โรคผิวหนังหน้าร้อนในเด็ก แดดแรงขนาดนี้ แม่ห้ามประมาทนะ!
เฮ้อ! อีกตั้งสักพักกว่าจะหมดหน้าร้อน เพราะกรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งว่าประเทศไทยจะสิ้นสุดฤดูร้อนประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2560 ป่านนี้ลูกๆบ้านใครมีอาการทางผิวหนังแปลกไปจากปกติบ้างหรือยังคะ เพราะถึงอากาศร้อนเด็กน้อยก็มักจะไม่หวั่น ยังไงก็ยังวิ่งเล่นไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แต่จากการที่อากาศร้อนส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มขึ้นขึ้นจึงทำให้ร่างกายขับเหงื่ออกมาเพื่อระบายความร้อน เจ้าเหงื่อตัวดีจึงเป็นสาเหตุที่สำคัญที่จะทำให้เกิดโรคผิวหนังต่างๆ ในช่วงหน้าร้อนค่ะ โรคผิวหนังหน้าร้อนในเด็ก ที่จะพบได้บ่อย ได้แก่
ผดผื่นคัน
เหงื่อที่ออกมาปริมาณที่มากในหน้าร้อนทำให้ไปอุดตันรูขุมขนทำให้เกิดผดผื่นและคันตา ข้อพับหรือที่อับชื้นต่างๆตามร่างกายซึ่งจะมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใส แตกง่าย หากเป็นมากจะมีลักษณะเป็นตุ่มแดงและตุ่มหนอง วิธีป้องกันไม่ให้เกิดผดผื่นคันในหน้าร้อนนี้ให้สวมเสื้อผ้าเนื้อบางเพื่อถ่ายเทความร้อนและเหงื่อได้สะดวก หลีกเลี่ยงการเสื้อผ้าที่รัดแน่นมาก ๆ ผดผื่นคันในเด็กมักหายได้เองภายใน 3-7 วัน การนำยาทากลุ่มสเตียรอยด์ที่มีฤทธิ์อ่อนมาทาอาจช่วยให้ผื่นหายเร็วขึ้น แต่ก่อนเลือกใช้ยาทากลุ่มสเตียรอยด์ทุกครั้ง ควรปรึกษาคุณหมอ หรือเภสัชกร และไม่ควรตัดสินใจเลือกใช้ตามความพอใจ เพราะอาจทำให้เกิดผลเสียมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ยาทาสเตียรอยด์ได้นะคะ
โรคเชื้อราที่ผิวหนัง
เหงื่อไปทำให้เกิดการอับชื้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย จึงทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย โดยเชื้อราที่พบได้บ่อย ได้แก่
- กลาก: ผิวหนังเป็นผื่นแดง คัน เป็นวงมีขุย หรือตุ่มแดง ที่ชอบพบบริเวณหน้า ลำตัว แขน ขา แต่หากเป็นผื่นบริเวณศีรษะจะเรียกว่า ชันนะตุเป็นก้อนนูน อาจมีตุ่มหนอง พอแตกจะมีน้ำเหลืองเยิ้ม ซึ่งอาจพบผมร่วงหรือมีต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย
- เกลื้อน : ผิวหนังจะเป็นด่าง เป็นวงสีขาว สีแดง หรือสีขี้เ ถ้าเป็นขุยละเอียดโดยเริ่มจากจุดเล็กๆ ถึงเป็นวงใหญ่ พบตามลำตัว แขน ขา หน้า หรือคอ มักจะไม่มีอาการคัน
- กลุ่มยีสต์จำพวกแคนดิดา : เป็นผื่นแดงเปื่อยบริเวณข้อพับ คอ รักแร้ ขาหนีบ ก้น หรือตามบริเวณที่อับชื้นของร่างกาย
ดังนั้นเวลาที่ลูกมีเหงื่อออกมาก คุณพ่อคุณแม่จึงต้องดูแล และรักษาความสะอาดผิวหนังของลูกน้อยให้ดี ถ้าลูกสมบูรณ์มากหน่อยก็สังเกตบริเวณใต้ราวนมเพิ่มนิด ถ้าลูกชอบใส่รองเท้าหุ้มส้นเป็นประจำก็สังเกตบริเวณง่ามนิ้วเท้าหรือฝ่าเท้าเพิ่มหน่อย หากลูกเริ่มมีอาการหรือสงสัยว่าจะเป็นโรคเชื้อราที่ผิวหนัง คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อจะได้วินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง ไม่ควรซื้อยามาทาให้ลูกเองนะคะ
ผิวไหม้แดด
มักจะเจอเด็กที่ผิวไหม้แดดแบบนี้โดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายนซึ่งนิยมไปเที่ยวสงกรานต์ ไปชายทะเลจะตากแดดกันมาก สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำอย่างแรกเลยคือให้นำผ้าชุบน้ำเย็นมาประคบผิวที่ไหม้แดดไว้จนอาการแสบร้อนหาย หากลูกเป็นเยอะควรพยายามอาบน้ำทำให้ตัวเย็นเพื่อลดความร้อนของผิวหนังลูกน้อยค่ะ แต่ถ้า 2-3 วันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นยังปวดแสบปวดร้อนอยู่หรือหากผิวไหม้จนเป็นตุ่มน้ำแนะนำให้ไปหาคุณหมอค่ะ
