สอนภาษาอังกฤษ : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ถ้าคุณกำลังคิดว่าคุณจะเริ่ม สอนภาษาอังกฤษ ลูกน้อยเมื่อไหร่ดี บอกเลยค่ะ คนที่เริ่มก่อนย่อมได้เปรียบกว่า และง่ายกว่า เพราะหากคุณเริ่มช้า ในที่นี้คือเริ่มหลัง 3 ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่เด็กรู้เรื่องแล้ว พูดภาษาแม่ได้คล่องแล้ว รับภาษาไทยเข้าไปมากแล้ว การจะรับภาษาใหม่เข้าไปเพิ่มนั้นยังสามารถเพิ่มได้ แต่ช่วงแรก ๆ จะต่อต้านสักหน่อย ถ้าผ่านช่วงนี้ไปได้เค้าจะไปต่อได้

เราสังเกตเด็กที่มีการฝึกฝนภาษาที่สอง และสาม หลายคนรวมถึงลูกของคุณพ่อคุณแม่เอง การที่เด็ก ๆ เหล่านี้พูดภาษาอังกฤษได้คล่อง อาจไม่ใช่เพราะฉลาดกว่าคนอื่น แต่เป็นเพราะชั่วโมงบินที่สูง เพราะภาษาเป็นทักษะ ที่ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนเพื่อให้ให้เกิดความชำนาญ ยิ่งใช้มาก ยิ่งพูดมาก ฟังมาก ก็ยิ่งเก่งมาก เพราะฉะนั้น มาเริ่ม สอนภาษาอังกฤษ ลูกน้อยกันดีกว่าค่ะ

 

 

ก่อนอื่นเราอยากจะแนะนำว่า ให้พูดภาษาอังกฤษกับลูกอย่างน้อยวันละ 30 นาที บางคนอาจมองว่าน้อยจัง มันก็อาจใช่ ถ้าคุณไม่พูดทุกวัน แต่เราพูดทุกวันค่ะ ลองคิดดูสิ ถ้าเราชวนลูกคุยภาษาอังกฤษวันละ 30 นาทีเป๊ะ ๆ เท่ากับว่า 2 วันเราคุยได้ 1 ชั่วโมง สองปีผ่านไปก็เท่ากับว่าลูกเราได้ใช้งานภาษาอังกฤษไปแล้ว 365 ชั่วโมง

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ฝึกภาษาอังกฤษกับเพลง Let it go พัฒนาการด้านภาษา รวมเพลง Disney

 

ควรเริ่มสอนอย่างไรดี

วิธีการง่าย ๆ คือ ทุกสิ่งที่เราทำในชีวิตประจำวัน ให้เราชี้ แล้วเรียกออกมาเป็นคำศัพท์นั้น ๆ ให้ออกคำสั่งกับเค้าเป็นภาษาอังกฤษ ตั้งคำถามกับเค้าเป็นภาษาอังกฤษ เห็นอะไรก็ถาม ๆๆๆๆๆๆ ในแต่ละวันให้ถามลูกเป็น 10 เป็น 100 คำถามเลยค่ะ เช่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • Good morning.                อรุณสวัสดิ์.
  • Good sleeping?                หลับสบายดีมั้ยจ๊ะ?
  • Get enough sleep?           นอนพอมั้ยจ๊ะ?
  • Are you hungry?              หิวมั้ยจ๊ะ?
  • You feel full?                    อิ่มแล้วเหรอ?
  • What is it?   This is a clock.

 

 

ในกรณีถาม และตอบให้แยกถามก่อน แล้วเว้นช่วงซักพัก แล้วเราค่อยบอกว่าคำตอบคืออะไร เพื่อให้ลูกได้เข้าใจ ว่าไม่ใช่ประโยคเดียวกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ต้องบอกว่ามันไม่มีคำตอบที่ตายตัวนะคะ เพราะเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน และสถานการณ์ หรือสิ่งแวดล้อมของแต่ละบ้านนั้นต่างกัน เราคงไม่สามารถแนะนำได้แบบเป๊ะ ๆ ดังนั้นหากลูกของคุณแม่จะพูดได้ช้า ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นสิ่งผิดปกติ หรือน้องมีพัฒนาการที่ช้ากว่าคนอื่นค่ะ

สื่อหลักที่ใช้คือสื่อประเภทหนังสือนิทาน หนังสือนิทานที่ใช้อาจจะไม่จำเป็นจะต้องเป็นหนังสือที่มี 2 ภาษา แต่มีภาษาเดียวเลย คือภาษาอังกฤษค่ะ และเป็นหนังสือนิทานภาษาอังกฤษแท้ ๆ ที่มาจากต่างประเทศ ไม่ใช้หนังสือภาษาอังกฤษ ที่เขียนโดยคนไทย หนังสือนิทาน หนังสือนิทานภาษาไทยก็ต้องมีติดบ้านไว้ด้วยนะคะ ไม่ได้ถึงกับว่าไม่ให้เห็น หรือสัมผัสภาษาไทยเลย นิทานภาษาไทยเราก็เล่าตามปกติค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : เพลงกล่อมลูก ภาษาอังกฤษ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 98

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฉะนั้นช่วงอายุ 9 – 12 เดือน คุณแม่สามารถเน้นการเล่านิทานที่เป็นภาษาอังกฤษมาก ๆ ค่ะ สามารถหาซื้อเป็นหนังสือมือสอง หรือหาซื้อเอาตาม facebook นี่แหละค่ะ สาเหตุที่ยังไม่แนะนำให้ซื้อมือ 1 เพราะบางทีลูกน้อยอาจจะชอบฉีกหนังสือขาด อาจจะมาเริ่มซื้อหนังสือนิทานภาษาอังกฤษมือ 1 ก็ตอนที่ลูกอายุ 3 ขวบแล้วเพราะเค้าจะเริ่มรู้จักทนุทนอมสิ่งของแล้วนั่นเองค่ะ

 

คุยอะไรบ้าง?

