การรับมือกับปัญหาลูกชอบกรี๊ดในที่สาธารณะ พร้อมวิธีแก้

ขั้นตอนแรกของการรับมือกับปัญหาลูกชอบกรี๊ดในที่สาธารณะเช่นนี้คือ อย่าอาย นี่คือหนึ่งในพฤติกรรมของเด็กที่พ่อแม่ทุกคนขยาด แต่ต้องประสบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การรับมือกับปัญหาลูกชอบกรี๊ดในที่สาธารณะ พร้อมวิธีแก้

ลูกชอบกรี๊ดในที่สาธารณะ

ลองนึกภาพ คุณกับลูกอยู่กลางห้างสรรพสินค้าที่มีคนพลุกพล่าน จู่ ๆ เจ้าตัวเล็กก็เริ่มกรีดร้องโวยวาย ลงไปดิ้นพราด ๆ กับพื้นแบบไร้เหตุผล คุณยืนอยู่ตรงนั้น ทำอะไรไม่ถูกและรู้สึกอายอย่างยิ่ง คุณจะทำอย่างไรเมื่อคนที่เดินผ่านไปมาเริ่มหันมามอง และอาจจะกำลังตำหนิความสามารถในการเลี้ยงลูกของคุณอยู่ในใจ คุณจะวิ่งหนีหรือเปล่า? เรามาดู การรับมือกับปัญหาลูกชอบกรี๊ดในที่สาธารณะ พร้อมวิธีแก้ กันเลยค่ะ

เราแน่ใจว่าพ่อแม่หลายคนต้องเคยเจอเหตุการณ์ทำนองนี้มาแล้ว และไม่ใช่แค่ครั้งเดียว คำถามคือ เราจะแก้ปัญหานี้ยังไง? จะตะคอกใส่ลูก หรือตี ลูกที่ชอบกรี๊ดในที่สาธารณะ? จะคุยกับเขาดี ๆ จนเขาหยุดร้อง หรือจะลากเขาหนีสายตาผู้คนไปไกล ๆ ?

วิธีรับมือลูกชอบงอแง

ขั้นตอนแรก ของการรับมือกับปัญหา ลูกชอบกรี๊ดในที่สาธารณะ พร้อมวิธีแก้ เช่นนี้คือ อย่าอาย นี่คือหนึ่งในพฤติกรรมของเด็กที่พ่อแม่ทุกคนขยาด แต่ต้องประสบพบเจอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม้ว่าทางเลือก สุดท้ายจะดูไม่เลว แต่อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดสำหรับทุกสถานการณ์ เช่น ถ้าคุณกำลังต่อคิวจ่ายเงิน คุณคงวิ่งหนีไปดื้อ ๆ ไม่ได้ แต่ต้องพยายามแก้สถานการณ์ตรงนั้น

ลูกผู้ชาย ก็ร้องไห้ได้

เชื่อฉันเถอะค่ะ ฉันเป็นคนหนึ่งที่เคยประสบเหตุการณ์นี้ เมื่อลูกสาววัยสองขวบของฉันเริ่มร้องไห้อย่างเอาเป็นเอาตาย และลงไปดิ้นกับพื้น อย่าได้รู้สึกขายหน้า เพราะพ่อแม่ทุกคนต้องเคยประสบเหตุการณ์นี้ ไม่มีใครตำหนิคุณ ส่วนคนที่ไม่เคยเป็นพ่อแม่ก็ตำหนิคุณไม่ได้เหมือนกัน เพราะพวกเขาไม่เคยเจอเหตุการณ์ลูกกรี๊ดแบบที่คุณกำลังเจอ พยายามแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ดีที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเช่นนี้

หยุดดุด่าลูก

  1. เด็กยังไม่สามารถใช้การพูดเพื่อสื่อสาร บอกความต้องการได้ จึงแสดงออกด้วยท่าทางแทน
  2. เด็กไม่เข้าใจเหตุผล ว่าที่ถูกขัดใจ ไม่ทำตามใจเป็นเพราะอะไร
  3. เด็กเคยแสดงพฤติกรรม เช่นนี้แล้วได้สิ่งที่ต้องการ ได้รับตามใจ การปลอบ จึงทำซ้ำอีก

พ่อแม่หลายคนดุลูกเมื่อลูกกรี๊ดในที่สาธารณะ ซึ่งบอกได้เลยว่าเป็นการกระทำที่ผิดมหันต์ การดุด่าเด็กที่กำลังกรีดร้องแบบไร้สติ ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น จำไว้ว่าเด็กเล็กมักรู้สึกไม่ปลอดภัย และ พวกเขาต้องการความรักและความเอาใจใส่จากคุณ แทนที่จะดุด่า คุณลองพยายามเข้าใจความต้องการ ณ ขณะนั้นของเขา ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุของการกรีดร้อง เป็นไปได้ว่าคุณดันพาเขาไปเที่ยวห้างตอนที่เขาหิว ลองพยายามทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหาเท่าที่จะทำได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มีวิธีรับมืออย่างไร

