ลูกชายถูกรังแก พ่อแม่ควรสอนให้ลูกสู้หรือปกป้องลูกอย่างไร?

คงน่าตกใจไม่น้อยเมื่อลูกเข้าโรงเรียนแล้วพบว่า ลูกกลายเป็นด็กเงียบไม่ยอมพูดจาหรือสดใสเหมือนเคย หรือบางวันอาจจะเจอลูกกลับมาพร้อมร่างกายฟกช้ำ เสื้อผ้าเลอะเทอเปรอะเปื้อน อาจเป็นได้ว่า ลูกชายถูกรังแก หรือกำลังโดนกลั่นแกล้งจากเพื่อน ๆ หรือเปล่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มีผลการสำรวจนักเรียนในชั้นประถมและมัธยมประมาณ 3,000 คนทั่วประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2549* พบว่า เด็กผู้ชายจะถูกรังแกมากกว่าเด็กผู้หญิง เมื่อ ลูกชายถูกรังแก พ่อแม่จะแก้และรับมืออย่างไร

รูปแบบที่เด็กผู้ชายมักถูกรังแก มักจะเกิดจาก

  • การว่าร้ายด้วยคำพูด ทั้งการพูดแซว การล้อชื่อ การเยาะเย้ย หรือการข่มขู่
  • การทะเลาะชกต่อย การขัดขา การผลัก หรือการแย่ง ทำลายข้าวของของคนอื่น
  • การสร้างความอับอายให้ในที่สาธารณะ

ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเด็กที่ถูกรังแกจะไม่กล้าเล่าให้พ่อแม่หรือครูฟัง กลัวจะถูกมองว่าเป็นเด็กขี้ฟ้อง และไม่อยากที่จะไปโรงเรียน

9 สัญญาณที่บ่งบอกว่า ลูกชายถูกรังแก

  • กลับมาบ้านพร้อมกับแผลฟกช้ำหรือบาดเจ็บทางร่างกาย และไม่ยอมบอกพ่อแม่ว่าเกิดอะไรขึ้น
  • แกล้งป่วยหรือบ่นว่าปวดหัว หรือปวดท้องบ่อยๆ เพื่อที่จะเลี่ยงไม่ไปโรงเรียน
  • หลีกเลี่ยงการเข้าสังคมหรือไม่อยากที่จะไปร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ
  • ฝันร้ายหรือนอนหลับยาก
  • รู้สึกซึมเศร้าและความนับถือในตัวเองลดลง
  • ถอยห่างจากกิจกรรมที่เคยชอบ
  • ไม่มีสมาธิกับการทำการบ้าน
  • โกหกเพื่อปกปิดความลับ
  • เปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร เช่น กินข้าวได้น้อยลง หรือไม่ยอมกินร่วมโต๊ะ

เมื่อลูกโดนชายรังแกมา พ่อแม่ควรสอนให้ลูกสู้หรือปกป้องลูกอย่างไร? อ่านหน้าถัดไปนะคะ >>

เมื่อลูกโดนกลั้นแกล้งถูกรังแกมา พ่อแม่ควรสอนให้ลูกสู้หรือปกป้องลูกอย่างไร?

#พุดคุยและรับฟัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ใช้เวลาฟังลูกเล่าของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้มากที่สุดและให้ความมั่นใจกับลูก แสดงความเห็นอกเห็นใจ และบอกลูกว่าการกลั่นแกล้งกันยังไงก็ไม่ใช่สิ่งที่ดี

#หาสาเหตุ

โดยอาจจะสอบถามถึงความสัมพันธ์ของลูกกับเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนหรือพูดคุยกับครูประจำชั้นเพื่อช่วยสอดส่องดูแลและหาทางแก้ไข

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#สอนให้ลูกอย่าใช้กำลังในการโต้ตอบหรือแก้ไขปัญหา

เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกและสอนถึงวิธีการตอบโต้โดยที่รู้จักระงับอารมณ์ เดินหนี และออกไปอยู่ห่าง ๆหรือมองหาผู้ใหญ่ที่น่าไว้ใจ หลายครั้งที่การกลั่นแกล้งนั้นถูกแก้ไขได้เมื่อเด็ก ๆ ลุกขึ้นมาสู้เพื่อตัวเอง

#ส่งเสริมกิจกรรมที่ลูกชอบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มองหากิจกรรมที่ลูกถนัดหรือมีความสามารถเป็นพิเศษ ส่งเสริมเพื่อสร้างให้เขามีความมั่นใจมากขึ้น สอนให้ลูกของคุณอยู่กับกลุ่มเพื่อนที่ไว้ใจได้ เด็กที่มั่นใจในตัวเองจะมีท่าทางที่ทำให้เด็กคนอื่นไม่กล้ารังแก

 หลังจากนี้คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้า หรือความนับถือในตัวเองที่ลดลง และถึงแม้ว่าลูกชายจะยังไม่เคยถูกรังแก การได้สอนให้ลูกมีความกล้าและช่วยเหลือคนอื่นดีกว่ายืนอยู่เฉยโดยที่ไม่ทำอะไรเลย เพราะเหมือนกับว่าเรากำลังกลั่นแกล้งคน ๆ นั้นด้วยเช่นกันนะคะ


*อ้างอิงข้อมูลจากโครงการส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองสุขภาพและสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว

credit content : www.thejoysofboys.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

พ่อแม่ไม่ควรพลาด 5 คำถามง่ายๆ เพื่อทำให้รู้จักรู้ใจลูกมากขึ้น

เผย 6 เคล็ดลับจากมหาลัยดังสู่การเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีมีที่ยืนในสังคม

บทความโดย

Napatsakorn .R