ความปลอดภัยกับของเล่นเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้

ของเล่นเด็กนับเป็นอุปกรณ์ที่สร้างความเพลิดเพลินสนุกสนานให้กับลูกเป็นอย่างมาก แต่หากเลือกใช้ไม่เหมาะสมกับอายุของลูกๆ ของเล่นเหล่านั้นก็อาจสร้างอันตรายให้กับลูกได้ ลองดูข้อปฏิบัติต่อไปนี้เกี่ยวกับความปลอดภัยกับของเล่นเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้ ก่อนที่จะช้อปปิ้งของเล่นให้ลูกในครั้งต่อไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เป็นเรื่องปกติธรรมดาของทุกบ้านที่มีเด็กก็ต้องมีของเล่นควบคู่กัน บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะมีของเล่นมากเกินความจำเป็นและอาจยังไม่รู้จักวิธีใช้งานที่ถูกต้องอีกด้วย ทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน คุณก็มักจะกลับเข้ามาพร้อมกับของฝากที่เป็นของเล่นให้กับลูกๆอีกต่างหาก

การซื้อของเล่นให้ลูกนับเป็นนิสัยอย่างหนึ่งของพ่อแม่ โดยปราศจากการคำนึงถึงความชื่นชอบของลูก หรือลืมไปว่าชิ้นนี้เคยมีแล้วหรือยัง ยิ่งไปกว่านั้นขาดการคำนึงว่าลูกจะเรียนรู้อะไรได้จากของเล่นแต่ละชิ้นบ้าง

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ของเล่นจะเป็นส่วนสำคัญของเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะอยากซื้อให้ลูกตลอดเวลา และเด็กก็สนุกสนานกับมัน แต่คุณพ่อคุณแม่เคยทราบไหมว่า ของเล่นพวกนี้อาจก่อให้เกิดอันตรายกับลูกๆได้เช่นกัน หากเลือกของเล่นให้ลูกอย่างไม่เหมาะสม

โดยธรรมชาติ เด็กๆอายุต่ำกว่า 3 ปี มักจะสงสัยในสิ่งต่างๆและชอบเอาของเหล่านั้นเข้าปาก นั่นเป็นวิธีการตอบสนองอย่างหนึ่งของเด็ก เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่ต้องระวังเป็นอย่างมากกับการเลือกของเล่นให้เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี เนื่องจากเด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถมีปฏิกิริยาตอบสนองกับการสำลักสิ่งของต่างๆได้

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจในการเลือกของเล่นให้กับลูกๆ ไม่เพียงแต่เลือกซื้อของเล่น คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจในการเลือกซื้อของเล่นให้เหมาะสมกับช่วงอายุของเด็กและต้องคอยดูแลลูกขณะเล่นของเล่นอยู่เสมอ

ครั้งต่อไป หากคุณพ่อคุณแม่ต้องออกไปซื้อของเล่นให้ลูก ให้นึกถึงคำแนะนำในการเลือกซื้อของเล่นเหล่านี้ เพราะของเล่นที่ดูไม่มีพิษไม่มีภัย ความจริงแล้วอาจก่อให้เกิดอันตรายกับลูกได้เช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คำเตือนของเล่นที่ไม่เหมาะกับเด็กต่ำกว่า 3 ขวบ อาจมีชิ้นส่วนขนาดเล็กหลุดติดคอได้

การพิจารณาเลือกซื้อของเล่นให้ลูก

1.อ่านฉลากเสมอ

ส่วนใหญ่แล้วบริษัทผู้ผลิตมักมีฉลากและคู่มือเกี่ยวกับของเล่นชิ้นนั้นคู่กับของเล่นเสมอ และยังมีฉลากบอกว่าของเล่นชิ้นนั้นเหมาะสมกับเด็กช่วงอายุเท่าไร ขณะเลือกซื้อคุณพ่อคุณแม่ควรอ่านทำความเข้าใจให้ถี่ถ้วน ไม่ควรซื้อของเล่นที่มีฉลากติดว่า สำหรับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ให้ลูกของคุณหากลูกอายุยังไม่ถึง 3 ปี เป็นต้น

