โรคที่มากับหน้าร้อน โรคฮิตสำหรับเด็ก พ่อแม่ต้องระวังอย่าให้ลูกป่วย

โรคที่มากับหน้าร้อน โรคร้ายแรงที่พ่อแม่ต้องระวังโดยเฉพาะเด็กเล็ก โรคอันตรายสำหรับเด็กเป็นแล้วอาจถึงตายได้ โรคยอดฮิตที่ทำให้เด็กป่วยมีโรคอะไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคที่มากับหน้าร้อน โรคฮิตสำหรับเด็ก พ่อแม่ต้องระวังอย่าให้ลูกป่วย

ในช่วงหน้าร้อนที่อากาศร้อนจัดแบบนี้ มักจะทำให้เด็กป่วยง่ายทั้งที่เกิดจากอาหารการกิน มาจากสภาพอากาศ และมาจากพฤติกรรมของเด็ก สำหรับเด็กโตหน่อยในช่วงร้อนๆ แบบนี้ เด็กๆ ก็มักจะชวนกันไปเล่นน้ำตามลำพัง และชอบพากันไปเล่นไกลหูไกลตา พ่อแม่ก็ยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษด้วยค่ะ สำหรับเด็กเล็กให้ระมัดระวัง โรคที่มากับหน้าร้อน ดังต่อไปนี้

 

1.ไข้หวัดใหญ่

สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่พบมากในแระเทศไทย อีกทั้งยังเป็นโรคติดต่อที่ติดง่ายมากด้วย โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ได้ป่วยเป็นโรคนี้มักมีอาการรุนแรงได้มากกว่าในวัยอื่น และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย และรุนแรงกว่าเช่นกันค่ะ

วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ คือ ต้องไม่พาลูกน้อยไปเจออากาศที่เย็นจัด  แล้วเปลี่ยนเป็นเย็นจัดทันที เช่น จากที่อยู่อากาศร้อนๆ แล้วพาลูกลงไปเล่นน้ำในสระเลย ควรให้ลูกน้อยได้พักร่างกายให้ร่างกายค่อยๆ ปรับอุณหภูมิก่อนค่ะ

2.โรคผิวหนัง

เวลาที่อากาศร้อนๆ เหงื่อมักจะไหลออกมาก โดยเฉพาะตามข้อพับต่างๆ เช่น ซอกคอ ขาหนีย หรือรักแร้ ทำให้เมื่อมีเหงื่อออกมาก ๆ เสื้อผ้าที่ใส่ก็จะมีเปียก และทำให้อับชื้นได้ ก็ทำให้เกิดผดผื่นตามร่างกายได้ง่ายค่ะ หรือเด็กบางคนชอบวิ่งเล่นกลางแดดร้อน ๆ ร่างกายก็เกิดเหงื่อออกมา และไม่มีการทำความสะอาดร่างกายที่ดีพอก็อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดผดผื่นได้เช่นกันค่ะ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการถูกแดดเผาไหม้ จนเกิดอาการแสบร้อนกับผิวที่บอบบางของเด็กได้ค่ะ

วิธีป้องกันคือ พยายามอย่าให้ลูกวิ่งเล่นตามแดดจัดๆ และหาครีมกันแดดให้ลูกเพื่อป้องกันผิวไหม้ แต่สำหรับเด็กที่มีอาการแสบจากแดดเผา แนะนำให้พ่อแม่เอาผ้าเย็นมาประคบผิวค่ะก็จะทำให้อาการทุเลาลงได้ แต่สำหรับเด็กบางคนที่มีอาการแพ้เหงื่อแล้วมีผดผื่นขึ้นตามตัวอาจต้องพยายามอย่าให้ลูกเจออากาศร้อนมาก ๆ จนเหยื่อท่วมตัวเป็นเวลานานๆ ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคที่มากับหน้าร้อน

3.โรคอุจจาระร่วง

โรคนี้ไม่ใช่เกิดเฉพาะในเด็ก สำหรับผู้ใหญ่ก็ต้องระมัดระวังเช่นเดียวกันค่ะ เพราะโรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อหลายประเภททั้งแบคทีเรีย รวรัส และกลุ่มเชื้อโปรโตซัว ที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารนั่นเอง โดยเฉพาะอาหารที่เสี่ยงต่อการเน่าเสียได้ง่าย ลักษณะของโรคนี้ จะทำให้ลูกน้อยเกิดอาการท้วงร่วงอย่างรุนแรง จนทำให้ร่างกายขาดน้ำหากปล่อยไว้อาจมีอันตรายต่อชีวิตได้

วิธีป้องกันโรคอุจจาระร่วง พ่อแม่ควรพยายามให้ลูกกินอาหารร้อน ๆ หากเป็นอาหารที่เหลือกินให้แช่ตู้เย็นไว้อย่าทิ้งไว้ข้างนอกนานๆ ค่ะ แต่ถ้าลูกน้อยมีอาการท้องเสียมาก ๆ แนะนำให้ดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อชดเชยน้ำ หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที อย่าซื้ออย่ามาทานเองค่ะ

