อบรมให้ลูกมีความรู้เรื่องเงิน อย่างไร

การสอนลูกเรื่องเงินอาจจะฟังดูท้าทาย แต่จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องง่ายไม่ซับซ้อนและเป็นสิ่งที่คุณควรเริ่มทำซะตั้งแต่ลูกยังเล็ก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตอนลูกยังเล็ก เราสอนลูกหลายอย่างเลย ไม่ว่าจะเป็นการสอนเรื่องตัวอักษร สอนให้อ่านเขียน สอนนับเลข สอนให้ดูแลความสะอาดตนเอง และอีกมากมาย แต่มีอีกอย่างที่เราสามารถเพิ่มเติมเข้าไป นั่นคือ การสอนลูกวัยห้าขวบให้เข้าใจเรื่องเงิน ใช่แล้ว เรื่องเงินนี่แหละ และมันก็ง่ายกว่าที่พ่อแม่หลายคนคิดไว้

ผู้ปกครองสามารถทำตัวเป็นผู้สั่งสอน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเรามองการสอนลูกเรื่องเงินเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ที่จริงแล้ว ผู้สั่งสอนอย่างเราเชื่อว่า มันเป็นความรับผิดชอบของพ่อแม่ผู้ปกครอง การสอนลูกเรื่องเงินก็เป็นสิ่งที่ควรร่วมมือกันทำ และให้คำชี้แนะคำแนะนำที่ชัดเจน (ถ้าอยากรู้ว่าคุณสอนลูกเรื่องเงินแบบไหน ลองทำแบบทดสอบนี้ดูสิ)

จุดประสงค์ คือ ต้องการให้ลูกของเรา

  • มีความรู้ด้านการเงิน
  • รู้จักการคำนวณค่าใช้จ่าย ออมเงิน และรู้จักความแตกต่างระหว่างความต้องการกับความจำเป็น

เราเคร่งเรื่องการเงินของเรามากและก็มีเป้าหมายที่ชัดเจน นี่เป็นสิ่งที่เราต้องการสอนลูก ดังนั้นทำไมไม่เริ่มตั้งแต่เนิ่นๆ เลยล่ะ

 

ความรู้ในการเลี้ยงดู เริ่มตั้งแต่ยังเล็ก

จิม บราวน์ เป็นผู้เชี่ยวชาญทางการเงินมามากกว่า 30 ปี พูดได้เข้าใจง่ายมากเลย การสอนลูกเรื่องเงินไม่จำเป็นต้องซับซ้อนอะไรมากมาย แค่ต้องทุ่มเทและใช้เวลา แค่นั้นเลย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เราเคยคิดว่าเรื่องเงินเป็นแนวคิดที่ยากและซับซ้อน แล้วเราก็ได้รู้ว่ามันเหมือนกับเรื่องอื่น ๆ ถ้าเราย่อยข้อมูลให้อยู่ในระดับที่เด็กเข้าใจได้ มันก็ง่ายมากเลยเลยทีเดียว 

อย่างที่เจยน์ เอ. เพิร์ล ผู้เขียนหนังสือ ลูกและเงิน ให้ลูกเชี่ยวชาญเพื่อประสบความสำเร็จในด้านการเงิน” (Kids and Money: Giving Them the Savvy to Succeed) กล่าวว่า ตอนที่เด็กยังอายุน้อยมาก ๆ มันง่ายที่จะสอดแทรกแนวคิดเรื่องเงินเข้าไปในการเล่นที่ใช้จินตนาการของลูก อย่างเช่นการเล่นขายของตอนที่เราเริ่มทำ พบว่าในแต่ละวัน เราสามารถสอนลูกชายได้หลายเรื่องเลย เชื่อเถอะว่า ลูกเข้าใจมากกว่าที่เราคาดหวังไว้เสียอีก

มันยังช่วยให้ลูกสงสัยและอยากรู้เกี่ยวกับทุกสิ่งด้วย ในฐานะพ่อแม่ผู้ปกครอง คุณรู้ดีแน่นอนว่า การที่ถูกลูกถามไม่หยุดมันเป็นยังไง ความกระตือรือร้นนี้สิ่งที่ดีมากเลย

