สมองเสื่อมจากการเสพติดจอ

หลายครั้งพ่อแม่ใช้หน้าจอเครื่องมือสื่อสารเป็นตัวหยุดความไม่อยู่นิ่งของเด็ก แต่การปล่อยให้เด็กซึมซับสื่อจากโทรทัศน์ แทบเล็ต มือถือมาก ๆ ก็เป็นการส่งเสริม “ภาวะสมองเสื่อมจากการเสพติดจอ” หรือโรคที่ภาษาแพทย์เรียกว่า ดิจิตอล ดีเมนเทีย (Digital Dementia)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สมองเสื่อมจากการเสพติดจอ

บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด โดยผลิตภัณฑ์บรีส เจ้าของแนวคิด "กล้าเลอะ ยิ่งเยอะประสบการณ์" ผลักดันโครงการต่างๆ ตามแนวคิดนี้มาตลอด 13 ปี เพื่อกระตุ้นให้พ่อแม่ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากการเล่นและลงมือทำเพื่อสร้างประสบการณ์ชีวิตโดยตรง  ทั้งนี้ บรีสได้รวบรวมข้อมูลวิชาการสำคัญจากการสัมภาษณ์แพทย์ด้านพัฒนาการเด็กและนักวิชาการด้านการศึกษาเด็กปฐมวัย  และพบข้อมูลน่าสนใจที่ตรงกันจากผู้เชี่ยวชาญทั้งสองสาขาว่า อาการเสพติดจอของเด็ก (สมาร์ทโฟน  แท็ปเล็ต  คอมพิวเตอร์  โทรทัศน์) มีผลต่อพัฒนาการตามวัยของพวกเขาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ  อารมณ์ สังคมและสติปัญญา  และการเล่นกลางแจ้งหรือทำกิจกรรมนอกบ้านบ่อย ๆ จะเป็นการฝึกเด็กให้มีทักษะทางสังคมที่ดี และช่วยให้เด็กห่างไกลจากภาวะสมองเสื่อมจากการเสพติดจอได้  

นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการ และพฤติกรรม คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล กล่าวว่า มีงานวิจัยจากเยอรมนีและเกาหลีที่ให้ข้อมูลตรงกันว่าปัจจุบันเด็กทั่วโลกกำลังประสบภาวะสมองเสื่อมจากการเสพติดจอ ผลคือสมองซีกขวาซึ่งทำงานเกี่ยวกับความจำ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนและสังคมทำงานน้อยลงเมื่อเด็กๆ หมกมุ่นและใช้เวลาอยู่กับหน้าจอของบรรดาเครื่องมือสื่อสารมากเกินไปในแต่ละวัน  ประสิทธิภาพในการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาต่างๆ ของเด็กก็ลดลงตามไปด้วย

เด็กควรได้เล่นกลางแจ้งบ่อย ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พูดง่าย ๆ คือเด็กจะมีอีคิวต่ำลง ไม่รู้จักการปฏิสัมพันธ์เพื่อเรียนรู้ความรู้สึกความเข้าใจในตัวเองและผู้อื่น มีผลต่อการเรียนและการทำงานเป็นทีมเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น และผลกระทบรุนแรงที่สุดคือ การใช้ชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่มากขึ้น ไม่มีอุดมการณ์หรือแนวความคิดร่วมทางสังคม

สำหรับประเทศไทยแม้ยังไม่มีงานวิจัยเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับอาการดิจิตอล ดีเมนเทียในเด็ก แต่คุณหมอพบว่าปัจจุบันพ่อแม่จำนวนมากกำลังประสบปัญหาดังกล่าวจากพัฒนาการของลูกที่ไม่เป็นไปตามวัย และหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าวก็คือการใช้เครื่องมือสื่อสารเป็นพี่เลี้ยงลูก

