7 วิธีทำให้ห้องหอม หมดปัญหากลิ่นอับอันน่ากวนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บ่อยครั้งที่หลาย ๆ บ้านมักประสบกับปัญหากลิ่นเหม็นในบ้าน จนทำให้รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ และทำให้บ้านดูไม่สะอาด ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงที่เราต้องอยู่บ้านกันนาน ๆ แล้ว คุณพ่อคุณแม่คงรู้สึกไม่สบายใจกันแน่ ๆ วันนี้ theAsianparent มี 7 วิธีทำให้ห้องหอม มาฝากค่ะ บอกเลยว่าแต่ละวิธีทำได้ง่าย ๆ ได้ผลจริง และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายอย่างแน่นอน ไปดูกันเลย ว่าจะมีวิธีไหนบ้าง

 

สาเหตุของกลิ่นอับในบ้าน

กลิ่นเหม็น และกลิ่นอับในห้อง มักเกิดจากการละเลยเรื่องการทำความสะอาดพื้นที่ในบ้าน และพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันโดยที่ไม่รู้ตัว เรามาดูสาเหตุที่ทำให้ห้องมีกลิ่นอับกันค่ะ

  • เครื่องปรับอากาศ

สำหรับกลิ่นอับ และกลิ่นเหม็นในห้อง มักเกิดจากเชื้อรา และแบคทีเรียที่อยู่ในข้าวของเครื่องใช้ โดยเฉพาะเชื้อราที่เกิดจากอับชื้นในเครื่องปรับอากาศ ทำให้ห้องมีกลิ่นอับมาก ๆ เรียกได้ว่าน่าจะเป็นปัญหากันทุกบ้าน คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันได้ด้วยติดเครื่องระบายอากาศ และหมั่นทำความสะอาดหรือล้างแอร์อยู่บ่อย ๆ เพื่อช่วยลดกลิ่นอับเวลาเปิดเครื่องปรับอากาศค่ะ

 

  • อาหาร และเครื่องดื่ม

อีกหนึ่งสาเหตุของปัญหากลิ่นเหม็นที่หลายคนไม่รู้ตัว คือ การนำอาหาร และเครื่องดื่มเข้ามารับประทานในห้องจนทำให้เกิดกลิ่นเหม็นนั่นเอง ยิ่งหากใครที่ชอบนำอาหารมารับประทานในห้องนอนเป็นประจำ และไม่ชอบทำความสะอาด ก็อาจทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย และเชื้อราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถือเป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นในบ้านนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 กลิ่นไม่พึงประสงค์กำจัดได้ด้วยเบกกิ้งโซดา ที่จะทำให้คุณร้องว้าว!

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย

หลาย ๆ บ้านที่มักเก็บเสื้อผ้า และเครื่องแต่งกายไว้ในห้องนอน จนทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียสะสม หากห้องนอนบ้านไหนที่เล็ก และมีเสื้อผ้าเก็บไว้มาก ๆ ก็ย่อมทำให้เกิดกลิ่นอับอย่างแน่นอน ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ง่าย ๆ ด้วยการนำเสื้อผ้าจัดไว้ในมุมที่ปลอดโปร่ง หรือนำเสื้อผ้าส่วนหนึ่งไปไว้ในห้องอื่น เพื่อช่วยลดปัญหากลิ่นอับในห้องนอน

 

  • สภาพแวดล้อมที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก

หากบ้านของคุณมีโครงสร้างที่ไม่สามารถถ่ายเทอากาศได้ เช่น ไม่มีหน้าต่าง มีข้าวของเครื่องใช้จำนวนมาก หรือมีมุมอับ ก็จะทำให้เกิดการสะสมของเชื้อรา และแบคทีเรียที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพแน่นอน ยิ่งหากเป็นห้องนอนที่ค่อนข้างอับ ก็ย่อมส่งผลให้เกิดกลิ่นเหม็นอับน่ารำคาญใจได้

 

วิธีทำให้ห้องหอม ไร้กลิ่นอับ

สำหรับบ้านไหนที่กำลังประสบกับปัญหากลิ่นเหม็น สามารถใช้วิธีง่าย ๆ ด้วยการทำความสะอาดบ้าน และใช้เคล็ดลับที่ช่วยทำให้ห้องหอม ดังต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ทำความสะอาดทั้งบ้าน

เพื่อกำจัดกลิ่นเหม็นรอบบ้าน คุณพ่อคุณแม่สามารถทำความสะอาดห้องต่าง ๆ แบบ Big Cleaning Day โดยการล้างทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ ตู้ ใต้เตียง ใต้บันได หลังตู้ และมุมต่าง ๆ ภายในบ้าน รวมทั้งควรเก็บข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่จำเป็นออกไป เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ ถุงกระดาษ กล่องลัง และของใช้ที่หมดอายุ เพื่อช่วยลดปัญหากลิ่นอับอันไม่พึงประสงค์

 

  • ทำให้อากาศถ่ายเท

อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่า หลาย ๆ บ้านมักมีสภาพแวดล้อมที่อากาศไม่ถ่ายเท แม้ว่าจะใช้สเปรย์ปรับอากาศแล้ว ก็ยังมีกลิ่นเหม็นหลงเหลือ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดหน้าต่าง และประตูออก เพื่อให้ลมพัดถ่ายเทอากาศออกไป และรับอากาศสดชื่นเข้ามาแทน ทั้งนี้ หากเปิดประตูหน้าต่างไว้นาน ๆ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาฝุ่นตามมาได้ เพราะฉะนั้น อาจไม่จำเป็นต้องเปิดนาน ๆ แต่ใช้วิธีการเปิดบ่อย ๆ ก็จะช่วยลดกลิ่นอับในห้องออกได้บ้างค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ใช้อุปกรณ์ดับกลิ่น

