ท้องได้กี่เดือนคะ

ที่มา : samitivejhospitals , phyathai , youtube

บทความโดย

Tulya