สำหรับเด็กเล็กวัย 9 – 12 เดือน แม่ก็สามารถคุยเรื่องสัพเพเหระทั่วไปในบ้านนี่แหละค่ะ กินข้าว อาบน้ำ แปรงฟัน ทำกิจกรรมอะไรก็พูดอันนั้น เค้ายังจำ หรือพูดไม่ได้หรอกค่ะ แต่เค้าจะเริ่มซึมซับกับสิ่งที่เราพูดแล้ว ใช้คำที่ลงท้ายด้วยเสียง ‘y’ เช่น tummy, mummy, yummy, doggy แลดูน่ารักเนอะ และจำง่ายด้วยค่ะ เด็ก ๆ ชอบ

เด็กเล็ก ๆ เรียนรู้จากการที่เราพูดบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ช่วงนี้แม่อาจจะเบื่อ ที่ต้องพูดคำเดิม ๆ ซ้ำ ๆ หลายครั้ง บางคำพูดเป็น 100 ครั้งซ้ำไปซ้ำมา แต่ขอให้อดทนไว้นะคะ ผลลัพธ์ที่ดีจะตามมาอย่างแน่นอนค่ะ

 

สิ่งที่ต้องทำมีไม่กี่ข้อสำหรับเด็กก่อน 1 ขวบ

1. คุยด้วยบ่อย ๆ เยอะ ๆ และสบตาเค้าเวลาคุย

2. มีเวลาส่วนตัวในการคุยกันแบบ 1 – 1 ทุกวัน (คุยภาษาอังกฤษกัน 2 คน ในที่เงียบ ๆ เช่นห้องนอน ไม่มีคนอื่น) ประมาณวันละ 30 – 60 นาที ทุกวันไม่ขาด คุยอะไรดีงั้นเหรอคะ? ก็เล่านิทานไง แค่นั้นเองค่ะ ทำให้เป็นประจำสม่ำเสมอ ถ้าจะให้ดี ควรจะทำในช่วงเวลาเดิม ๆ เพื่อสร้างนิสัยให้กับเด็ก เพราะเมื่อถึงเวลา เค้าจะรู้ตัวว่า เค้าจะได้ฟังนิทานจากแม่ ถึงแม้ว่าช่วงนั้นเค้าจะยังไม่เข้าใจในภาษาก็ตาม

3. เมื่อลูกโต้ตอบต้องรับฟัง ซึ่งวัยนี้เค้ายังพูดไม่ได้ ได้แค่ออกเสียงอ้อแอ้  แต่เราก็ต้องฟังค่ะ ตอบอะไรมาแม้จะเป็นเสียงอ้อแอ้ธรรมดาก็นิ่งรับฟังเสมอ

4. อย่าดูทีวี คุยกับเราดีกว่า

5. ใช้ภาษาปกติ ไม่ใช้ภาษาเด็ก เพื่อให้เค้าเรียนรู้ภาษาที่แท้จริง

6. ร้อง Nursery Rhymes หรือเพลงเด็ก ก็จะช่วยเสริมพัฒนาการให้กับลูกเช่นกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วัยนี้เด็กหลายคนจะสามารถทำตามคำสั่งหรือคำขอบางอย่างได้ เช่น “Come here” “Give me” เค้าช่วยหยิบของได้เมื่อเราพูด Give me ลองพูดแล้วยื่นมือรอรับ แรก ๆ ก็จะงง หลายครั้งเข้า เค้าก็จะหยิบของมาให้ค่ะ (เราเปลี่ยนจาก give me เป็นคำอื่นที่สุภาพมากขึ้นตอนหลัง 2 ขวบครึ่งได้ค่ะ) คำสั่งอื่น ๆ ที่เค้าเข้าใจ ได้แก่ wave hands, stand up, sit down, shake เป็นต้น

เด็ก ๆ จะสามารถจำคำศัพท์ได้หลายคำได้ในช่วงนี้ แม้จะยังไม่พูดออกมา แต่เราสามารถสังเกตจากเวลาที่ขอให้เค้าหยิบของให้แล้วเค้าหยิบถูก เช่น shoes, book เป็นต้น คำศัพท์ที่เป็นสิ่งของรอบ ๆ ตัวสามารถสอนได้เลยตั้งแต่ตอนนี้ เค้าจำได้หมดค่ะ แต่ยังไม่พูดมันออกมาเท่านั้นเอง

 

 

ที่มา : sawasdeekids

บทความโดย

Arunsri Karnmana