รักลูกให้หยุดถ่าย การถ่ายรูปลูกทุกอิริยาบทเป็นอันตรายกว่าที่คิด

บางคนก็อยากจะให้ลูกของตนมีชื่อเสียงเพื่อผลประโยชน์ต่างๆที่จะตามมา วันนี้เราจะพามาดูกันว่าการถ่ายรูปลูกนั้นมีอันตรายมากกว่าที่คิด รักลูกให้หยุดถ่าย

รักลูกให้หยุดถ่าย การถ่ายรูปลูกทุกอิริยาบทเป็นอันตรายกว่าที่คิด

ในยุคนี้ที่โซเชี่ยลมีเดียมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ผู้คนเริ่มเข้าถึงสื่อโซเชี่ยลมีเดียได้มากทุกคน พ่อแม่ผู้ปกครองเลยหันมาแชร์รูปหรือความทรงจำต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือรูปลูกที่คนหันมาแชร์กันบ่อยมากขึ้น ยิ่งถ้าลูกมีความน่ารักน่าชังก็อาจจะมีคนมาติดตาม กลายเป็นดาราเด็กไปเลยก็ได้ เนื่องจากความโด่งดังของกระแสดาราเด็กนั้นโด่งดังมากจนผู้ปกครองเอง บางคนก็อยากจะให้ลูกของตนมีชื่อเสียงเพื่อผลประโยชน์ต่างๆที่จะตามมา วันนี้เราจะพามาดูกันว่าการถ่ายรูปลูกนั้นมีอันตรายมากกว่าที่คิด คุณจะรู้ว่าทำไมเราถึงอยากจะแนะนำคุณว่า รักลูกให้หยุดถ่าย หยุดโพส

รักลูกให้หยุดถ่าย

การถ่ายรูปลูกโดยที่ลูกไม่อนุญาติถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

รัก ลูกให้หยุดถ่าย

ถึงแม้ว่าพ่อ แม่ ผู้ปกครอง จะไม่ได้คิดอะไรเวลาที่ถ่ายรูปลูก โดยไม่ได้คิดอะไรอาจจะเห็นว่าน่ารักดี หรือว่าตลกดี แต่เมื่อปี  2016 ที่ออสเตรเลีย เกิดการฟ้องร้องขึ้น เมื่อสาวอายุ 18 ฟ้องร้องพ่อแม่ที่ถ่ายรูปที่น่าอับอาย ของเธอลงเฟซบุ๊ค หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับน้องคนหนึ่ง ที่คุณแม่ตามถ่ายรูปลูกในทุกอิริยาบทแถมโพสแคปชั่นด้วยข้อความที่ล่อแหลม ทำให้มีคนมาล่วงละเมิดทางเพศทางคำพูดในกล่องคอมเม้นท์ ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์มากมายในสังคมออนไลน์ ภาพที่ออกไปพ่อแม่อาจจะเห็นว่าน่ารัก แต่สำหรับเด็กหลายคน การที่รูปนั้นจะต้องอยู่กับเขาไปจนถึงตอนโตอาจจะทำให้เขารู้สึกแย่ ลำบากใจ หรือ อับอาย รวมถึงการที่ผู้ปกครองตามถ่ายชีวิตของลูกในทุกอิริยาบท อาจทำให้ลูกไม่มีเวลาเป็นส่วนตัว และไม่ได้มีชีวิตเหมือนเด็กทั่วไปควรจะเป็น ประเทศไทยยังมี พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 โดยนำหลักอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) ที่ประเทศไทยร่วมเป็นภาคีตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 มาบัญญัติไว้ในกฎหมายซึ่งก็มีการระบุโทษแห่งการกระทำผิดหรือการละเมิดสิทธิไว้อย่างชัดเจนอีกด้วย

การโพสต์อาจนำอันตรายมาให้ลูก

รักลูก ให้หยุดถ่าย

การนำรูปของลูกไปเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต นั้นทำให้คนจำนวนมากที่มีหลายที่มา หลายพื้นเพ สามารถมาเห็นรูปของลูกได้ เราไม่มีทางรูปเลยว่าจะมีใครที่คิดไม่ดีกับตัวลูกบ้าง

  • สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครอง พอจะเห็นได้ ก็อาจจะเป็นคอมเม้น ล่วงละเมิดทางเพศ ของกลุ่มคนที่มีรสนิยมทางเพศแบบแปลกๆ เช่น พวกชอบและรักใคร่เด็ก หรือที่เรียกกัน Pedophile ในฟิลิปปินส์พึ่งจะมีเคสที่น่ากลัวออกมาให้เห็น ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า เวลาที่ลงรูปลูกผู้ปกครองอาจจะงดการใช้แฮชแท็กที่คล้ายๆกัน เพราะมันเป็นการง่ายต่อการที่คนโรคจิตจะสามารถเข้าไปเสพรูปภาพเหล่านั้นได้ง่าย
  • ถ้าผู้ปกครองโพสต์รูปของลูกพร้อมกับบอกพิกัดไปด้วย ก็ยิ่งเป็นอันตรายเข้าไปใหญ่ เพราะในสังคมปัจจุบันการตามหาใคร การระบุตัวตนว่าอยู่ตรงไหนในโซเชี่ยลมีเดีย คงก็สามารถหาที่ที่เราโพสต์ได้ง่ายๆเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัสเท่านั้น การทำร้ายร่างกาย หรือการหยอกล้อจนเกินควรนั้นเกินขึ้นได้ไม่ยากเลย

อย่ารักชื่อเสียงมากกว่าลูก

รักลูกให้ หยุดถ่าย

อย่างที่เคยกล่าวไปข้างต้น มีผู้ปกครองหลายคนที่ใช้ลูกเป็นเหมือนสินค้า เพื่อหารายได้ หรือชื่อเสียงเข้ามาให้แก่ตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงการยินยอมของลูก เด็กบางคนอาจจะกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของคนในสังคมออนไลน์ โดยที่ตัวเขาเองยังไม่รู้ตัว เด็กบางคนอาจถูกผู้ปกครองทำให้กลายเป็นวัตถุทางเพศโดยไม่รู้ตัว เด็กเองเมื่อโตขึ้นอาจมีปัญหาบาดหมางกับเพื่อนหรือครอบครัว จากการกลั่นแกล้งอีกก็เป็นได้

ทำแต่พอดี

รักลูกให้หยุด ถ่าย

เราเชื่อว่าในยุคสังคมปัจจุบัน โซเชี่ยลมีเดียกลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตมาก สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรตระหนักอยู่เสมอว่า การกระทำอะไรก็แล้วควรทำแต่พอดี และ คิดถึงความปลอดภัยทั้งทางร่างกายและจิตใจของลูกน้อยเสมอ ในความคิดลูกพ่อ แม่ ผู้ปกครองเป็นเหมือนกับเกราะป้องกันภัยอันตรายต่างๆจากตัวเขา อย่าให้ตัวผู้ปกครองกลายเป็นผู้ที่ทำร้ายลูกซะเอง เราควรรักลูกสนับสนุนลูก ปกป้องลูก ให้ความรักแก่เขา ดูแลเขา มากกว่าที่จะทำร้ายเขาทางอ้อมไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม

เด็ก Gen Z ในยุคใหม่

มันเป็นสิ่งที่ดีไม่ใช่หรือ?

ผู้ปกครองบางท่านอาจจะวิตกกังวลว่าอุปกรณ์ไฮเทคอาจเป็นตัวกระตุ้นมากเกินไปสำหรับเด็กและเป็นสาเหตุให้เกิดการใช้ยาเสพติด ดังนั้นบรรดาผู้ปกครองทั้งหลาย  จึงพยายามให้เด็กอยู่ห่างจากคอมพิวเตอร์  แทปเล็ตรวมทั้งอุปกรณ์ไฮเทคทั้งหลาย แต่ผู้ปกครองอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับวิชาการใหม่ ๆ ว่าเปรียบเสมือนการเปิดโอกาสให้เด็กมีความคิดริเริ่ม

เด็กยุคไอแพด

คุณอาจเกิดความรู้สึกว่าเทคโนโลยีเปรียบเหมือนสายน้ำซึ่งไม่มีวันหยุดไหล ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม ลูกของคุณ  จะเติบโตเป็นคนยุคดิจิตัลตั้งแต่เกิด  การเติบโตมากับเทคโนโลยีที่มาพร้อมกับความถูกต้องเป็นข้อได้เปรียบสำหรับเด็กยุคไอแพดแน่นอน   แต่การมาพร้อมกับความถูกต้องไม่ได้เป็นเรื่องที่เชื่อถือได้มากมายเช่นกัน  ฉันเห็นด้วยกับเดวิด เอิลเค่น นักจิตวิทยาเด็กชาวอเมริกันที่กล่าวไว้ว่า “เด็กในยุคดิจิตัลจะพบกับความท้าทายที่แตกต่างไปจากยุคของเรา”

