แม่ท้อง ท้องเล็ก แปลว่าลูกตัวเล็ก และไม่สมบูรณ์ จริงเหรอ??

ท้องเล็ก แปลว่าลูกตัวเล็กและไม่สมบูรณ์ จริงเหรอ??

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การที่ แม่ท้อง ท้องเล็ก ไม่ได้มีเหตุผลมาจากแค่รูปร่างของคุณแม่ หรือขนาดตัวของลูกเท่านั้น แต่การที่คุณแม่ท้องเล็ก (กว่าที่คิด) มันมีที่มาค่ะ และไม่ได้แปลว่า ท้องเล็ก ๆ ของ แม่ท้อง จะไม่สมบูรณ์เสมอไป

ส่วนสาเหตุที่ทำให้ แม่ท้อง ท้องเล็ก มีอะไรบ้าง ไปอ่านกันค่ะ

 

ปัจจัยที่ทำให้ท้องเล็กมีอะไรบ้าง?

1. รูปร่างของแม่

หากคุณแม่เป็นคนรูปร่างเล็กอยู่แล้วจึงไม่แปลกที่ช่วงแรก ๆ ของการตั้งท้องหรือไปจนถึงใกล้คลอด ขนาดของท้องจะไม่ดูใหญ่โตมโหฬารเท่ากับแม่คนอื่นค่ะ

2. อายุของแม่

หากคุณแม่ตั้งท้องตอนอายุน้อย โดยเฉลี่ยน้ำหนักตัวลูกในท้องมักจะน้อยกว่าปรกติเล็กน้อย จึงอาจทำให้ท้องดูไม่ใหญ่เท่าที่ควร

3. จำนวนครรภ์

ถ้าคุณแม่ตั้งท้องครั้งแรก ท้องก็จะดูไม่ใหญ่ เพราะกล้ามเนื้อหน้าท้องยังไม่ได้ผ่านการยืดขยายมาก ๆ ระยะเวลานาน ๆ จากการตั้งท้องจึงทำให้ท้องดูเล็ก ระยะแรกของการตั้งท้องถ้าไม่สังเกตอาจไม่รู้ว่าท้องด้วยซ้ำ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. ความกระชับ แข็งแรงของกล้ามเนื้อท้อง

หากคุณแม่เป็นสาวรักสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กล้ามท้องกระชับ แข็งแรงมี 6 แพ็คให้เห็นรำไรตั้งแต่ก่อนตั้งท้อง ก็ทำให้คนที่ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญสังเกตขนาดท้อง และเดาอายุครรภ์ได้ยาก ทำให้ดูท้องเล็กกว่าคุณแม่คนอื่น ๆ ได้

ทำไงให้ครรภ์นี้สมบูรณ์

คุณแม่ที่เข้าข่าย 1 ใน 4 ข้อนี้ และดูแลครรภ์เป็นอย่างดี กินอาหาดี ๆ มีประโยชน์ได้ครบทั้ง 5 หมู่ พักผ่อนอย่างเพียงพอ ฝากครรภ์เรียบร้อย ไปพบคุณหมอตรงตามนัดทุกครั้ง ให้คุณหมอได้ตรวจอายุครรภ์ซึ่งโดยปรกติจะใช้การวัดระดับยอดมดลูกจากสายวัด ดูพัฒนาการของเด็ก ตรวจดูขนาดและการทำงานของรก หากผลออกมาว่าอยู่ในเกณฑ์ปรกติ คุณหมอไม่ได้มีความเห็นว่า เกิดความผิดปรกติกับลูกในท้อง หรือกับร่างกายของแม่เอง หรือมีภาวะเสี่ยงแท้งใด ๆ จนต้องนอนโรงพยาบาล ก็สบายใจได้ไม่ต้องกังวลกับขนาดท้องที่อาจดูไม่ใหญ่เท่าแม่คนอื่น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท้องแรก ท้องเล็ก

 

แต่หากยังไม่สบายใจกลัวว่าลูกในท้องจะมีพัฒนาการไม่เป็นไปตามวัย ก็สามารถใช้วิธีการตรวจอัลตร้าซาวด์ดูความผิดปรกติ ที่อาจเกิดขึ้นกับลูกในท้องได้ ซึ่งเป็นการตรวจที่ปลอดภัย ตรวจซ้ำได้บ่อย โดยไม่มีอันตรายต่อแม่ และลูกในท้อง ที่สำคัญเทคโนโลยีสมัยใหญ่พัฒนาให้อัลตร้าซาวด์เห็นภาพได้ถึง 4 มิติ เรื่องของคุณภาพความคมชัดถือได้ว่าแจ่มแจ๋วสุด ๆ จะได้สบายใจ หากใครมาทักว่าท้องเล็กก็จะได้เลิกตกอกตกใจ เลิกนอยด์ และภูมิใจได้เลยว่าคุณแม่ฟิตหุ่นมาดีดูแลตัวเอง และลูกในท้องได้อย่างเพอร์เฟ็กค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะท้องเล็ก ท้องใหญ่ หรือขนาดครรภ์ของคุณแม่เป็นแบบไหน การบำรุงครรภ์ก็เป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้ลูกน้อย ๆ แข็งแรง แม้ว่าท้องของคุณแม่จะไม่ได้มีพื้นที่กว้างขวาง แต่ก็อย่าลืมดูแลครรภ์ด้วยวิธีเหล่านี้นะคะ