พ่อแม่ที่ตีลูก ดุด่าลูก

  1. สอนให้เด็กพูดบอกความต้องการ อย่างสุภาพ จึงจะได้สิ่งที่ต้องการ หากเด็กพูดไม่คล่อง ก็ควรพูดเป็นตัวอย่าง ให้เด็กพูดตาม แล้วจึงให้สิ่งที่เด็กต้องการ
  2. อธิบายเหตุผลง่ายๆ ว่า ให้สิ่งนั้นไม่ได้เพราะอะไร
  3. หลังจากอธิบายเหตุผล ว่าทำหรือสิ่งนี้ไม่ได้ เพราะอะไร แต่มีสิ่งอื่นที่สามารถทำได้ หรือเล่นแทนได้ ทดแทน เป็นการเบียงเบนความสนใจ
  4. จัดสิ่งแวดล้อม ให้ไม่มีสิ่งที่กระตุ้นให้เด็กมีอามรณ์โกรธ เช่น หากเด็กอยากได้ของเล่น แล้วไม่สามารถให้ได้ ควรพาเด็กออกไปจากมุมของเล่นที่เด็กอยากได้ เพื่อลดสิ่งเร้าอารมณ์
  5. หากเด็กมีอารมณ์ ที่รุนแรง สอนเด็กให้รู้จักอารมณ์ตนเอง ว่า กำลังโกรธ / เสียใจ ผู้ปกครองควรให้เวลาเด็ก โดยการเงียบ และนั่งใกล้ๆ และสอนให้เด็กใจเย็นๆ อาจสอนให้ นับ 1-10 เพื่อ ควบคุมอารมณ์ หรือ ชวนพูดคุยช้าๆ เพื่อให้ผ่อนคลายความโกรธ
  6. เมื่อเด็กอารมณ์เย็นลงแล้วให้ชวนทำกิจกรรมอื่นแทน ไม่ควรกลับไปพูดซ้ำเรื่องเดิม หรือให้ของเด็กเป็นรางวัล
  7. ทั้งนี้ ไม่ควรกอดปลอบ โอ๋เด็ก เพราะจะเป็นการให้รางวัลเด็กที่ทำพฤติกรรม ไม่เหมาะสม แต่สามารถนั่งใกล้ๆ จับตัว ลูบ หรือกอด เพื่อสอนให้ค่อยใจเย็นๆ ลง ได้

ข้อ ดี ของการ กอดลูก ยิ่งกอดลูกลูกยิ่งฉลาด ยิ่งกอดลูกลูกยิ่งเป็นคนเก่ง

การปรับพฤติกรรม จะทำได้ผลดี เมื่อทุกคนในบ้าน มีแนวทางการปรับพฤติกรรมไปในทางเดียวกัน และ มีความสม่ำเสมอ การฝึกวินัย ฝึกการให้ช่วยเหลือตนเอง ฝึกควบคุมอารมณ์เมื่อไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เป็นส่วนหนึ่งของการเจริญเติบโตทางอารมณ์ และ สังคม เป็นพัฒนาการตามวัยที่ควรได้รับการฝึกตั้งแต่เด็ก และค่อยๆเพิ่มขึ้นตามวัย เพื่อให้เด็กจะได้เติบโต และ อยู่ในสังคมภายภาคหน้าได้อย่างมีความสุขค่ะ

พยายามทำให้ลูกสงบลงโดยการพูดกับลูกดี ๆ ถ้าวิธีนี้ยังไม่ได้ผล วิธีสุดท้ายก็คือ พาเขาไปยังที่ส่วนตัว อาจจะเป็นที่รถ หรือที่ ๆ ไม่พลุกพล่าน และคุยหาเหตุผล คุณต้องอธิบายให้ลูกฟังทันทีว่าคุณไม่ชอบพฤติกรรมเช่นนั้น เด็กจะได้เชื่อมโยงเหตุและผลเข้าด้วยกัน และจะไม่ทำซ้ำ อย่าหัวเราะหรือชมลูกว่าน่ารัก เพราะจะทำให้ลูกเข้าใจผิด และทำแบบเดิมซ้ำอีก

สุดท้าย เมื่อทุกอย่างสงบลง อย่าลืมบอกลูกว่าคุณรักเขา เพราะหลังจากเหตุการณ์ทั้งหมด เขาอาจรู้สึกกลัว ตกใจ และต้องการคนปลอบ แต่จำไว้ว่าอย่าโอ๋ลูกขณะที่เขากำลังกรีดร้อง เพราะจะทำให้เด็กเสียนิสัยได้ค่ะ

ที่มา : 1

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

100 คำคมรักลูก คำคมสอนลูก คำคมครอบครัว ให้ครอบครัวชื่นใจทุกวัน!

ความมั่นใจในตัวเองของลูกสาว จะลดตอนอายุแปดขวบ คุณช่วยอะไรลูกได้บ้าง?

https://dlibrary.childrenhospital.go.th

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team