4.โรคอหิวาตกโรค

โรคอหิวาตกโรค เป็นโรคที่เกิดจากอาหารการกิน หรืออาจมาจากการดื่มน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรคปนเปื้อนเข้าไป โรคนี้จะมีอาการคล้ายๆ กับโรคอุจจาระร่วง แต่จะต่างกันตรงที่เด็กจะถ่ายอุจจาระเหลวคล้ายน้ำซาวข้าวครั้งละมากๆ ค่ะ แะไม่มีอาการปวดท้อง แต่จะมีอาการอาเจียน หิวน้ำ รู้สึกกระสับกระส่าย อ่อนเพลีย ตาลึกโหล ปัสสาวะน้อย ถ้าเป็นหนักมากๆ อาจถึงภาวะช็อค เนื่องจากร่างกายเสียน้ำมากเกินไปค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีป้องกันโรคอหิวาตกโรค เหมือนกับการป้องกันโรคอุจจาระร่วงค่ะ คือ ให้ลูกกินอาหารร้อนๆ หากเป็นอาหารที่เหลือกินให้แช่ตู้เย็นไว้อย่าทิ้งไว้ข้างนอกนานๆ อย่าลืมให้ลูกล้างมือก่อนทานข้าว หรือเอาของเข้าปากนะคะ

โรคหน้าร้อน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5.โรคพิษสุนัขบ้า

โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นสุนัขหรือแมวก็เกิดขึ้นได้ค่ะ หรือแม้กระทั่งลิง ชะนีกระรอก กระแต เป็นต้น เกิดได้ทั้งสัตว์เลี้ยง และสัตว์ที่อยู่ตามท้องถนน หากสัตว์เหล่านั้นไม่ได้รับวัคซีนป้องกันและได้รับเชื้อพิษสุนัขมา ซึ่งเด็กจะได้รับเชื้อพิษสนุกบ้าจากการกัด ข่วน หรือเลียบริเวณที่มีแผล เมื่อคนได้รับเชื้อแล้ว จะมีอาการปรากฏภายใน 15 – 60 วัน บางรายอาจน้อยกว่า 10 วันหรือนานเป็นปีที่สำคัญโรคนี้ยังไม่ยารักษา ใครเป็นแล้วตายทุกรายค่ะ พ่อแม่ต้องระวังกันมาก ๆ นะคะ

วิธีป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หากบ้านมีสัตว์เลี้ยงอย่าลืมพาน้อง ๆ ไปฉีดวัคซีนป้องกันไว้ด้วยนะคะ สำหรับเด็กเล็กหรือแม้แต่ผู้ใหญ่เอง อย่าเข้าไปเล่นกับสัตว์ที่มีอาการแปลกๆ หรือถ้าเป็นไปได้พยายามอย่าเล่นกับสัตว์จะดีที่สุดค่ะ

6.โรคอาหารเป็นพิษ

โรคนี้เป็นโรคที่พบบ่อยมาเช่นกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการกินอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารพิษที่เกิดจากเชื้อบิด เชื้อสแตปฟีโลคอกคัส และเชื้อบาซิลลัส ซึ่งพวกเชื้อเหล่านี้มักจะเป็นเชื้อที่ทนต่อความร้อนมาก ๆ พบมากในอาหารประเภทไส้กรอก กุนเชียง ข้าวผัดต่างๆ ถึงจะกินอาหารที่สุก หรือปรุง หรืออุ่นจนร้อนแล้ว แต่ส่วนผสมที่นำมาด้วยเกิดเน่าเสียก่อน ก็อาจทำให้เป็นพิษได้ สำหรับอาการอาหารเป็นพิษ คือ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เป็นไข้ หรือปวดเมื่อย อ่อนเพลีย รวมถึงท้องร่วง ดังนั้นพ่อแม่เห็นว่าลูกอาการไม่ดีควรพาไปพบแพทย์นะคะ

วิธีป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ คือ พ่อแม่ต้องพยายามดูว่าอาหารก่อนที่นำมาปรุงนั้นเน่าเสียหรือยัง มีกลิ่นบูดหรือเปล่า หรือดูจากสีที่เปลี่ยนไปก็ได้ หากเห็นว่าไม่ดีแล้วควรทิ้งไปเลย เพราะถ้านำมาปรุงต่อก็อาจทำให้ลูกน้อยป่วยได้ค่ะ

ที่มา: dmh

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

ตารางวัคซีน 2562 ตารางฉีดวัคซีน ตารางการให้วัคซีน 2019 พ่อแม่เช็คด่วน! Vaccine 2019 จากงานประชุมโรคติดเชื้อในเด็ก

ซื้อประกันให้ลูก ประกันสุขภาพเด็ก ตัวอย่างแผนประกันปี 2562 ประกันสุขภาพลูก ทำประกันให้ลูกที่ไหนดี?

พาลูกหาหมอฟันครั้งแรก พาลูกไปหาหมอ ตรวจสุขภาพทารก ฉีดวัคซีนทารก แม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Khunsiri