จริงจังแค่ไหนที่คิดจะสูบบุหรี่ในช่วงให้นมลูก

สำหรับผู้หญิงที่กลายมาเป็นแม่นั้นควรคิดให้รอบคอบทั้งในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด เพราะผลจากการกระทำของคุณแม่ส่วนใหญ่ล้วนส่งผลต่อลูกน้อยทั้งสิ้น แม่ท้องที่สูบบุหรี่จะมีผลกระทบต่อลูกในครรภ์สูงมาก และหลังคลอดการที่ทารกได้รับควันบุหรี่มือสองจากคุณแม่นั้นลูกจะปลอดภัยแค่ไหนมาดูคำตอบได้ที่นี่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ถึงแม้ว่าอันตรายจากสารพิษที่ แม่สูบบุหรี่ ในช่วงให้นมลูกจะส่งผลกระทบต่อลูกที่กินนมแม่น้อย แต่เมื่อเทียบกับการที่ลูกได้รับควันบุหรี่มือสองในขณะดูดนมจากแม่ด้วยนั้นมันถือเป็นอันตรายที่ควรต้องให้ทารกหลีกเลี่ยง!!

มีหลายงานวิจัยและการศึกษาที่มีการยืนยันว่าการสูบบุหรี่ที่นอกจากไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพแล้วนั้น แม่ที่สูบบุหรี่ในขณะให้นมลูกไปด้วยก็จะส่งผลให้ทารกได้รับควันบุหรี่ด้วย ถึงแม้ว่านมแม่ที่จะมีภูมิคุ้มกันดีที่สุดก็ตาม แต่ก็ไม่หมายความว่าจะปกป้องสุขภาพของลูกจากควันบุหรี่ไปได้

แม่สูบบุหรี่-01

แม่ที่สูบบุหรี่ในระหว่างให้นมมีผลต่อทารกแค่ไหน

  • ทารกอาจจะมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกผลกระทบจากการติดเชื้อที่หู ติดเชื้อไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ เป็นปอดบวม โรคหอบหืด และเกิดการระคายเคืองตาได้
  • แม่สูบบุหรี่อาจทำให้ทารกมีความเสี่ยงสูงของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ได้
  • แม่ที่สูบบุหรี่จัดยังส่งผลให้ลูกน้อยมีอาการบางอย่าง เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ และอาเจียนได้
  • แม่ที่สูบบุหรี่ในระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนม ส่งผลให้ทารกมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอด หรือมีแนวโน้มที่จะสูบบุหรี่เองในอนาคตได้
  • การที่ลูกน้อยได้สัมผัสควันบุหรี่ไปเรื่อย ๆ จะทำให้ทารกมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้

นอกจากผลกระทบที่ลูกได้รับขณะที่แม่สูบบุหรี่แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวแม่แน่นอนว่าเป็นเรื่องของสุขภาพแล้ว การสูบบุหรี่อาจจะทำให้ระดับของฮอร์โมนโปรแลคตินในร่างกายของแม่ลดลง และลดการผลิตของน้ำนม นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการขาดไอโอดีนในน้ำนมลงได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่สูบบุหรี่-02

ผลของการสูบบุหรี่ในระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นจะส่งผลกระทบต่อทั้งแม่และลูกน้อยเป็นอย่างมาก เพื่อลดความเสี่ยงที่ทารกจะได้รับควันบุหรี่มือสอง สิ่งที่แม่ควรทำคือ

  • หยุดสูบบุหรี่ให้ได้อย่างเด็ดขาดในระหว่างเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และถ้าเป็นไปไม่ได้ก็ไม่ควรจะสูบบุหรี่ในช่วงก่อนหรือในขณะที่ให้นมลูก
  • เพื่อลดความเสี่ยงในการได้ลูกน้อยจะได้รับนิโคตินผ่านทางน้ำนมแม่ คุณแม่ที่ตั้งใจให้ลูกกินนมแม่ควรเลิกสูบบุหรี่หรือลดจำนวนการสูบบุหรี่ต่อวันลงให้น้อยที่สุด
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ในณะที่อยู่ในห้องเดียวกับลูกน้อย หรือออกไปสูบข้างนอกให้ห่างไกลจากทารกน้อย เพื่อลดความเสี่ยงที่ทารกจะได้รับควันบุหรี่มือสองจากแม่