วิธีป้องกันและแก้ไข คือ ปล่อยให้เด็ก ๆ วิ่งเล่นซุกซนตามประสา หรือสนับสนุนให้พวกเขาไปทำกิจกรรมนอกบ้านหลังเลิกเรียน หรือให้เล่นกีฬากลางแจ้งที่ชอบ เพราะโดยธรรมชาติแล้วฮอร์โมนเอนโดฟินหรือสารสร้างความสุขในร่างกายจะหลั่งออกมาเมื่อมีการออกกำลังกายต่อเนื่องนาน 20-30 นาที   เด็ก ๆ ที่ออกกำลังด้วยการวิ่งเล่นไล่จับ ขุดดินเล่นเลอะโคลน คลุกฝุ่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน  จะมีสีหน้าท่าทางเปี่ยมสุขจากความสนุกที่ได้รับ แบ่งเวลาทำเช่นนี้กับลูกทุกวันถือเป็นวิธีการง่ายที่สุด และควรทำเป็นประจำสม่ำเสมอเพื่อทำให้เด็ก ๆ ติดสุขจากการออกกำลังกายแทนการติดหนึบอยู่หน้าจอ  ฉะนั้น แรงผลักดันสำคัญจึงต้องมาจากพ่อแม่ เพราะต้องไม่ลืมว่าการเสพติดจอของเด็กก็เกิดมาจากพฤติกรรมของพ่อแม่นั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สมรรถนะ 7 ด้านของเด็กไทยต่ำกว่ามาตรฐาน

ดร.วรนาท  รักสกุลไทย  หนึ่งในนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาเด็กปฐมวัยและเป็นผู้ที่ทำงานด้านการพัฒนาศักยภาพเด็กมาอย่างยาวนาน ได้ให้ข้อมูลที่ทำให้ผู้ใหญ่หลายคนรวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองถึงกับอึ้งไปตามๆ กัน เมื่อมีรายงานวิจัยระบุว่าสมรรถนะของเด็กไทย 7 ด้านต่ำกว่ามาตรฐานไม่ว่าจะเป็นทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะด้านสังคม  ทักษะด้านอารมณ์   ทักษะด้านการคิดและสติปัญญา ทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร  ทักษะด้านจริยธรม และทักษะด้านการสร้างสรรค์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จากผลวิจัยนี้ได้ตอกย้ำชัดเจนว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รูปแบบการเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่ยุคใหม่ได้ใช้อุปกรณ์สื่อสารหลากหลายชนิดเข้ามามีส่วนให้เด็กได้แตะต้องสัมผัส ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมทางสังคมที่พ่อแม่แม้จะมีความตระหนักแต่อาจไม่ระมัดระวัง

“โดยทั่วไปอัตราเด็กอนุบาลที่มีอาการสมาธิสั้นในแต่ละห้องเรียนจะมีอัตราเฉลี่ยที่ร้อยละ 5 แต่ตอนนี้อัตรามันเพิ่มเป็นร้อยละ 10-15 มากขึ้นจนน่าเป็นห่วง อาการสมาธิสั้นของเด็กมีสาเหตุสำคัญมาจากสิ่งเร้ารอบตัวเขาที่กระทบประสาทสัมผัสทางตาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการปล่อยให้ลูกอยู่กับหน้าจอไม่ว่าจะเป็นจอประเภทไหน ล้วนไม่ได้ส่งเสริมการเติบโตที่สมบูรณ์ของเด็กๆ” ดร.วรนาท กล่าว และระบุว่าพ่อแม่ควรส่งเสริมสมรรถนะรอบด้านและพัฒนาการตามวัยของเด็กด้วยการสนับสนุนให้เด็ก ๆ ออกไปวิ่งเล่นกลางแจ้ง ได้ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมนอกบ้านให้มากขึ้น

ส่งเสริมให้ลูกติดสุขกับการเล่น การออกกำลังกาย ดีกว่าให้พวกเขาติดหนึบอยู่หน้าจอ

พ่อแม่อย่า ‘กลัวเลอะ’ แต่มาชวนลูกๆ ให้ ‘กล้าเลอะ’ กันดีกว่า

ที่มา: https://www.dirtisgoodclub.com/

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team