ปัจจุบันมีการผลิตครีมกันแดดสำหรับเด็กจึงแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะเริ่มทาครีมกันแดดให้ลูกน้อย โดยการทาครีมกันแดดไม่ใช่ทาหนึ่งครั้งต่อวัน โดยทาครีมกันแดดก่อนออกแดดครึ่งชั่วโมง โดยหลังจากทาไปแล้วและยังต้องอยู่กลางแจ้งหลาย ๆ ชั่วโมง ก็ควรจะมีการทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2-4 ชั่วโมงค่ะ
ก่อนจะพาลูกเที่ยวก็ใช้วิธีป้องกันที่แนะนำข้างต้นด้วยจะได้เที่ยวได้สนุกหายห่วง สามารถทำให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลเด็กน้อยให้ผ่านหน้าร้อนนี้ไปด้วยดีนะคะ
เชื่อว่าคุณแม่ทุกคนต้องรู้สึกกังวลใจทุกครั้งที่เห็นผิวสวยๆ ของลูกน้อยแห้ง แดง สาก เป็นผื่น ยิ่งเห็นลูกทรมานเพราะความคันจาก ผื่นภูมิแพ้ จนนอนไม่ได้เรายิ่งไม่สบายใจหนักขึ้นไปอีก
วันนี้เรามาไขข้อข้องใจเรื่อง ผื่นภูมิแพ้ กับรศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี (หมอใหม่) กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันประจำศูนย์ภูมิแพ้โรงพยาบาลนครธน และอาจารย์พิเศษ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อช่วยคลายความกังวลใจให้คุณแม่ค่ะ
คุณหมอใหม่: โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง ซึ่งเป็นปัญหายอดฮิตของเด็กๆ ที่ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคแน่ชัด อาจเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน โดยเฉพาะพันธุกรรมของผู้ป่วย ที่มีความผิดปกติของผิวหนังที่ขาดน้ำมันบางชนิดในผิว และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ผิดปกติ จากการศึกษาพบว่า
- ถ้าพ่อ หรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้ จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ประมาณร้อยละ 30-50
- ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้ จะมีผลให้ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้นถึงร้อยละ 50-70
- เด็กที่มาจากครอบครัวที่ไม่มีประวัติโรคภูมิแพ้ มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้เพียงร้อยละ 10
นอกจากนี้อาจเกิดจากปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ สารก่อภูมิแพ้จากอาหาร สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ การติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา และปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความร้อนหรือเย็นเกินไป สารระคายเคืองผิวหนัง รวมทั้งความเครียด ก็สามารถกระตุ้นให้ผื่นกำเริบได้ค่ะ
TAP: โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมีลักษณะอย่างไรได้บ้างคะ
คุณหมอใหม่: ลักษณะผื่นของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเป็นได้ตั้งแต่ผื่นแห้งขุย ผื่นแดง ตุ่มน้ำ มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม หรือผื่นหนาคัน ขึ้นอยู่กับระยะของโรค
มีการกระจายตัวของผื่นที่แตกต่างกัน ตามช่วงอายุต่างๆ คือ
- ช่วงวัยทารกและเด็กเล็ก อายุ 2-3 เดือน ถึง 2 ปี ผื่นมักเป็นบริเวณใบหน้า แก้ม ซอกคอ และบริเวณด้านนอกของแขนขา