ถ้าหากคุณแม่พยายามและมีความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ หรือรู้สึกว่ากำลังติดยาเสพติดอย่างจริงจัง ทางออกที่ดีคือการพูดคุยหรือปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำได้นะคะ หลังคลอดลูกแล้วสามารถสูบบุหรี่ได้หรือไม่ ลูกโตแล้วพ่อแม่สูบบุหรี่ใกล้ๆลูกได้หรือไม่? คำถามเหล่านี้มักจะได้ยินเป็นประจำค่ะ ว่าคุณแม่ที่ตอนนี้ไม่ได้ท้องสูบบุหรี่ใกล้ๆลูกจะมีผลเสียหรือไม่ ตรงนี้ขอบอกไว้เลยค่ะว่าการที่คุณสูบบุหรี่เมื่ออยู่ใกล้ๆลูก ซึ่งทำให้ลูกได้กลิ่นไปด้วยจะมีผลเสียพอๆกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แล้วสูบบุหรี่ไปด้วยเลยค่ะ ถ้าหากคุณสูบบุหรี่ใกล้ๆลูกของคุณที่เป็นเด็กวัยหัดเดินหรือใกล้กับเด็กคนอื่นๆที่อยู่บริเวณใกล้เคียงพอที่จะสูดกลิ่นควันนั้นได้ เด็กเหล่านั้นจะมีความเสี่ยงเรื่องน้ำหนักที่ต่ำกว่ามาตรฐานได้ในอนาคต มีผลเสียเหมือนกับเด็กทารกที่อยู่ในครรภ์แม่ที่สูบบุหรี่ตอนตั้งครรภ์ เด็กที่คลอดออกมาจะมีน้ำหนักน้อยและอาจคลอดก่อนกำหนดได้เช่นกัน มีผลวิจัยพบว่า เด็กในปัจจุบันจะมีร่างกายที่ไม่แข็งแรงตามวัยที่ควรจะเป็น ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยออกกำลังกายให้แข็งแรง และเด็กส่วนมากเหล่านี้จะอาศัยอยู่กับครอบครัวที่มีผู้สูบบุหรี่ถึงร้อยละ 40 เปอร์เซ็นต์ของเด็กทั่วโลกเลยที่เดียวค่ะ เด็กที่มีอายุตั้งแต่ แรกเกิด-10 ปี ถ้าอาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีผู้สูบบุหรี่ จะทำให้ การทำงานของระบบประสาททำงานได้ไม่ดี เจริญเติบโตช้า และระบบประสาทบางส่วนอาจเกิดความเสียหาย จนทำให้เด็กสูญเสียพัฒนาการบางอย่าง เพียงแค่ได้สูดควันและได้กลิ่นของบุหรี่เข้าไปเพียงแค่วันละ 2-3  ครั้งเท่านั้น ดังนั้น ครอบครัวไหนที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปีควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ในบ้าน หรือ สูบบุหรี่ใกล้ๆเด็กโดยเด็ดขาด เพราะอาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อร่างกายของเด็กในอนาคตได้ค่ะ

ควันบุหรี่มือสอง อันตรายต่อคนใกล้ตัว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกเกิดมาเพื่อดื่มนมแม่  

แม่สูบบุหรี่ เป็นต้นเหตุของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดอื่น ๆ รวมถึงเส้นเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก การที่คนไม่ได้สูบบุหรี่ได้รับควันเข้าไป ก็จะทำให้เกิดโทษเหมือนกับคนที่สูบบุหรี่ได้เช่นกัน วันนี้เรามีข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับอันตรายของควันบุหรี่มือสองที่จะส่งผลต่อคนรอบข้างมาบอกเล่าให้ฟังกันค่ะ

ควันบุหรี่เป็นอันตรายไม่ว่าจะเป็นผู้ที่สูบหรือไม่ได้สูบบุหรี่ก็ตาม เพราะในควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีอันตรายหลายชนิด ซึ่งเมื่อสูดดมควันบุหรี่เป็นประจำอาจเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคปอด โรคมะเร็ง เป็นต้น สารพิษจากควันบุหรี่มือสองที่ผู้ใกล้ชิด หรือผู้ที่อยู่รอบข้างสูดดมเข้าไปจะอันตรายกว่าผู้สูบบุหรี่โดยตรง เพราะเป็นควันบุหรี่ที่ออกมาทางปลายมวนที่ติดไฟจะไม่ผ่านสารตัวกรองอะไรทั้งนั้นซึ่งในส่วนนี้เองจะมีสารพิษค่อนข้างมาก ควันบุหรี่เกิดได้จากสองแหล่งด้วยกัน คือ ควันบุหรี่ที่ผู้สูบพ่นออกมา และควันที่ลอยจากตอนปลายมวนบุหรี่ ควันบุหรี่เหล่านี้อันตราย ถึงแม้ตัวเองจะไม่ได้เป็นผู้สูบโดยตรงก็ตาม แต่ก็จะทำให้เกิดความระคายเคืองต่อ ตา จมูก คอ ส่งผลให้เกิดการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบ ภูมิแพ้ อาจทำให้กำเริบได้

อันตรายจากควันบุหรี่มือสองต่อกลุ่มคนต่าง ๆ
หญิงมีครรภ์และเด็กทารก
– มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์และคลอดบุตร โดยอาจมีอาการครรภ์เป็นพิษ แท้ง คลอดก่อนกำหนด และเกิดอาการไหลตายในเด็กสูงขึ้น
– มีความเสี่ยงที่ทารกแรกคลอดจะมีน้ำหนักตัวและความยาวน้อยกว่าปกติ  พัฒนาการทางสมองช้ากว่าปกติ และอาจมีความผิดปกติทางระบบประสาท และระบบความจำ
เด็กเล็ก
– ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบและปอดบวมสูงกว่าเด็กทั่วไป
– มีอัตราการเกิดโรคหืดเพิ่มขึ้น
– เกิดการติดเชื้อของหูส่วนกลางในระยะยาว
– เด็กที่ได้รับควันบุหรี่มือสองจะมีพัฒนาการของปอดน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้รับควันบุหรี่
ผู้ใหญ่
– เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
– เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด
– เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งที่ลำคอมากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ 3 เท่า
– เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งอื่นๆ มากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า
– ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบหลอดเลือดหัวใจทันทีที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง      

