ข้อดีของการนอนใกล้ลูก

เป็นธรรมชาติที่พ่อแม่ต้องอยากนอนใกล้ตัวลูก การนอนใกล้ลูกทำให้พ่อแม่เห็นลูกอยู่ในสายตาตลอดเวลาและมั่นใจในความปลอดภัยของลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อดีของการนอนใกล้ลูก

สำหรับพ่อแม่มือใหม่แล้ว ทุกอย่างที่เกี่ยวกับลูกเป็นเรื่องที่ไม่เคยรู้มาก่อนและบ่อยครั้งก็สับสน ทำอะไรไม่ถูก แม้กระทั่งจะให้ลูกนอนที่ไหน นอนในห้องเดียวกันหรืออย่างไรดี แล้วถ้านอนในห้องเดียวกัน เกิดมีเสียงดังแล้วทำให้ลูกตื่นล่ะจะทำอย่างไร หรือเราจะหลับเพลินจนไม่ได้ยินเสียงลูกตื่นขึ้นกลางดึกหรือเปล่า ไม่ต้องเป็นห่วง เรามีคำแนะนำว่าควรจะทำอย่างไร

เวลาที่ให้ลูกนอนใกล้ ๆ      

ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่มือใหม่หรือคนที่เคยมีลูกมาแล้วชอบที่จะให้ลูกนอนในห้องเดียวกันโดยเฉพาะใน 2- 3 อาทิตย์แรกที่รับลูกกลับบ้าน นี่เป็นข้อดีของการนอนใกล้ตัวลูก เพราะง่ายและสะดวกที่แม่จะลุกขึ้นไปดูลูกกลางดึกหรือทุกเวลาที่แม่อยากทำ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความแนะนำ: ท่านอนที่ปลอดภัยสำหรับลูกน้อย

จะให้ลูกนอนเตียงเดียวกันก็อย่าลืมนึกถึงสามีด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จะให้ลูกนอนที่ไหน

ข้อดีของการนอนใกล้ลูกคือความปลอดภัย แต่ใกล้แค่ไหนถึงจะเหมาะ

เรื่องจะให้ลูกนอนตรงไหนขึ้นกับพ่อแม่ว่าสะดวกอย่างไร แต่ปกติแล้วก็จะมีอยู่ 2 ทางเลือก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ให้ลูกนอนเตียงเดียวกับแม่
  • ให้ลูกนอนเตียงเด็กในห้องที่แม่นอน

แต่ถ้าจะให้ปลอดภัยที่สุดควรให้ลูกนอนห้องเดียวกับแม่ แต่อยู่ในเตียงสำหรับเด็กโดยเฉพาะ ที่แนะนำอย่างนั้นเพราะว่าคุณสามารถได้ยินเสียงลูกตื่นก่อนที่ลูกจะร้องดังจนปลุกคนทั้งบ้าน แถมคุณยังลุกมาดูลูกได้ตลอดเวลาที่คุณต้องการ ส่วนการให้ลูกนอนเตียงเดียวกัน ก็ช่วยป้องกันเด็กเสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่เรียกว่าเตียงมรณะหรือจากสาเหตุอื่น เช่น ลูกสำลัก หรือการลักพาตัวเด็กได้ แต่คุณก็ต้องรักษาชีวิตคู่กับสามีของคุณไว้ด้วย ไม่ใช่สนใจลูกจนลืมนึกถึงจิตใจและความต้องการของสามีไปเลย การที่จะให้ลูกนอนที่ไหนจึงเป็นเรื่องที่พ่อแม่แต่ละคู่ต้องคุยกันเองและทำให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละคู่ทั้งในเรื่องความปลอดภัยของลูกและการรักษาชีวิตคู่ให้ยืนยาว

บทความใกล้เคียง: นมแม่ช่วยลดความเสี่ยงโรคไหลตายในเด็ก

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team