- วัยเด็กโต อายุ 2 ปีขึ้นไป ผื่นมักเป็นตามข้อพับแขนขา หลัง ข้อมือ ข้อเท้า
- วัยผู้ใหญ่ ผื่นมักจะเป็นอยู่เฉพาะบริเวณที่ถูกระคายเคืองบ่อยหรือมีการเกาได้ง่าย เช่น มือ เท้า แขน และต้นคอ
อาการเด่นของโรคนี้ คือ มีอาการคันมาก มีผื่นผิวหนังอักเสบ เรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ผิวแห้ง มักเริ่มมีอาการเป็นตั้งแต่เด็ก โดยมีการกระจายตัวของผื่นที่แตกต่างกัน ตามช่วงอายุดังกล่าวมาข้างต้น มักมีโรคภูมิแพ้อื่นๆร่วมด้วย เช่น โรคภูมิแพ้จมูกอักเสบ โรคหืด และมีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว
TAP: อยากให้คุณหมอแนะนำ วิธีการลดและป้องกันผื่นภูมิแพ้ค่ะ
คุณหมอใหม่: การลดและป้องกันผื่น ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้ผื่นกำเริบ ไม่ว่าจะเป็นสารก่อภูมิแพ้ หรือสารระคายเคืองต่างๆ และดูแลผิวหนังให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้ผิวแห้ง เช่น หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนจัด หลีกเลี่ยงการใช้หรือสัมผัสสิ่งระคายเคือง ทาผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มความชุ่มชื้นของผิวทันทีหลังอาบน้ำ โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารต้านการอักเสบของผิวที่ได้มาตรฐาน ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม สี หรือสารระคายเคืองต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ค่ะ
ถ้าผื่นไม่เยอะ อาจใช้ครีมบำรุงที่มีสารลดการอักเสบเช่นและความชุ่มชื้น ที่ปัจจุบันมีการทดสอบแล้วว่าสามารถช่วยลดผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้เทียบเท่าสเตียรอยด์
แต่ในกรณีที่อักเสบมาก มีผื่นมาก ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับยาทาเฉพาะที่ลดการอักเสบของผิวหนัง ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องใช้ยาสเตียรอยด์ ก็ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ใช้ในระยะเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของยา ซึ่งมีทั้งเฉพาะที่ เช่น ผิวหนังบาง เป็นด่างขาว หลอดเลือดใต้ผิวหนังผิดปกติ หรือภาวะแทรกซ้อนทั่วร่างกาย ได้แก่ กดภูมิคุ้มกัน และการเจริญเติบโตของเด็ก นอกจากนี้คุณหมออาจให้รับประทานแก้แพ้เพื่อลดอาการคันและพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วยหากพบว่ามีการติดเชื้อ
ขอบคุณข้อมูลจาก
รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี (หมอใหม่)
กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ประจำศูนย์ภูมิแพ้โรงพยาบาลนครธน และอาจารย์พิเศษ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มา: www.si.mahidol.ac.th/
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
กรมการแพทย์
Thank you: www.healthychildren.org.
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ผื่นแพ้ที่ก้นลูก แก้ไขให้ถูกลูกมีพัฒนาการดี
ร้อน Vs หนาว อากาศเเบบไหนทำลูกเเรกเกิดน้ำหนักน้อย
ลูกเป็นภูมิแพ้ แพ้อากาศบ่อยๆ พ่อแม่ช่วยลูกได้ด้วยวิธีเหล่านี้
“ยีนภูมิแพ้จากพ่อแม่สู่ลูก” เรื่องไม่เล็ก ที่คุณแม่ต้องเตรียมพร้อม
5 เทคนิคดูแล ผื่นภูมิแพ้ ผิวแห้ง คัน ของลูกน้อย
ปัญหาผื่นภูมิแพ้ในเด็กที่คุณแม่กังวลใจ