ไขข้อข้องใจ การอยู่เดือน อยู่ไฟ หลังคลอด เป็นเรื่องเดียวกันหรือต่างกัน?

ในระหว่างตั้งครรภ์นอกจากการดูแลบำรุงครรภ์ตัวเองตลอดระยะเวลา 9 เดือนแล้ว หลังจากนี้คุณแม่คงได้ยินคำแนะนำเกี่ยวกับ การให้ไปอยู่เดือนหรืออยู่ไฟหลังคลอดกันมาบ้าง แต่สงสัยกันมั้ยค่ะระหว่าง การอยู่เดือน อยู่ไฟ มันแตกต่างกันยังไงนะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความเชื่อหลังคลอดเกี่ยวกับ การอยู่เดือน อยู่ไฟ ที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงยุคปัจจุบัน ญาติผู้ใหญ่แนะนำให้ทำว่าดี คุณแม่มือใหม่ก็ไม่ขัดใจ แต่สงสัยกันไหมค่ะ บ้างก็ว่าให้ “อยู่เดือน” บ้างก็ว่าให้ “อยู่ไฟ” วิธีการสองอย่างนี้จริง ๆ คืออย่างเดียวกันหรือแตกต่างกันนะ

ไขข้อข้องใจ การอยู่เดือน อยู่ไฟ หลังคลอด เป็นเรื่องเดียวกันหรือต่างกัน?

“การอยู่เดือน” คือ ความเชื่อในการปฏิบัติตัวหลังคลอดตามแบบตามธรรมเนียมของคนจีน ซึ่งจะให้แม่หลังคลอดนั้นเริ่มดูแลตัวเองตั้งแต่วันแรกที่กลับบ้าน คือ อยู่แต่ในบ้าน ไม่ทำงานหนักเป็นเวลาหนึ่งเดือน ให้รับประทานอาหารดี ๆ ไม่กินของแสลง เช่น น้ำปลา ของไม่สุก ไม่สะอาด ฯลฯ เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นตัวหลังคลอด และเมื่อแก่ตัวไปจะไม่เจ็บไข้ได้ป่วยง่าย ซึ่งถือเป็นกุศโลบายของคนในสมัยก่อนที่จะช่วยให้แม่ลูกอ่อนได้มีเวลาดูแลลูกเต็มที่แต่เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องทำงานหนักหลังคลอด และใช้เวลาเดือนหนึ่งได้ปรับตัวเพื่อทำหน้าที่แม่อย่างสมบูรณ์ด้วย

เวลาอยู่เดือนต้องทำอย่างไร?

หลังคลอดที่แม่ต้องอยู่เดือน แต่ละบ้านอาจมีแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยแต่หลัก ๆ ที่มีข้อห้ามเหมือนกัน คือ
– ห้ามอาบน้ำเย็น
– ห้ามออกนอกบ้าน
– ห้ามโดนแดด ห้ามโดนลม ห้ามโดฝน
– ห้ามทานของเย็น น้ำเย็น ผักและผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น
– นอนพักเยอะๆ
– ห้ามตัดเล็บ ตัดผม และสระผม
– ห้ามใช้สายตานาน

ข้อห้ามเหล่านี้ เป็นความเชื่อว่าจะส่งผลตอนอายุเยอะ ถ้าไม่ทำตั้งแต่แรกจะมีผลให้ร่างกายทั้งปวดเมื่อย ปวดหัว เกิดอาการสะบัดร้อนสะบัดหนาวเมื่อแก่ตัวไป

การอยู่ไฟต่างกับอยู่เดือนมั้ย อ่านหน้าถัดไปนะคะ >>

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“การอยู่ไฟ” เป็นวิถีปฏิบัติตัวหลังคลอดที่มีมาช้านาน ญาติผู้ใหญ่สมัยก่อนได้รับการสืบทอดต่อ ๆ กันมาสอนให้ลูกสาวที่เพิ่งคลอดลูกทุกคนได้ทำการอยู่ไฟ โดยมีจุดประสงค์ เพื่อปรับสมดุลในร่างกายให้กลับมาเป็นปกติโดยเร็ว ให้มดลูกกลับเข้าอู่เร็ว โดยใช้ความร้อนเข้าช่วย เป็นการพักพื้นเพื่อสะสมกำลังให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีน้ำนมมามาก ถือเป็นการบำบัดโรคหลังคลอด ทำให้คุณแม่มีสุขภาพดี รวมทั้งการอยู่ไฟในสมัยก่อนนั้นยังกำหนดให้สามีได้มีส่วนร่วมคอยดูแลเอาใจใส่ช่วยเหลือให้ภรรยาได้อยู่ไฟ เพื่อให้คลายความเหนื่อยล้า ความเจ็บปวดที่ผ่านมา และความวิตกกังวลในการเลี้ยงลูก โดยเชื่อว่าหากไม่ได้รับการอยู่ไฟจะมีผลกระทบต่าง ๆ ในร่างกายอาจเกิดทันที หรือปรากฏอาการให้เห็นเมื่ออายุมากขึ้น

วิธีการอยู่ไฟ เช่น

  • การนวดประคบ
  • เข้ากระโจมและอบสมุนไพร
  • นาบหม้อเกลือ
  • การประคบ-นั่งอิฐ
  • ร่วมกับการนวดคล้ายเส้นตามกล้ามเนื้อตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นใบหน้า ศีรษะ ต้นขา ต้นแขน เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว กระตุ้นต่อมน้ำเหลืองและเลือดลม และการดื่มน้ำสมุนไพร

ภาพประกอบจาก :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การอยู่ไฟนี้ เมื่อก่อนที่ยังไม่มีการผ่าตัดคลอด สามารถอยู่ไฟได้เลยนับตั้งแต่ออกจากโรงพยาบาลหรือภายใน 3-7 วันขึ้นไป ซึ่งการอยู่เดือนกับอยู่ไฟสามารถทำไปพร้อม ๆ กันได้ แต่ในปัจจุบันสำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอดมาจำเป็นต้องรอและให้แผลแห้งสนิทก่อนประมาณ 30-45 วันจึงทำการอยู่ไฟได้

การอยู่เดือน อยู่ไฟ จึงเป็นวิธีปฎิบัติกันมาตั้งแต่สมัยโบราณที่คล้าย ๆ กัน โดยมีจุดประสงค์ที่ไม่ต่างกันคือเพื่อให้ร่างกายคุณแม่หลังคลอดกลับมาเป็นปกติให้เร็วที่สุด คุณแม่ที่ได้อยู่เดือนตั้งแต่หลังคลอดและอยู่ไฟต่อจากนั้น ร่างกายอาจจะฟื้นฟูได้ดีและเร็วกว่าคุณแม่ที่อยู่ไฟเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามทั้งสองวิธีนี้ยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน และแม่ยุคใหม่ก็ยังคงใช้วิธีนี้ดูแลร่างกายตัวเองเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้กลับคืนสภาพปกติได้เร็วที่สุด.


อ้างอิงข้อมูล :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

www.yesspathailand.com

medthai.com

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

10 ข้อห้ามของการอยู่ไฟ

วิถีความเชื่อ“อยู่ไฟหลังคลอด”ช่วยฟื้นร่างกายได้จริงหรือ

บทความโดย

Napatsakorn .R