ให้ลูกใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอย่างไรให้ปลอดภัยและได้ประโยชน์

มาดูวิธีการให้ลูกใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีอย่างโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตให้ได้ประโยชน์สูงสุดและปลอดภัย โดยไม่ทำให้ลูกติดอุปกรณ์เหล่านี้กันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ใช้เวลาทำกิจกรรมกับครอบครัวที่ใช้เทคโนโลยีให้น้อยที่สุด

เรามีผลการศึกษา “การใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของเด็ก: กรณีศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” จากการสำรวจความคิดเห็นตัวอย่างของคุณพ่อคุณแม่ 2,714 ท่านที่มีลูกวัย 3-8 ปีรวมกันอย่างน้อย 3,900 คน ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย  ผลการศึกษาดังกล่าวได้เผยถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเซ็นเซอร์ข้อมูล แรงจูงใจ และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีของเด็ก ๆ

Sarah Pinel กรรมการฝ่ายการตลาดและปฏิบัติการบริษัท Tekkie Help บริษัทการสื่อสารและเทคโนโลยีในประเทศสิงคโปร์ มีคำแนะนำเกี่ยวกับการให้เด็ก ๆ ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดังนี้

เลือกแอพพลิเคชั่นคุณภาพ

การเลือกแอพพลิเคชั่นให้ลูกใช้เป็นสิ่งสำคัญมาก คุณควรเลือกแอพที่เหมาะกับนิสัยของลูก ที่ลูกชอบ และเป็นแอพที่ช่วยเสริมจุดเด่นและศักยภาพ เพื่อให้แอพเป็นตัวช่วยเปิดโลกทัศน์ของลูกเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ

ณ จุดนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรมีเวลาได้ทดลองเล่นแอพต่าง ๆ ก่อนที่จะให้ลูกได้เล่น ลองดูแอพหลาย ๆ แนว ทั้งแอพนิทาน เพลง การออกเสียง เลข การเล่นสมมุติ ศิลปะ ฯลฯ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณควรมีส่วนร่วมในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของลูก

มีส่วนร่วม

ให้เวลามีส่วนร่วมในการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ กับลูก คอยดูลูกเวลาลูกเข้าเว็บไซต์และแอพต่าง  ๆ

ถามคำถามว่าลูกคิดยังไงกับสิ่งต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และช่วยให้เด็กได้พัฒนาการคิดวิเคราะห์ ถ้าลูกติดอยู่ที่การใช้หรือเล่นเกมระดับเดิมนาน ๆ ให้เข้าไปสอบถามปัญหาและช่วยลูกบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เป็นตัวอย่างที่ดี

ความคิดและพฤติกรรมของคุณในการใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตต่าง ๆ ส่งผลต่อลูกอย่างมาก หากคุณพ่อคุณแม่ใช้มือถือเกือบตลอดเวลา และเสพติดการใช้อุปกรณ์เหล่านี้มากจนแทบไม่มีเวลาเชื่อมสัมพันธ์กับลูก ๆ หรือทำให้กระทบการสื่อสารระหว่างกันก็จะส่งผลเสียต่อเด็ก ๆ มาก

ก่อนจะตอบอีเมลหรือส่งข้อความทางมือถือ หากลูกนั่งข้าง ๆ ลองคิดสักนิดว่าหากคุณหยุดกิจกรรมที่กำลังทำกับลูกเพื่อแวะมาตอบไลน์เพื่อนจะเป็นการแสดงตัวอย่างที่ไม่ดีกับลูกรึเปล่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ่านต่อหน้าถัดไป >>>

นอกจากคำแนะนำจาก Sarah แล้ว เรายังมีคำแนะนำในการให้ลูกใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ดังนี้

  • จำกัดการใช้งานที่ครึ่งถึง 1 ชั่วโมง
  • ทำให้การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และการทำกิจกรรมอื่น ๆ มีความสมดุลกัน เช่นให้ลูกออกไปเล่นนอกบ้าน เดินเล่น หรืออ่านหนังสือด้วย
  • พยายามอย่าใช้อุปกรณ์สื่อสารดังกล่าวเป็นพี่เลี้ยงเด็ก เราเข้าใจว่าบางครั้งคุณก็ยุ่งกับอะไรต่อมิอะไรที่เข้ามาและอยากให้ลูกได้มีอะไรทำบ้าง การให้ลูกได้เล่นเกมหรือดูการ์ตูนทางสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตบ้างนาน ๆ ทีก็ไม่ผิดหรอก แต่อย่าให้มันบ่อยจนลูกติดมือถือละกัน
  • สอนให้ลูกใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอย่างปลอดภัย โดยคุณควรสอนเรื่องการเปิดเผยความเป็นส่วนตัว การแชร์ข้อมูล การเสียเงินออนไลน์ และการใช้วิจารณาญาณในการรับข่าวสาร
  • ให้ลูกได้พูดคุยเกี่ยวกับการใช้สมาร์ทโฟน และสนับสนุนให้ลูกถามคำถามเมื่อมีข้อสงสัย
  • สำหรับเด็กโต คุณควรมีกฎในการจำกัดเวลาใช้ และสิ่งที่เข้าไปดูได้และไม่ได้อย่างชัดเจน
  • หาข้อมูลว่าเนื้อหาใดที่ปลอดภัยและเหมาะกับเด็กอายุเท่าใด และดูว่ามือถือหรือแท็บเล็ตมีฟังก์ชั่นกำหนดการใช้งานสำหรับเด็กหรือไม่

ทำตัวให้รอบรู้เรื่องเทคโนโลยีเพื่อตามลูกให้ทัน

เทคโนโลยีคงไม่หายไปจากสังคมในเร็ววันแน่นอน เทคโนโลยีมีแต่จะพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ และชีวิตของลูกเราก็จะต้องอยู่กับมันมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นการจะใช้เทคโนโลยีให้มีประโยชน์โดยไม่ทำร้ายคนที่ใช้เป็นสิ่งสำคัญ คุณควรศึกษาข้อดีข้อเสียของการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทั้งการใช้แอพพลิชั่น ฟังก์ชั่น สังคมออนไลน์ และบริการต่าง ๆ

การศึกษาให้รอบด้านจะทำให้คุณตัดสินใจว่าลูกจะใช้อะไรได้บ้างได้ดียิ่งขึ้น สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเป็นอุปกรณ์ที่มีพลังมาก มีพลังที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ของลูก ให้ข้อมูล ให้การศึกษา ส่งเสริมจินตนาการ และพัฒนาความคิดเด็กได้ดี เมื่อได้ใช้อย่างเหมาะสม

แล้วคุณให้ลูกเล่นสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมากน้อยแค่ไหน? เชิญร่วมแชร์ความเห็นและข้อกังวลต่าง ๆ ได้ที่คอมเม้นท์ด้านล่างนี้เลย

ที่มา: Mashable

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team