แม่จ๋าพ่อจ๋า รักหนูอย่าพูดกับหนูแบบนี้ 9 สิ่งที่ไม่ควรพูดกับลูก

เลี้ยงลูกเนี่ย เรื่องการสื่อสารก็สำคัญนะคะคุณพ่อคุณแม่ “คำพูด” จัดเป็นเรื่องพื้นฐานของการใช้ภาษาที่จะต่อยอดการเรียนรู้และทักษะด้านอื่น ๆ ของลูกต่อไปในอนาคตได้ แต่พ่อแม่หลายคนอาจคิดไม่ถึงว่า บางคำพูดนั้น กลายเป็นคำที่ไปปิดกั้นพัฒนาการเรียนรู้ของลูกน้อยไปได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เลี้ยงลูกเนี่ย เรื่องการสื่อสารก็สำคัญนะคะคุณพ่อคุณแม่ “คำพูด” จัดเป็นเรื่องพื้นฐานของการใช้ภาษาที่จะต่อยอดการเรียนรู้และทักษะด้านอื่น ๆ ของลูกต่อไปในอนาคตได้ แต่พ่อแม่หลายคนอาจคิดไม่ถึงว่า บางคำพูดนั้น กลายเป็นคำที่ไปปิดกั้นพัฒนาการเรียนรู้ของลูกน้อยไปได้ สิ่งที่ไม่ควรพูดกับลูก

แม่จ๋าพ่อจ๋า รักหนูอย่าพูดกับหนูแบบนี้ 9 สิ่งที่ไม่ควรพูดกับลูก

การพูดกับลูกแต่ละครั้งยากพอ ๆ กับการเลี้ยงลูกให้ออกมาดี คำพูดกับลูกนั้นต้องใช้ความคิดกลั่นกรองพอ ๆ กับการคิดงานให้ออกมาประสบผลสำเร็จนั้นแหละ ซึ่งสิ่งนี้มันไม่อาจไม่ได้เห็นผลในชั่วข้ามคืน แต่จะสังเกตได้จากการเรียนรู้ของลูกน้อยที่ค่อย ๆ เติบโตมาในอนาคต อย่าเผลอใช้คำพูดเหล่านี้เป็นการปิดกั้นพัฒนาการของลูกได้นะคะ

1. “ไม่”/ “อย่า”/ “ห้าม” ห้ามวิ่ง ห้ามตะโกน ห้ามตี ห้ามนู้นห้ามนี่ไปหมด

เด็ก ๆ ได้ยินคำว่า “ไม่” จากพ่อแม่มาตลอดตั้งแต่เล็ก ๆ ไม่วิ่ง ไม่ตะโกน ไม่ ไม่ ไม่ ฯลฯ ทำให้ลูกสะดุดและไม่กล้าที่จะลองทำอะไร ลองเปลี่ยนจากคำพูดเชิงลบไปเป็นคำพูดเชิงบวกแก้ไขพฤติกรรมของลูกโดยไม่ต้องมีใช้น้ำเสียงแบบคอขาดบาดตายแทนที่จะพูดห้ามไม่ให้ลูกทำ เช่น สามารถพูดว่า “เดินนะลูก” แทนคำว่า “อย่าวิ่ง”

2. “ทำได้ดีมาก สุดยอดไปเลย”

แน่นอนว่า วลีนี้เป็นคำพูดติดปากสำหรับพ่อแม่ในการชื่นชมและให้กำลังใจลูก และเด็ก ๆ นั้นมักจะได้ยินกันมากที่สุด จนรู้สึกว่าถ้าทำแบบนี้แล้วก็คาดหวังเพื่อจะได้รับคำชมจากพ่อแม่เพียงอย่างเดียว ดังนั้นเพื่อเปลี่ยนไม่ให้ลูกต้องคาดหวังกับคำชมโดยตั้งใจทำในสิ่งนั้นให้ดีขึ้น เราอาจจะใช้ประโยคที่ว่า “ลูกทำได้” หรือ “ลูกจัดการได้” หรือ “ลูกแก้ปัญหานี้ได้”

3. “อย่ามาเถียงนะ”

เด็ก ๆ นั้นถูกตั้งโปรแกรมมาให้เป็นผู้ช่างส่งสัย ถามคำถาม คิดวิเคราะห์ เกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งความคิดของลูกดูเหมือนเป็นการโต้เถียง แต่สิ่งนี้ถือเป็นเรื่องปกติของพัฒนาการ แทนที่จะตัดบทพูดคุยหรือแสดงความรำคาญ คุณพ่อคุณแม่ต้องพูดให้แน่ใจว่าลูกเข้าใจคำตอบนั้นจริง ๆ หรือเปล่า ด้วยการถามว่า “ลูกยังมีคำถามกับเรื่องนี้อีกเปล่า ?” ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นหรือทำความเข้าใจได้

4. “รอให้พ่อรู้เรื่องก่อนเถอะ”

คำพูดนี้เหมือนเป็นคำขู่ที่สร้างความวิตกกังวลและความกลัวให้กับลูกได้ ในเวลาที่ลูกทำผิดหรือรู้สึกเสียใจอยู่แล้ว การขู่ที่จะไปบอกคนอื่นให้มาทำโทษซ้ำ เหมือนเป็นการเอาเกลือไปทาบนแผลสด จนลูกไม่กล้าที่จะพูดความจริงอีกต่อไป ดังนั้นคนเป็นพ่อเป็นแม่นั้นควรจะเป็นผู้รับฟัง ช่วยแก้ปัญหามากกว่าไปซ้ำเติม ซึ่งจะเป็นการทำให้เด็ก ๆ รู้จักความเคารพและรู้จักการรับผิดชอบในการกระทำของตัวเอง

