ท้องนี้ควรหนักเท่าไหร่? อยากให้พอดีต้องมีตัวช่วย

คุณแม่มือใหม่ ในช่วงไตรมาสแรก อาจจะต้องเผชิญ กับอาการ “แพ้ท้อง” ที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ ต้องคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ และไม่อยากอาหารเลย บางครั้งแค่ดื่มน้ำก็รู้สึกคลื่นไส้แล้ว ส่งผลให้คุณแม่บางคน น้ำหนักไม่เพิ่มหรือลดลงกว่าก่อนตั้งครรภ์ และเมื่อหายจากอาการแพ้ท้องแล้ว คุณแม่เกือบจะทุกคน ก็จะเริ่มกินอาหารมากขึ้น โดยให้เหตุผลว่า “กินเผื่อลูก” โดยเพิ่มปริมาณอาหารให้มากขึ้น ซึ่งอาจจะไม่ได้คำนึงถึงภาวะโภชนาการที่ถูกต้อง กินมากไป กินอาหารหวานจัด มันจัด ไม่สมดุลกับความต้องการของร่างกาย การกินอาหารที่ไม่เหมาะสมนี้ อาจมีผลกระทบต่อทั้งสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การเลือกรับประทานอาหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม คุณแม่จึงควรกลับมาปรับพฤติกรรมการกินเสียใหม่ เพราะสิ่งที่ถูกต้อง คือ เน้นที่ “คุณภาพของอาหารที่กิน” มากกว่า “ปริมาณ”

 

แม่น้ำหนักพอดี หนูก็สุขภาพดี

น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ บ่งบอกถึงการเจริญเติบโตของลูกน้อยได้ การเพิ่มน้ำหนักของคุณแม่จึงจำเป็นต้องเพิ่มไปตามเกณฑ์ที่เหมาะสม เพราะหากน้ำหนักคุณแม่เพิ่มน้อยเกินไประหว่างการตั้งครรภ์ ทารกที่เกิดมาจะมีน้ำหนักตัวแรกคลอดต่ำ ตัวเล็กผิดปกติได้ ในทางกลับกัน หากน้ำหนักคุณแม่เพิ่มมากเกินไป จะเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น เบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ (Gestation Diabetes – GDM) โรคความดันโลหิตสูงระหว่างการตั้งครรภ์  หรือเสี่ยงต่อครรภ์เป็นพิษ  เสี่ยงต่อการแท้งบุตร  ทารกตัวโต เสี่ยงต่อการใช้เวลาในการคลอดนานขึ้น และมีโอกาสคลอดโดยการผ่าตัดสูงขึ้นด้วย

 

น้ำหนักควรเพิ่มเท่าไหร่ ในระหว่างตั้งครรภ์

เราเข้าใจดีว่าคุณแม่แต่ละคนมีรูปร่างที่ต่างกันก่อนตั้งครรภ์ ดังนั้นน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ก็มีเกณฑ์ที่ต่างกันไปด้วย แต่จะเพิ่มเท่าไหร่นั้น เราจะใช้ค่า BMI หรือ Body Mass Index เพื่อบ่งชี้สถานะของน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ โดยนำน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จะได้ค่าระดับ BMI ออกมา   ซึ่งค่า BMI แบ่งเป็น 4 ระดับ  ดังนี้

คุณแม่ท้องหากได้รับโภชนาการที่ดีตลอดการตั้งครรภ์จะช่วยให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่เหมาะสม และมีสุขภาพที่ดี  ซึ่งก็จะส่งผลให้ลูกน้อยในครรภ์มีสุขภาพและการเจริญเติบโตที่แข็งแรงสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน   

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ฉะนั้นอย่าลืมให้ความสำคัญกับการดูแลโภชนาการช่วงแรกของชีวิตกันด้วย  Today for Tomorrow แอปพลิเคชั่น ตัวช่วยใหม่  เพื่อนเคียงข้างคุณแม่เพื่อช่วยวางรากฐานชีวิตสู่อนาคตที่เป็นต่อของลูกรักในทุกช่วงวัย นับตั้งแต่ คุณแม่ตั้งครรภ์ ไปจนถึงลูกวัย 5 ปี ให้ทุกนาทีที่คุณแม่ทุ่มเทเพื่อลูกรัก คือเส้นทางสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ด้วยหลากหลายฟังก์ชั่น อาทิ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • บันทึกน้ำหนัก พร้อมให้คำแนะนำเรื่องน้ำหนักช่วยให้คุณแม่หมดกังวลเรื่องภาวะน้ำหนักเกิน หรือน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์
  • นักโภชนาการผู้เชี่ยวชาญ คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการดูแลเรื่องโภชนาการที่เหมาะสม ตลอดจนโภชนาการระหว่างตั้งครรภ์ในแต่ละไตรมาส
  • เทคนิคต่างๆ เกร็ดความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวตั้งแต่เริ่มรู้ว่าตั้งครรภ์ จนถึงการคลอด และคำแนะนำพิเศษ

โหลดฟรีได้แล้ววันนี้ทั้งใน App store และ Play Store ที่  https://goo.gl/ihIzlX

 

เราขอเป็นส่วนหนึ่งที่ได้เดินเคียงข้างคุณแม่สู่จุดหมายนั้นอย่างมั่นใจ  เพราะอนาคตต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team