เคล็ดลับถัดมาที่ช่วยทำให้ห้องหอม คือ การใช้อุปกรณ์ดับกลิ่นต่าง ๆ เช่น สบู่ก้อน นำมาขูดเป็นเส้นบาง ๆ แล้วใส่แก้ววางไว้ในจุดต่าง ๆ กากกาแฟ นำไปใส่ถ้วยเล็ก ๆ แล้วนำไปไว้ในมุมห้อง เบกกิ้งโซดา นำไปใช้ขวดหรือผ้า แล้วนำไปวางไว้ในจุดอับ น้ำมะนาว นำผ้าชุบกับน้ำมะนาวผสมน้ำอุ่น แล้วนำไปเช็ดตามจุดต่าง ๆ และถ่านหุงต้ม โดยการนำถ่านไปใส่ในผ้าบาง ๆ แล้วนำไปวางบริเวณมุมอับ อุปกรณ์ดับกลิ่นต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นน่ารำคาญได้อย่างแน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง : 12 เทคนิคทำความสะอาดบ้าน เคล็ดลับง่าย ๆ ในบ้าน ที่แม่ ๆ ต้องรู้!

 

 

  • ใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มสูตรหอมพิเศษ

คุณพ่อคุณแม่อาจยังไม่รู้ว่า เสื้อผ้า และเครื่องแต่งกาย ก็ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นอับในห้องได้ โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน ก็ยิ่งส่งผลให้เกิดกลิ่นเหม็นแน่ ๆ วิธีแก้ง่าย ๆ คือ การใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม และน้ำยาซักผ้าสูตรพิเศษที่ให้กลิ่นหอมนาน เพื่อช่วยลดกลิ่นอับชื้นที่ติดในเสื้อผ้า ยิ่งปัจจุบันมีน้ำยาปรับผ้านุ่มที่พัฒนาสูตรสำหรับการตากผ้าร่มมาแล้ว คุณพ่อคุณแม่ลองเลือกกันดูนะคะ เชื่อว่าจะช่วยลดปัญหากลิ่นอับได้แน่นอน

 

  • ใช้เครื่องฟอกอากาศ

อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยทำให้ห้องหอม คือ การใช้เครื่องฟอกอากาศ เพื่อช่วยปรับอากาศในห้องให้สะอาดมากขึ้น เนื่องจากเครื่องฟอกอากาศ สามารถกำจัดเชื้อโรค แบคทีเรีย และฝุ่น PM 2.5 ได้ดี คุณพ่อคุณแม่จึงควรหาเครื่องฟอกอากาศสักตัวมาใช้ในบ้านนะคะ รับรองว่าจะทำให้กลิ่นอับในบ้านหายไปได้ดีเลยละ

 

  • ปลูกต้นไม้ในห้อง

การปลูกต้นไม้ในบ้าน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมในบ้านได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเพิ่มกลิ่นหอมที่เป็นธรรมชาติ และช่วยฟอกอากาศภายในบ้านอีกด้วย คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกปลูกต้นไม้ เช่น ลิ้นมังกร พลูด่าง เดหลี มอนสเตร่า ไทรใบสัก เขียวหมื่นปี ยางอินเดีย เฟิร์นบอสตัน ว่านหางจระเข้ เงินไหลมา หรือตีนตุ๊กแก เป็นต้น แล้วลองเลือกปลูกในกระถางต้นไม้สวย ๆ ดูนะคะ นอกจากจะช่วยฟอกอากาศในห้องให้หอมสดชื่นแล้ว ยังช่วยให้บ้านน่าอยู่มากขึ้นอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : แนะนำ 10 ต้นไม้ในร่ม ช่วยฟอกอากาศภายในบ้าน ดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • วิธีทำให้ห้องหอม ด้วยการใช้น้ำหอมปรับอากาศ

เคล็ดลับข้อสุดท้ายที่ช่วยให้บ้านหอมขึ้น คงหนีไม่พ้นน้ำหอมปรับอากาศ ตัวช่วยที่ทำให้บ้านหอมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสเปรย์ปรับอากาศ เจลปรับอากาศ หรือเจลดับกลิ่น คุณพ่อคุณแม่ควรหาซื้อมาใช้ เพื่อปรับอากาศให้ดีขึ้น นอกจากนี้ เครื่องหอมประเภทน้ำมันหอมระเหย และน้ำหอมแบบก้านไม้ ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่หลายคนนิยมใช้ เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มกลิ่นหอมได้บ้านได้ดี ยังหาซื้อได้ไม่ยากอีกด้วย

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับ วิธีทำให้ห้องหอม ที่เราได้รวบรวมมาในวันนี้ สำหรับบ้านไหนที่กำลังเผชิญกับปัญหากลิ่นเหม็นอับ ลองนำเคล็ดลับข้างต้นไปปรับใช้ดูนะคะ เชื่อว่าจะช่วยให้บ้านสะอาด และหมดปัญหากลิ่นอับที่น่ากวนใจได้อย่างแน่นอน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีตากผ้าหน้าฝน ไม่ให้เหม็นอับ เคล็ดลับที่คุณควรรู้!

รีไซเคิลเสื้อผ้า ชุดรีไซเคิล ทำยังไงให้อินเทรนด์ และมีประโยชน์

11 วิธีซักผ้าให้หอม กลิ่นติดทนนาน ตลอดทั้งวัน เคล็ด(ไม่)ลับของคุณแม่ยุคใหม่

ที่มา :  baania.com , samyan-mitrtown.com

บทความโดย

Sittikorn Klanarong