บทความ : วิธีดูแลลูกในท้องให้แข็งแรง การดูแลทารกในครรภ์ บำรุงครรภ์ คนท้องดูแลตัวเอง อย่างไร

วิธีดูแลลูกในท้องให้แข็งแรงต้องทำอย่างไรบ้าง

  • ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ วิธีดูแลลูกในท้องอย่างแรกต้องฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ จะได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายของคุณแม่และทารกอย่างละเอียด ตั้งแต่เรื่องโรคประจำตัว ตรวจขนาดของมดลูก ซักประวัติการขาดประจำเดือน หรือการตั้งครรภ์และการคลอดครั้งที่ผ่านมา การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์จะค้นหาภาวะเสี่ยงด้านมารดาที่ส่งผลต่อทารกในครรภ์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การฝากครรภ์อย่างต่อเนื่องจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดแก่ทารกในครรภ์ทำให้มารดาและทารกมีสุขภาพแข็งแรง
  • ในช่วงไตรมาสแรก หรือ 3 เดือนแรก แม่ท้องมักจะเจอกับอาการแพ้ท้อง หลังจากตื่นนอน รับประทานเครื่องดื่มอุ่น ๆ เช่น นม หรือทานอะไรง่าย ๆ อย่าปล่อยให้หิว หลีกเลี่ยงอาหารมัน รสจัด และมีกลิ่นรุนแรง และต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ควรพักผ่อนวันละ 8-10 ชั่วโมง แม่ท้องไม่ควรนอนดึก นอนน้อย คนท้องต้องพักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์
  • คนท้องต้องกินวิตามิน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก สัปดาห์ละ 1 เม็ด รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อาหารต้องอุดมด้วยธาตุเหล็กและโฟเลท เช่น ตับ เนื้อสัตว์ ผักผลไม้เพื่อลดความเสี่ยงต่อความพิการแต่กำเนิด ทั้งยังมีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองและระบบประสาทของลูก
  • หากแม่ท้องวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ จะต้องฉีดวัคซีนสำคัญหลาย ๆ ตัว แต่ถ้ายังไม่ได้ฉีดวัคซีน ก็สามารถปรึกษาคุณหมอเพื่อฉีดวัคซีนได้ค่ะ

 

ท้องแรก ท้องเล็ก

 

  • หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก อย่ายกของหนัก เอื้อมมือ หรือเอี้ยวตัว ถ้าจะลุก นั่ง นอน ก็ต้องค่อย ๆ ทำ อย่าลุกพรวดพราด
  • แม่ท้องควรออกกำลังกาย ถ้าไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน ก็ให้ออกกำลังกายง่าย ๆ เช่น การเดิน แต่ถ้าแม่ท้องออกกำลังกายอย่างหนักมาก่อน ให้ปรึกษาคุณหมอค่ะ เพราะร่างกายแม่ท้องแต่ละคนไม่เหมือนกัน
  • ดูแลร่างกายทั่วไป ใช้ครีมบำรุง ครีมกันแดด ที่ดีต่อคนท้อง ไม่มีผลเสียต่อทารกในครรภ์ หรือเลือกใช้พวกน้ำมันมะพร้าวทาผิวให้ชุ่มชื้นก็ได้ เพราะแม่ท้องผิวจะแพ้ง่าย และในช่วงท้องแก่ อาจเกิดผิวแตกลายได้ต้องระวัง ส่วนครีมกันแดดเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคนท้อง เพราะผิวของแม่จะบอบบางง่ายต่อการเป็นฝ้า
  • เรื่องสุขภาพสำคัญกับคนท้องมากค่ะ แม่ท้องต้องแปรงฟัน ดูแลสุขภาพช่องปาก อย่าให้ฟันผุ ควรปรึกษาทันตแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแลสุขภาพฟันนะคะ นอกจากนี้ ไม่ควรกลั้นฉี่ อย่าไปในที่ที่คนเยอะบ่อย ๆ เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ไม่สบายได้ง่าย และไม่ควรอยู่ใกล้กับสารเคมี หรือช่วงที่มีอันตรายจากฝุ่น PM 2.5 ก็ควรใส่หน้ากากอนามัยด้วยค่ะ
  • เปลี่ยนการแต่งตัวตั้งแต่หัวจรดเท้า เลือกใช้ชุดที่ใส่สบาย ไม่รัดรูป ผ้าระบายความร้อนได้ดี เพราะคนท้องจะขี้ร้อนกว่าคนปกติ สวมใส่เสื้อชั้นในสำหรับคนท้อง และเลือกใส่รองเท้าที่พอดี เพราะเท้าแม่จะบวมขึ้น หลีกเลี่ยงส้นสูงเพื่อป้องกันไม่ให้ลื่นล้มค่ะ

_________________________________________________________________________________________

ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแล ทั้งอาหารการกิน โดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้าง ที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้ หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคล ทั้งเด็กหญิง และเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : www.sanook.com 

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

กินน้ำอัดลม กินชาเขียว แทนน้ำตอนท้อง ลูกออกมาไม่เป็นอะไร โชคดีแค่ไหนแล้วคะ คุณแม่ทั้งหลาย

7 ประโยชน์ของการมีท้องใหญ่

คนท้องเริ่มฝากครรภ์ได้เมื่อไหร่ ฝากครรภ์ช้าสุดกี่เดือน จำเป็นต้องฝากครรภ์ไหม?

บทความโดย

Weerati