หยุดลูกน้อยนำสิ่งของเข้าปาก

ลูกชอบเอาของเข้าปาก--เราจะป้องกันไม่ให้พวกลูกน้อยหยิบจับอะไรได้ก็เอาใส่ปากอย่างไรดี? หลักการง่าย ๆ เพียงแค่เข้าใจเหตุผลว่าทำไมลูกชอบเอาของเข้าปาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กเอาสิ่งของเข้าปาก

สำหรับเด็กวัยหัดเดิน โลกมันช่างกว้างใหญ่และน่าสนใจมาก พวกเขารู้สึกว่าโลกกำลังร้องเรียกให้พวกเขาไปสำรวจอยู่ ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงแล้วโลกของพวกเขาจะถูกจำกัดอยู่ในขอบเขตหนึ่งเท่านั้น แต่พวกเขาก็จะสำรวจในทุกสิ่งที่พวกเขาสามารถเข้าถึงและจับต้องได้ การ “นำสิ่งของเข้าปาก” นั้นเป็นวิธีการง่ายที่พวกเขาจะรับสัมผัสจากสิ่งของนั้น ๆ ได้ การสัมผัส การชิม การมองดูด้วยตา การดมกลิ่น…เหล่านี้เป็นวิธีที่เราใช้ในการสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวเรา แต่เด็กเล็ก ๆ หรือเด็กในวัยหัดเดินนั้นยังไม่สามารถเข้าใจการแยกแยะว่าประสาทสัมผัสใดควรใช้กับสิ่งใด

เหตุผลที่ทำให้เด็กมีการ “นำสิ่งของเข้าปาก”

นี่ไม่ใช่หลักการที่เป็นทางการแต่อย่างใด แต่เป็นสิ่งที่ฉันคิด ว่าการที่ลูกชอบเอาของเข้าปากมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนั้นคุณไม่ต้องตื่นกลัว

  • การงอกของฟัน: ในเด็กที่กำลังมีฟันงอกออกมา หากได้เคี้ยวหรือกัดบางอย่างจะช่วยให้พวกเขารู้สึกสบายและช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดจากฟันที่งอก
  • บรรเทาอาการทางอารมณ์: ในระยะนี้ การได้ดูดบางอย่างหมายถึงการมีชีวิตรอดสำหรับเขา เมื่อจุกนมเด็กและขวดนมไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในกิจวัตรประจำวันของเขาแล้ว พวกเขาจะมองหาสิ่งใหม่เพื่อเติมเต็มความว่างเปล่านี้

ลูกสาวของฉัน น้องขวัญข้าว รักจุกนมเด็กมาก น้องอายุได้เพียง 9 เดือน เมื่อฉันกำลังจะมีลูกคนที่ 3 ดังนั้น ก่อนถึงวันครบกำหนดประมาณ 2-3 สัปดาห์ เราตัดสินใจว่ามันถึงเวลาสำหรับขวัญข้าวแล้วที่ต้องหย่าจากจุกนม น้องไม่แฮปปี้เลยแต่ก็ไม่งอแงมากนัก และน้องก็ได้เลือกให้ “น้องหมีใบตอง” เป็นพี่เลี้ยงและเริ่มดูดหัวน้องหมีแทน และน้องขวัญข้าวจะมีหัวของน้องหมีใบตองในปากและตัวของน้องหมีก็โผล่ออกมาข้างนอกในทุกที่ที่น้องขวัญข้าวเอาหัวน้องหมีเข้าปากไป ในขณะนั้น เราไม่ต้องคิดนานเลยว่าให้ลูกดูดจุกนมยังดีต่อฟันของลูกมากกว่าหัวน้องหมี จากนั้น เราก็ได้ให้ลูกดูดจุกนมต่อเป็นเวลา 2-3 เดือนจนกว่าน้องขวัญข้าวจะเลิกชอบไปเอง

