เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีเนื้อหาที่เป็นไวรัลมากมายเกิดขึ้นในโซเชียล ซึ่งวันนี้ก็มีอีกเคสหนึ่งที่เราอยากเอามา เตือนให้กับผู้ใหญ่ทุกคน ที่มีลูกน้อย รวมถึงตัวของผู้ใหญ่เอง ให้ควรจะระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน มากขึ้น โดยเฉพาะปลั๊กไฟ ที่เกิดเหตุแล้ว เกิดเหตุอีก แต่ผ่านไปไม่นาน ก็เกิดเคส สยอง! เด็กหญิงถูกไฟดูดจนนิ้วไหม้เป็นสีดำ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ไฟช็อตดับสลด อุทาหรณ์สอนใจพ่อแม่ ให้ควรระวัง
สยอง! เด็กหญิงถูกไฟดูดจนนิ้วไหม้เป็นสีดำ เป็นเคสความโชคร้าย ที่ยังคงมีความโชคดีที่ไฟดูดในครั้งนี้ ไม่ได้คร่าชีวิตเด็กน้อย เหมือนกันกับเคสอื่น ๆ ที่ผ่านมา ดังนั้นเราควรจะตระหนักไว้เสมอว่า อุบัติเหตุเช่นนี้ สามารถเกิดได้ กับคนทุกเพศ ทุกวัย ไม่ใช่เพียงแค่เด็กเล็ก ๆ นั่นเอง
เมื่อไฟฟ้าเกิดช็อต และเผาไหม้มือเด็ก
เหตุสยองในครั้งนี้ เป็นประสบการณ์จากครอบครัวที่ประเทศฟิลิปปินส์ และได้โพสต์ลงในเฟสบุ๊คส่วนตัว จากประเทศฟิลิปปินส์ โดยในโพสต์ ได้โพสต์รูปมือของลูกน้อยวัย 7 ปี ที่มีรอยไหม้ จนดำเกรียม โดยเจ้าของโพสต์ได้เล่าว่า เหตุเกิดจากการ เสียบปลั๊กไฟตามปกติ เหมือนทุก ๆ วัน ที่ผ่านมา แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกันกับทุกวันก็คือ ไฟฟ้าที่เกิดการช๊อตขึ้นมา จนเกิดการเผาไหม้บริเวณสายไฟ และลามมาที่มือเด็ก จนเกิดเหตุสยองดังกล่าว
ความโชคดีในครั้งนี้ คือ กระแสไฟยังไม่สามารถคร่าชีวิตเด็กน้อย เฉกเช่นเดียวกับเหตุการณ์สลดอื่น ๆ ที่ผ่านมา หากแต่มือของเด็กน้อยนั้น เกิดอาการผุพอง และไหม้บริเวณมือ อย่างหนัก จนคาดการณ์ว่า อาจจะต้องทำการปลูกถ่ายผิวใหม่ ซึ่งจะต้องใช้เวลาเป็นปีเลยทีเดียว
จากเหตุการณ์ไฟฟ้าช๊อตเด็กจนถึงขั้นเสียชีวิต ที่เกิดขึ้นติดต่อกันบ่อยครั้งนี้ จนทำให้เกิดการเรียกร้อง และเตือนภัยให้กับผู้ปกครองที่มีเด็กเล็ก ให้มีความระมัดระวัง และใส่ใจในเรื่องความปลอดภัย จากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกประเภท
พ่อแม่ที่มีลูกเล็ก ๆ ส่วนใหญ่รู้ดีว่า เมื่อลูกโตในระดับหนึ่ง พวกเขาจะเริ่มอยากรู้อยากเห็น เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และชอบที่จะหยิบจับสิ่งต่าง ๆ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ จะต้องให้ความสนใจ ใส่ใจให้ตัวลูกเป็นพิเศษ ไม่ใช่เพียงแค่อันตรายที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเพียงอย่างเดียว
การป้องกัน คือสิ่งที่ดีที่สุด
- การปิดเต้าเสียบ เพื่อความปลอดภัย
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะสามารถป้องกันเหตุอันตราย ที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกน้อยของคุณได้นั้น หากสามารถปรับเปลี่ยนระดับเต้าเสียบปลั๊ก ได้ ก็ควรจะยกให้สูงขึ้น เพื่อให้พ้นมือเด็ก แต่ถ้าหาก ไม่สามารถแก้ไขในจุดนี้ได้ ก็ควรจะหา Socket Safety Pad หรือ Socket Safety Cover มาปิดไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ความอยากรู้อยากเห็นของลูกน้อย มาเป็นเหตุให้เกิดอันตรายกับตัวเด็กเอง และทรัพย์สินภายในบ้าน
