เรื่องต้องรู้ก่อนพาลูกวัยอนุบาลไปดูภาพยนตร์

พาลูกวัยอนุบาลไปดูหนัง แค่คิดก็อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ปวดหัวซะแล้ว ก็เด็กวัยนี้อยู่นิ่งๆนานๆเป็นเสียที่ไหน แต่ก็อยากพาลูกไปเปลี่ยนบรรยากาศการดูหนังนอกบ้านบ้างพอจะมีทางไหนเป็นทองออกช่วยคุณพ่อคุณแม่เตรียมความพร้อมเจ้าเด็กแสบก่อนพาเข้าโรงภาพยนตร์ได้บ้างไหมนะ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ก่อนจะพาเจ้าตัวเล็กเข้าโรงภาพยนตร์คุณพ่อคุณแม่มีเรื่องที่ต้องเตรียมตัวก่อนเพื่อเช็คลูกเราว่าพร้อมแล้วที่จะเข้าไปชมภาพยนตร์ร่วมกับผู้อื่นหรือไม่จะได้ปวดหัว หรือรบกวนการอรรรสในการชมภาพยนตร์ของผู้อื่นให้คุณพ่อคุณแม่หนักใจทำอย่างไรได้บ้าง เรามีข้อแนะนำดีๆมาฝากค่ะ สำหรับคนที่อยากพาลูกเข้า โรงหนังเด็ก

 1.ลูกเราถึงวัยพร้อมไปดูหนังนอกบ้านหรือยัง

ข้อนี้ถือว่าสำคัญ แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะเป็นคอหนังและอยากส่งต่อความสุขให้ลูกผ่านในการชมภาพยนตร์จำเป็นต้องคิดถึงวัยของลูกเราก่อนว่าพร้อมแล้วที่จะมีสมาธินั่งนิ่งๆนานๆดูหนังยาวเป็นชั่วโมงจนจบหรือไม่โดยทั่วไปเด็กจะพร้อมเข้าโรงหนังได้เมื่ออายุ 3-4 ขวบเพราะจะสามารถทำความเข้าใจกับเรื่องราวของหนังได้ และที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ต้องแน่ใจว่าลูกไม่กลัวความมืดและไม่ตกใจกลัวเมื่อเกิดเสียงดังอย่างกระทันหัน

 2.ก่อนพาลูกไป โรงหนังเด็ก เช็คอารมณ์ลูกก่อน

เมื่อลูกถึงวัยพร้อมไปดูหนังนอกบ้านแล้วสิ่งสำคัญลำดับต่อมาคือ อารมณ์ของเจ้าตัวน้อย  หากวันที่คุณวางแผนพาลูไปดูภาพยนตร์นอกบ้านแล้วเจ้าตัวเล็กงอแง นอนไม่อิ่ม หรืออยู่ไม่นิ่งอยากวิ่งเล่นตลอดเวลาละก็ ฤกษ์ไม่ดีแล้วค่ะส่อเค้าว่าคุณพ่อคุณแม่จะดูหนังไม่สนุก และดูไม่จบเรื่องแน่นอน ดังนั้นยังไม่ควรพาลูกไป ทางที่ดีควรรอให้เจ้าตัวแสบอารมณ์ดีก่อนค่อยพาไปค่ะ

3.จำลองสถานการณ์เปลี่ยนบ้านให้เป็นโรงภาพยนตร์

ถ้าอยากรู้ว่าลูกเราพร้อมเข้าโรงภาพยนต์หรือยัง คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มทำการทดลอง สร้างบรรยากาศสร้างโรงภาพยนตร์ขนาดย่อมที่ห้องนั่งเล่นเช่น หรี่หรือปิดไฟ เรียงเก้าอี้เป็นแถวแล้วให้เปิดหนังจากแผ่นให้ลูกดูก่อน พร้อมอธิบายถึงมารยาทในการดูหนัง ห้ามพูดคุยเสียงดัง ห้ามลุกขึ้นเดินไปมา ถ้าไม่ทำตามคุณจะพาออกจากโรงภาพยนตร์เพื่อเตรียมความพร้อมและให้ช่วยเจ้าตัวเล็กเข้าใจกติกาและมารยาทในการชมภาพยนตร์ร่วมกับผุ้อื่นและทำความคุ้นเคยกับบรรยากาศขณะชมภาพยนตร์ในโรงได้มากขึ้น

4.หนังดัง หนังเข้าใหม่ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีเสมอไป

ก่อนพาลูกไปดูหนังสิ่งที่คุณพ่อคุรแม่ต้องคำนึงก่อนไม่ใช่แค่กระแสความดังของหนัง หรือความชอบส่วนตัวของคุณพ่อคุณแม่เหมือนเมื่อก่อน แต่ควรคำนึงถึงเนื้อหาของหนังว่าเหมาะกับวัยของลูกเราหรือไม่ เนื้อหาเหมาะสม มีสาระสอดแทรก และที่สำคัญสามารถตรึงความสนใจของลูกเราให้อยู่ที่เนื้อเรื่องได้จนจบหรือไม่มากกว่า ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรดูก่อนว่าหนังที่จะพาลูกไปดูอยู่ในเรตไหน เหมาะกับเด็กหรือไม่ มีฉากสยองขวัญหรือเสียงดังมากชวนให้ตกใจรึเปล่า เรตที่เหมาะกับเด็กคือ G หรือ PG หรือบทวิจารณ์หนังมีว่าอย่างไรบ้าง เป็นหนังแนวที่คุณควรพาลูกไปดูหรือไม่ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถหาข้อมูลได้ตามเวปไซต์ภาพยนตร์ต่างๆก่อนพาลูกไปดู และควรตกลงกับลูกให้เรียบร้อยก่อนว่าจะพาไปดูเรื่องอะไรเพื่อไม่ให้ลูกร้องงอแงจะดูเรื่องอื่นหน้าโรงหนัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5.บิ้วท์ให้ลูกอยากดู

เมื่อเลือกได้แล้วว่าจะพาลูกไปดูเรื่องอะไร ก็ควรบิ้วท์อารมณ์ให้ลูกเกิดความสนใจโดยการเล่าโครงเรื่องคร่าวๆให้ลูกฟังก่อนว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร ลุกจะได้เห็นอะไรบ้าง หรือเปิดตัวอย่างหนังให้ลูกดู เจ้าตัวเล็กจะได้เข้าใจเนื้อเรื่องมากขึ้น ดูหนังได้สนุกและนั่งนิ่งๆได้นานขึ้น

6.พาลูกไปดูรอบไหนถึงจะดี

รอบหนังที่เหมาะแก่การพาลูกไปดูที่สุดคือรอบเช้าสุดค่ะ เพราะส่วนมากคนจะไม่แน่นจนเกินไปและลูกได้นอนมาเต็มอิ่มและเป็นช่วงที่เด็กตื่นตัว สดชื่นที่สุดตัดปัญหางอแงเพราะง่วงนอนไปได้ 1 ข้อ และควรจัดการให้ลูกกินอาหาร และเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนเข้าชมภาพยนตร์เพื่อตัดปัญหาลูกหิวหรือต้องเข้าห้องน้ำระหว่างชมภาพยนตร์ทำให้ขาดความต่อเนื่อง และที่สำคัญควรพาลุกเข้าโรงภาพยนตร์ก่อนเวลาฉายเพื่อจะได้ดูแลแจกน้ำ แจกขนม ดูจัดนั่งให้ลูกได้สะดวกก่อนปิดไฟ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7.ตำแหน่งที่นั่งก็สำคัญ

ที่นั่งที่เหมาะสมสำหรับครอบครัวที่มีเด็กเล็กเข้าชมในโรงภาพยนตร์คือที่นั่งด้านริมติดทางเดิน หากอยากลุกออกจากที่นั่ง หรือเดินออกไปเข้าห้องน้ำ  ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกในการพาลูกลุกออกจากที่นั่งได้สะดวกโดยไม่เป็นการรบกวนผู้อื่น

แม้ว่าตกลงกันมาเป็นอย่างดี เตรียมความพร้อมให้ลูกมาแน่นขนาดไหน แต่เด็กคือเด็กอาจเกิดอาการงอแง ลุกเดินวุ่นวาย ขึ้นมากลางครัน คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกออกจากโรงหนังค่ะ อย่าเสียดายค่าตั๋ว แล้วค่อยๆพูดทำความเข้าใจ ซักซ้อมกันใหม่ รอจนลูกพร้อมมากขึ้นค่อยพากลับมาลองใหม่ในครั้งต่อไปจะได้ไม่เป็นการรบกวนอรรถรสในการชมภาพยนตร์ของผู้อื่นและสร้างวินัยในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นให้ลูกไปในตัวด้วย

แหล่งข้อมูล

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

https://baby.kapook.com/view28085.html

 

บทความโดย

daawchonlada