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลีกเลี่ยงควันบุหรี่มือสองอย่างไรดี
สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ ควรตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับคนในครอบครัว ไม่ควรสูบบุหรี่ภายในบ้าน เปลี่ยนเสื้อผ้าและล้างมือที่อาจปนเปื้อนสารเคมีจากควันบุหรี่ก่อนสัมผัสหรืออุ้มเด็กและทารก ทางที่ดีที่สุดในการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากควันบุหรี่ คือหลีกเลี่ยงสถานที่ ๆ มีควันบุหรี่ และไม่อยู่ในบริเวณเขตสูบบุหรี่ ซึ่งจะช่วยให้คุณมีสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

ระโยชน์ของนมแม่ต่อลูกและแม่มีดังนี้

แม่สูบบุหรี่-03

– จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่าทารกที่ดื่มนมแม่อย่างเดียวเป็นเวลานาน 6 เดือน  จะมีปัญหาน้อยลงเกี่ยวกับหูอักเสบ  ท้องเดิน  โรคทางเดินหายใจ  และปัญหาเรื่องเด็กอ้วน

– การให้นมแม่ช่วยยืดระยะการมีประจำเดือนและยืดระยะการตั้งครรภ์ถัดไป

– การให้นมแม่  ลดอุบัติการณ์เกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ในแม่

– การให้นมแม่  ช่วยเพิ่มความสัมพันธ์แนบแน่นระหว่างแม่กับลูก

– การให้นมแม่ทำให้ทำให้แม่มีความมั่นใจและภาคภูมิใจตนเองในการเลี้ยงลูก

ผลดีของการให้นมแม่ต่อครอบครัว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

– ประหยัดค่าซื้อนมหลายพันบาท(อาจถีงหมื่น)
– ลดค่าใช้จ่ายจากความไม่สบายของเด็กจากการให้นมขวด
– เป็นการสร้างสุขภาพให้ชุมชน

เคล็ดลับการเริ่มต้นให้นมแม่ที่ราบรื่น

1. ให้แม่ศึกษาการให้นมแม่ตั้งแต่เมื่อตั้งครรภ์เพื่อให้ทราบว่าควรจะเริ่มต้นทำอย่างไรตั้งแต่ครั้งแรกที่มีลูกเข้าสู่อ้อมกอดแม่

2. ฝากครรภ์สม่ำเสมอเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด

3. ขณะฝากครรภ์ควรบอกแพทย์ด้วยถ้าเคยมีการผ่าตัดหรืออุบัติเหตุที่เต้านม  หรือมีหัวนมสั้น/หัวนมบอด  เพื่อหาวิธีแก้ไข

4. คุยกับเพื่อนหรือญาติที่เคยให้นมลูกว่ามีปัญหาและวิธีแก้อย่างไรบ้าง  หรือเข้า class support group เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

5. เริ่มให้นมแม่เร็วที่สุดนับตั้งแต่หลังคลอด  เพราะหลังคลอดใหม่ ๆ ลูกมีสัญชาติญาณการดูดที่ดีมาก

6. หลังคลอดให้ลูกนอนอยู่ในห้องเดียวกับแม่ตลอดเวลา  เพื่อสามารถดูดนมแม่ได้บ่อยเท่าที่ต้องการและได้เรียนรู้กันและกัน

7. ถ้าลูกถูกเลี้ยงอยู่ในห้องเด็กอ่อน  ควรบอกพยาบาลว่าต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  และไม่ต้องการให้นมวัวกับลูก  บอกให้นำลูกมา หรือเรียกแม่ไปให้นมลูกทุกครั้งที่ลูกต้องการ

8. การให้ลูกดูดนมไม่ควรจะเจ็บมาก  ถ้ามีอาการเจ็บมากควรต้องร้องขอความช่วยเหลือแนะนำจากพยาบาลและแพทย์

9. ให้นมแม่ตามความต้องการของลูก  ทารกทั่ว ๆ ไปต้องการดูดนม 8-12 ครั้งต่อ 24 ช.ม.

10. การให้นมแม่เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้กันไปและปรับตัวเข้าหากัน

ข้อมูลจาก :vibhavadi, quitforbetterlifesmokefreezone, Prudential 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ระวัง! ลูกอาจป่วยเป็นโรคปอดอักเสบเพราะบุหรี่มือสอง
คุณสูบ ลูกสูบ…มหันตภัยจากบุหรี่ ร้ายกว่าที่คิด

บทความโดย

Napatsakorn .R