- การถอดปลั๊กไฟฟ้า และเก็บให้เรียบร้อย
เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดไหน ที่ไม่ได้ใช้ ก็ควรถอดปลั๊กออก และเก็บสายไฟในที่ ๆ ปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้เด็ก สะดุดสายไฟ ในขณะที่เล่นอยู่ หรือ ดึงสายไฟเล่น เพราะความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งการป้องกันเช่นนี้ นอกจากจะช่วยให้เกิดความปลอดภัย และเป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว ยังช่วยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่เกิดการเสียหาย อีกทั้งยังป้องกันเด็ก ๆ ที่มีแนวโน้มที่จะเกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย
- การติดตั้งเครื่องตัดไฟ
การติดตั้งเครื่องตัดไฟ หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ เซฟ-ที-คัท เป็นตัวที่จะต้องติดตั้งกับระบบไฟฟ้าภายในบ้าน และจะตัดการจ่ายไฟฟ้าทันที เมื่อมีการรั่วไหลของไฟฟ้าเกินอัตรา เช่น ไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช๊อต ไฟฟ้าเกินพิกัด ไฟฟ้าลัดวงจร และควรเลือกช่างติดตั้งที่มีความเชี่ยวชาญ หรือชำนาญ เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในครอบครัว
- การเลือกใช้ปลั๊กพ่วงที่ได้มาตรฐาน มอก.
การเลือกใช้ปลั๊กพ่วงที่ได้รับมาตรฐาน มอก. จะเป็นตัวช่วยที่มีความสำคัญด้วยเช่นกัน เนื่องจาก หลาย ๆ บ้าน จำเป็นจะต้องใช้ไฟฟ้าพร้อม ๆ กัน การเลือกใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงที่มีมาตรฐาน จะช่วยให้การใช้ง่ายปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ต้องคำนึงด้วยว่า ไม่ควรต่อพ่วงอุปกรณ์ไฟฟ้ามากจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้เช่นกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : อันตรายการใช้ปลั๊กพ่วงที่พ่อแม่ห้ามมองข้าม
วิธีป้องกัน ไฟช๊อต
การป้องกัน ไฟช็อต สามารถทำได้โดยการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมาตรฐาน ไม่เสียบปลั๊กพ่วงมากเกินไป หรือการติดตั้งสายดินก็เป็นตัวช่วยที่ดี ลดอัตราเสี่ยงต่อการถูกไฟดูดได้มากเช่นกัน
ปัญหากระแสไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้นได้กับทุกบ้าน หากไม่หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ ผู้อยู่อาศัยจึงเสี่ยงต่อการโดนไฟดูด ไฟช็อต กันเป็นแถว หากปล่อยปละละเลยคงไม่ดีต่อชีวิต และทรัพย์สินของคุณแน่ค่ะ จริง ๆ แล้ววิธีป้องกันไฟฟ้าดูดนั้นสามารถทำได้ง่ายแสนง่าย เพียงคุณปฏิบัติตามคำแนะนำที่นำมาฝาก ความเสี่ยงในการถูกไฟฟ้าดูดก็จะลดน้อยลงไปค่ะ
1. เลือกปลั๊กพ่วงที่ได้มาตรฐาน
ปลั๊กไฟพ่วงที่ดีจะต้องมีสายไฟ และเต้าเสียบที่ใช้วัสดุไม่ติดไฟ ควรเลือกยี่ห้อที่มีเครื่องหมาย มอก. (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) ที่สำคัญควรเขย่าเพื่อฟังเสียงเบื้องต้น ถ้ามีเสียงตอนเขย่าอาจเป็นสาเหตุจากตะกั่วบัดกรีหลุดออกมา หากนำมาใช้งานอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
2. การติดตั้งสายไฟ