5. “ลูกกำลังทำผิดวิธีอยู่นะ”

พ่อแม่ทั้งหลายนั้นมักใช้การควบคุมลูกทุกอย่างอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการทำบ้าน หรืออื่น ๆ หลายครั้งเรามักจะบังคับให้ลูกทำให้ “ถูกวิธี” ตามทางที่พ่อแม่รู้มา ทั้งที่จริง ๆ แล้วผลลัพธ์ที่ทำให้สำเร็จมันมีได้หลายวิธี ดังนั้นการปล่อยให้ลูกได้มีอิสระในการทำอะไรก็ตามที่เขาเลือกทำ จะทำให้ลูกได้มีความคิดสร้างสรรค์และได้ค้นพบกับสิ่งที่ไม่ได้คาดหมายไว้ได้นะ

6. “นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อลูก...”

บ่อยครั้งที่พ่อแม่อาจเผลอสอนบทเรียนเกี่ยวกับการใช้ชีวิตให้กับลูก ๆ ในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม อย่างเช่นในช่วงที่ลูกบาดเจ็บจากบางสิ่งที่เป็นอันตรายหรือไม่เหมาะสม ซึ่งได้รับความเจ็บปวดหรือบทเรียนจากเรื่องที่ได้ทำมาแล้ว การไปพูดตอกย้ำในสิ่งที่ลูกทำผิดเหมือนเป็นการซ้ำเตือนให้เขาปวดใจ แทนที่จะเจ็บแค่กายอย่างเดียว เมื่อเกิดสถานการณ์แบบนี้ พ่อแม่ควรพูดเป็นการปลอบโยนและห่วงใย “ลูกรู้แล้วใช่ไหมว่าการที่กระโดดลงจากเก้าอี้ มันจะทำให้เจ็บเมื่อลูกหล่นถึงพื้น” มากกว่าที่จะพูด “เห็นไหม นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมือลูกกระโดดลงจากเก้าอี้”

7. “ทำไม่ได้นะ/ อย่าทำแบบนั้นนะ”

การบอกลูกว่าพวกเขาไม่สามารถที่จะทำอะไรนั้น หรือห้ามที่จะให้เขาทำ บางสิ่งก็ต้องพิสูจน์ว่าพวกเขานั้นทำได้หรือไม่ได้จริง ด้วยเหตุผลที่ว่ามันไม่ปลอดภัยหรือ “ผิวของลูกไม่ได้เอาไว้ระบายสี” เป็นการช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ว่าทำไมสิ่งต่าง ๆถึงมีข้อจำกัดมากกว่าห้ามไม่ให้ทำโดยที่ไม่อธิบายถึงเหตุผล

8. “ไว้เล่นกันวันหลัง/ ไว้มาใหม่วันหลัง โอเคนะ?”

รู้ไหมค่ะ การต่อรองลูกโดยตั้งประโยคคำถามนั้น มีคำตอบจากลูกเพียงคำตอบเดียวคือคำว่า “ไม่” เพราะแน่นอนอยู่แล้วว่าเด็ก ๆ นั้นอยากจะอยู่ต่อหรือเล่นต่อ ดังนั้นเมื่อหมดเวลาเล่นสำหรับลูกแล้ว ควรใช้คำพูดโดยไม่ต้องตั้งเป็นคำถาม ในขณะที่ต้องยอมรับในความรู้สึกของลูกด้วย “แม่ลูกว่าลูกอยากจะอยู่เล่นต่อ แต่นี่มันได้เวลาที่ต้องไปแล้ว เรามาเล่นใหม่วันหลังได้” ซึ่งจะช่วยให้เด็ก ๆ นั้นรู้สึกเข้าใจ และรับรู้ว่าต้องไปโดยไม่มีการต่อรอง

9. “ลูกทำให้พ่อแม่รู้สึกเป็นบ้าไปแล้ว”

แน่นอนว่าพ่อแม่อาจจะต้องเจอกับสถานการณ์ที่ลูกดื้อ จนระงับอารมณ์ของตัวเองไม่อยู่ หงุดหงิดใส่ลูก และเผลอตะคอกลูกออกมาด้วยคำพูดที่ทำร้ายจิตใจ โดยไม่รู้ว่าความรู้สึกเด็กกับผู้ใหญ่ต่างกันหลายเท่านัก เมื่อพวกเขากำลังสร้างอารมณ์ให้กับคุณ เราอาจจะพูดว่า แม่คงต้องของพักสักหน่อยแล้วหล่ะ เพราะตอนนี้แม่กำลังรู้สึกหงุดหงิด” หรือ “ตอนนี้แม่รู้สึกโกรธแล้วนะ” คุณสามารถที่สื่อสารความรู้สึกของคุณไปยังลูก ๆ ได้ โดยไม่ต้องไปตำหนิว่าลูกเป็นต้นเหตุ

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

credit content : thekidcounselor.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

พูดกับลูกวัยเล็กยังไงให้เป็นเด็ก ว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้อพ่อแม่

ฉีกกฎของการเป็นพ่อแม่แบบเดิมๆ เลิกใช้ 10 คำพูดเก่าๆ กับลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R