เด็กยุคไอแพ็ดกับวัฒนธรรมที่เร่งรีบ

เอิลเค่นกล่าวไว้ว่า วัฒนธรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นของเด็กยุคไอแพ็ดคือความเร็วที่กำลังจะเข้ามามีอิทธิพลเหนือสิ่งอื่นใด   อินเตอร์เน็ตมีความเร็วสูงขึ้นและสูงขึ้นตลอดเวลา และรวมถึงสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน เมื่อก่อนเราต้องใช้ความอดทนรอ  เวลาที่จะดาว์นโหลดและติดตั้งวีดีโอเกม  แต่เด็กรุ่นต่อไปจะกลายเป็นพวกที่ไม่มีความอดทนถ้าต้องใช้เวลารอมากกว่าเป็นวินาที  บรรดาผู้ปกครองจะเจอกับความท้าทายที่ต้องฝึกให้ลูก ๆ รู้จักการรอคอย

ผลกระทบอื่น ๆ จากวัฒนธรรมความเร็วที่ครอบงำนี้คือความตึงเครียดบีบคั้น เพราะไม่มีช่วงระยะเวลาหยุดเพื่อการพักผ่อน  เด็ก ๆ ถูกผลักดันให้ต้องมีประสิทธิภาพตลอดเวลา ทุกวันนี้เด็กนอนน้อย มีพลังน้อยและเล่นนอกบ้านน้อยลงด้วย เอิลเค่นเตือนว่า เด็กๆต้องการมีอิสระในการเล่น เพื่อสร้างสรรค์จินตนาการให้เหมาะสมกับพัฒนาการทางสมอง   เช่นเดียวกันผู้ปกครองก็ควรใคร่ครวญให้ถี่ถ้วน  ก่อนที่จะลงตารางเรียนของลูกด้วย

เด็กยุคไอแพ็ดกับการสื่อสาร

ด้านดีเกี่ยวกับสังคมยุคเทคโนโลยีก็คือ เด็กยุคไอแพ็ดสามารถรับข้อมูลข่าวสารแค่ปลายนิ้วสัมผัส บางทีคุณอาจได้เห็นกับตามาแล้วเวลาที่ลูกคุณเข้ายูทูบเพื่อค้นหาทำนองหรือรูปแบบที่แตกต่างของเพลงกล่อมสุดโปรดอย่างสบายอารมณ์  นี่เป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะว่าเด็ก ๆ เป็นพวกชอบการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ นอกจากนี้พวกเขาสามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างฉับไวจากทุกมุมโลก หากคุณมีครอบครัวอยู่ต่างประเทศก็นับว่าเป็นเรื่องดีเพราะพวกเขาไม่ต้องกลายเป็นคนแปลกหน้าของลูกคุณ  เพียงแต่พวกเขารู้วิธีการใช้สไกป์  กูเกิ้ลแฮงเอ้าท์ หรือวอทแซบบ์

อีกมุมมองหนี่งก็คือ มันมีอัตรายมากมายในโลกอินเตอร์เน็ต มีความผิดพลาดด้านข่าวสารมากมาย  รวมถึงสิ่งล่อใจเช่นการหลอกลวงแนะนำให้ใช้ยาเสพติด  เกมออนไลน์ และสิ่งลามก การคุกคามในโลกไซเบอร์เป็นมาตรฐานใหม่ อาจเป็นโชคร้ายที่บรรดาผู้ปกครองมองไม่เห็น

การเลี้ยงดูเด็กยุคไอแพ็ด

ในฐานะที่เป็นผู้ปกครองของเด็กยุคไอแพ็ด อย่ารีบร้อนที่จะคิดว่าคุณจะเลี้ยงดูลูกของคุณอย่างไร การหลีกเลี่ยงเทคโนโลยีทั้งหมดไม่ใช่คำตอบในเมื่อเด็กๆทั้งหลายต้องเป็นเด็กยุคดิจิตัลเพื่อความอยู่รอดในโลกแห่งอนาคต

แต่การเริ่มตั้งแต่ตอนนี้ บรรดาผู้ปกครองคงจะต้องกำหนดมาตรการว่าจะอนุญาตให้เด็กใช้อุปกรณ์ เช่น  ไอแพ็ดและสมาร์ทโฟนรวมถึงแอปต่างๆอย่างไร และวางกฏการใช้ว่า จะใช้อุปกรณ์เหล่านั้นได้บ่อยและนานแค่ไหน

Source : thaihealth, telegraph

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :

เห็นเด็กสำลักอาหาร ไม่มีใครช่วยเพราะมัวแต่ถ่ายรูป

ช่วงเวลาที่อยากกรีดร้อง ตอนไหนบ้างที่แม่รู้สึกว่าคิดผิดที่มีลูก

พ่อแม่ “ต้องรู้” สิ่งที่เปลี่ยนไป เมื่อลูกถูกล่วงละเมิด

บทความโดย

Jitawat Jansuwan