ต้องไม่อยู่ใกล้แหล่งความร้อน สารเคมี หรือถูกของหนักทับ เพราะจะทำให้ฉนวนหุ้มสายชำรุดได้ง่าย สายไฟฟ้าต้องไม่พาดบนโครงเหล็ก รั้วเหล็ก ราวเหล็ก หรือส่วนที่เป็นโลหะต่าง ๆ ควรกำหนด และวางแนวการติดตั้งสายไฟให้พ้น หรือห่างไกลจากทางเดิน
3. ตรวจสอบอุปกรณ์อยู่เสมอ
หมั่นตรวจเช็คสายไฟอย่างสม่ำเสมอ สภาพสายไฟฟ้าเก่า หรือหมดอายุการใช้งาน สังเกตได้จากฉนวนที่มีการแตก บวม แห้งกรอบ การชำรุดของฉนวนสายไฟฟ้าอาจเกิดจากหนู หรือแมลงกัดแทะ ถูกของมีคมบาด วางของหนักทับ เดินสายไฟฟ้าใกล้แหล่งความร้อน เป็นต้น หากเกิดการชำรุดเสียหายของอุปกรณ์ หรือสายไฟ ควรรีบทำการซ่อมแซมแก้ไขโดยด่วน ก่อนจะเกิดอันตรายตามมาในภายหลัง
4. ถ้าคุณไม่ใช่ช่างไฟอย่าซ่อมเอง
อย่าทำการซ่อมแซมเครื่องใช้ และอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยตนเองเป็นอันขาด หากไม่มีอุปกรณ์ในการตรวจสอบ และซ่อมแซม ตลอดจนไม่มีความรู้ทางด้านช่างไฟฟ้ามาก่อน เพราะมันเสี่ยงต่อการที่คุณจะถูกไฟดูดได้ค่ะ
5. ไม่เสียบปลั๊กมากเกิน
ไม่ควรใช้ปลั๊กไฟตัวเดียว หรือเต้าเสียบเพียงช่องเดียว เสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด ควรมีการแบ่ง และกระจายการใช้งาน ไม่รวมอยู่ในจุดเดียวกันมากเกินไป อาจทำให้เกิดความเสี่ยงของการเกิดไฟฟ้ารั่ว และส่งผลให้ผู้ใช้งานถูกไฟฟ้าดูดได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : เตือนพ่อแม่ ระวังไฟช็อตมือลูก เพราะสร้อยข้อมือเข้าไปในรูปลั๊กไฟ
6. มือเปียกไม่จับ
เมื่อมือของคุณเปียกชื้น หรือแม้กระทั่งขณะยืนอยู่บนน้ำ ห้ามแตะต้องอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเด็ดขาด เพราะกระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านมาสู่ร่างกายเราได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว ซึ่งอันตรายต่อชีวิตอย่างยิ่ง
7. ติดตั้งสายดิน
เราควรให้ความสำคัญกับสายดินด้วยนะคะ เพราะการต่อสายดินเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นการนำไฟฟ้าลงสู่ดิน โดยเฉพาะเครื่องทำน้ำอุ่น เนื่องจากอยู่ใกล้น้ำ และอาจเกิดอันตรายจากการใช้งานได้อย่างชัดเจนที่สุด
8. ติดตั้งเครื่องตัดไฟ
การติดตั้งอุปกรณ์สำหรับป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้านเรือน ก็เพื่อป้องกันภัยไฟฟ้าดูด หรือลัดวงจร ลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ตลอดจนช่วยรักษาความปลอดภัยของร่างกาย และทรัพย์สินของคุณอีกด้วย
9. ใส่รองเท้าเสมอ
อย่ากลัวว่าการใส่รองเท้าเดินไป – มาในบ้านจะทำให้บ้านสกปรก เพราะการใส่รองเท้า สามารถป้องกันไฟฟ้า ที่อาจรั่วไหลจากอุปกรณ์ไฟฟ้ามาสู่ตัวคุณได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งตู้เย็น ซื้อรองเท้าสำหรับเดินในบ้าน (Slipper) ติดไว้ก็จะดีมากค่ะ
การใช้ประโยชน์จากไฟฟ้า ควรใช้งานอย่างระมัดระวัง และต้องเรียนรู้วิธีการป้องกันที่ถูกต้อง ควรเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับมาตรฐาน และไม่นำตัวเอง และลูกน้อย ไปอยู่ในที่ ที่มีความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของกระแสไฟ หากคุณทำตามคำแนะที่เราบอกไป ก็จะช่วยลดอัตราเสี่ยงจากการถูกไฟฟ้าดูดได้ค่ะ