ตอเราเริ่มสอนลูกเรื่องเงิน เราเริ่มจากเกมง่ายๆ เช่น เล่นจัดงานเลี้ยงน้ำชา เล่นเปิดร้านไอศกรีม ไปจนถึงเล่นขายของแบบร้านซูเปอร์มาร์เก็ตเลย เราสังเกตว่าลูกชายของเราใช้เวลาไม่นาน ก็เข้าใจแนวคิดนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เราให้ลูกเรียนรู้เรื่องการออมเงิน ด้วยการให้กล่องออมเงินและให้ลูกเก็บเหรียญที่ได้จากการทำตัวดี และตอนออกไปทำธุระ เราก็พาลูกไปด้วย

ลูกตามติดไปกับเรา ไม่ว่าจะไปที่ธนาคาร ร้านค้า หรือแม้กระทั่งตู้เอทีเอ็ม เพราะว่าประสบการณ์ในชีวิตประจำวันนั้น สำคัญมากสำหรับพ่อแม่ประเภทผู้สั่งสอนแบบเรา และแน่นอนว่าจะดียิ่งขึ้น เมื่อเสริมด้วยคำแนะนำที่ชัดเจนอย่างสม่ำเสมอจากพ่อแม่ผู้ปกครอง เราพูดคุยกับลูกเรื่องเงิน พูดเกี่ยวกับเรื่องพื้นฐานของเงิน เราหาเงินมายังไง และเราใช้เงินยังไง

นานวันเข้า เขาก็เริ่มช่วยเราทำรายชื่อของที่ต้องซื้อในซูเปอร์มาร์เก็ต และคำนวณงบของเรื่องที่ไม่ซับซ้อน อย่างเช่น การออกไปซื้อของในแต่ละสัปดาห์ การออกไปกินมื้อเย็นนอกบ้าน หรือตอนที่เราพาลูกไปเล่นนอกบ้าน และเขายังช่วยชี้ให้เห็นสินค้าลดราคาพิเศษตอนที่เราชอปปิงอีกด้วย ซึ่งเขาก็ช่วยได้เท่าที่เขาพอจะอ่านออกนะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไมการเริ่มตั้งแต่เด็กจึงสำคัญ

จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี 2013 พบว่าเด็กสามารถเข้าใจแนวคิดเรื่องเงินได้ตอนอายุสามขวบ และตอนอายุเจ็ดขวบ ก็มีนิสัยการใช้เงินเป็นของตัวเองแล้ว

ลองคิดว่า การสอนลูกเรื่องเงินคล้ายกับการสอนลูกเรื่องมารยาทบนโต๊ะอาหารมากเลย ให้ลูกเข้าใจความสำคัญของการพูดความจริง หรือการพูดขอร้องอย่างสุภาพและการพูดขอบคุณ นิสัยเหล่านี้คือสิ่งที่เราพยายามปลูกฝังในตัวลูกตั้งแต่ยังเล็ก ด้วยการชี้แนะจากผู้สั่งสอนแบบเราอย่างสม่ำเสมอ ส่วนนิสัยการใช้เงินนั้นก็ไม่ต่างกัน

คุณอยากให้ลูกเข้าใจความสำคัญของเงิน คุณค่าของเงิน และนิสัยการใช้เงินที่ควรใช้เพื่อจัดการเงิน จะมีเวลาไหนดีไปกว่าตอนลูกยังเด็กล่ะ วัยที่พร้อมรับแนวคิดและซึมซับทุกอย่างเหมือนกับฟองน้ำ

เพราะฉะนั้นก็อย่ากลัวแนวคิดเรื่องเงิน ทำให้มันง่ายเข้าไว้ และเริ่มสอนลูกเรื่องเงิน จำไว้ว่า การสอนลูกวัยห้าขวบเรื่องเงินเป็นสิ่งที่ง่ายและก็สนุกได้เช่นกัน 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team