วิธีป้องกันลูกเอาของเข้าปาก หน้าถัดไป >>>

ปกป้องลูกจากการเอาสิ่งของเข้าปาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความจริงของสถานการณ์นี้คือ มีน้อยสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อหยุดลูกของคุณไม่ให้นำสิ่งของเข้าปาก แต่สิ่งที่คุณทำได้นั่นก็คือการปกป้องพวกเขาโดยการเอาสิ่งที่เป็นอันตรายต่าง ๆ ออกห่างจากเขาเสีย

  • คุณควรให้ลูกคนอื่น ๆ ที่โตแล้วเล่นของเล่นที่เป็นชิ้นเล็ก ๆ ในบริเวณที่ลูกน้อยของคุณเอื้อมไม่ถึง เช่น บนโต๊ะหรือบนเตียงนอนของพวกเขา และคุณควรตรวจเช็คว่าไม่มีชิ้นส่วนอุปกรณ์ใด ๆ หลุดออกมาให้เป็นอันตรายต่อลูกน้อย
  • หาสิ่งทดแทนให้เขาโดยใช้ของเล่นนุ่ม ๆ ตัวใหญ่พอที่เขาจะไม่สามารถยัดเข้าในปากได้ ของเล่นตัวใหญ่นี้จะช่วยให้เขายิ่งอยากจะเคี้ยวมากขึ้นและที่สำคัญไม่ทำให้เกิดอันตรายกับลูกของคุณ แม้กระทั่งขอบมุมของผ้าห่มก็สามารถเป็นที่เคี้ยวเล่นสำหรับเขาได้
  • เก็บสารพิษต่าง ๆ ไว้ในที่สูงหรือไว้ในตู้ที่ปิดสนิท
  • เก็บเงิน อุปกรณ์เย็บผ้า และสิ่งอื่น ๆ ที่คุณใช้ในการทำงานอดิเรกและงานบ้านทั่วไปให้พ้นมือลูกน้อย

หมายเหตุ: เก็บให้พ้นมือเด็กไม่ได้หมายความถึงบนเคาน์เตอร์ทำครัวหรือในลิ้นชัก เพราะเด็กในวัยนี้ไม่ได้เคี้ยวอย่างเดียว พวกเขาปีนป่ายด้วย

  • ให้ขนมขบเคี้ยวเล็ก ๆ น้อย ๆ กับลูกของคุณ ถึงแม้ว่าอาหารเป็นสิ่งน่าขบเคี้ยว แต่เด็กวัยหัดเดินนี้มักกัดกินคำใหญ่จนทำให้ไม่ปลอดภัยได้ ดังนั้น คุณควรคอยระวัง

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม้กระทั่งพ่อแม่ที่เก่งที่สุดหรือระแวดระวังมากที่สุดก็ไม่สามารถอยู่กับลูกน้อยได้ทุกเวลา เหตุการณ์ต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นได้ ฉะนั้น คุณจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมตลอดเวลา

หากลูกน้อยของคุณกินสารพิษบางอย่างเข้าไปหรือกลืนวัตถุที่ปิดกั้นการหายใจ เวลานี้จะกลายเป็นนาทีวิกฤติไปทันที คุณต้องรู้วิธีการที่จะช่วยชีวิตลูกของคุณหากจำเป็นหรือรู้ว่าต้องพาเขาไปแผนกฉุกเฉินทันที หากลูกน้อยของคุณยังสามารถหายใจได้อยู่และคุณรู้ว่าเขากลืนอะไรลงไป โทรศัพท์หาแผนกฉุกเฉิน กุมารแพทย์หรือศูนย์ควบคุมสารพิษ เพื่อขอคำแนะนำว่าต้องปฏิบัติเช่นไร ซึ่งอาจเป็นอันตรายเป็นพิเศษหากลูกน้อยของคุณกินบางอย่างที่มีผลต่อกระแสเลือด

นอกเหนือจากการปฏิบัติข้างต้นแล้ว ตัวคุณเองต้องมีสติและอย่าทำร้ายตัวเอง เพราะลูกของคุณจะซึมซับพฤติกรรมของคุณและทำตามในที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Thailand Team