2.เลือกของเล่นชิ้นใหญ่สำหรับเด็กเล็กๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อคุณแม่ต้องมั่นใจว่าของเล่นลูกต้องมี่ขนาดใหญ่เกินกว่าที่ลูกจะเอาเข้าปากได้ของเล่นที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ คือของเล่นที่มีขนาดใหญ่กว่าแกนกระดาษทิชชู ซึ่งเด็กไม่อาจเอาเข้าปากได้และจะไม่สำลักนั่นเอง

3.เลือกของเล่นที่มีพื้นผิวเรียบ

คุณพ่อคุณแม่ต้องดูลักษณะของเล่นให้ดี ต้องไม่มีรอยเหลี่ยมคมใดๆที่อาจทำให้ลูกได้รับบาดเจ็บได้

4.ตรวจดูส่วนประกอบสารเคมีที่เป็นพิษ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อคุณแม่ควรอาจฉลากยู่เสมอเพื่อดูว่าของเล่นเด็ก มีส่วนใดที่ทำมาจากสารเคมีที่เป็นพิษบ้างหรือไม่ ของเล่นที่ดีควรไม่มีพิษ เช่น ปราศจากสีเคมี

5. หาข้อมูลเกี่ยวกับของเล่นชิ้นนั้นก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ

คุณพ่อคุณแม่ควรหาเวลาเสิร์ซหาข้อมูลเกี่ยงกับของเล่นชิ้นนั้นๆว่าเคยได้รับการเพิกถอนหรือห้ามซื้อขายบ้างหรือไม่

6.ระวังเกี่ยวกับของเล่นที่ใส่ถ่านหรือแบตเตอรี่

ช่องใส่ถ่านหรือแบตเตอรี่ต้องถูกปิดอย่างมิดชิด ป้องกันการเปิดออกโดยง่าย เพราะไส้ในของถ่านหรือแบตเตอรี่เป็นสิ่งอันตรายมาก เด็กอาจจะกลืนทำให้เกิดการติดคอ สำลัก เลือดออกภายใน และถูกกัดจาสารเคมี

7.หลีกเลี่ยงของเล่นแม่เหล็ก

หากลูกบังเอิญกลืนแม่เหล็กลงไปนี้จะส่งผลต่อผนังลำไส้ให้เป็นแผล ขัดขวางทางเดินอาหาร ติดเชื้อและเลือดออก จนถึงตายได้

ความปลอดภัยของของเล่นเด็กไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเลือกซื้ออย่างเดียว

คลิ๊กอ่านหน้าถัดไปสำหรับการดูแลลูกๆระหว่างเล่นของเล่น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การดูแลอย่างใกล้ชิดระหว่างลูกเล่นของล่น

หน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ไม่เพียงแต่สรรหารของเล่นดีๆให้ลูก แต่ต้องคอยดูและลูกๆขณะเล่นของเล่นนั้นด้วย วิธีที่ดีที่สุดคือการนั่งเล่นกับลูก

  • สอนลูกให้เก็บของเล่นหลังจากที่เล่นเสร็จแล้วเสมอ เพื่อความปลอดภัยในการสะดุดหกล้มและความบาดเจ็บต่างๆ
  • ป้องกันไม่ให้ลูกเล่นของเล่นของเด็กโต
  • อ่านคู่มือและคำแนะนำในการเล่นของเล่นให้เข้าใจถี่ถ้วน
  • ตรวจดูของเล่นลูกเสมอว่าแตก หัก พังหรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจทำให้ของเล่นมีความแหลมคมและอันตราย คุณพ่อคุณแม่ควรซ่อมแซมหรือเลือกที่จะทิ้งไปก็ได้
  • เลือกของเล่นที่ฉลากเย็บติดอย่างหนาแน่น เพื่อป้องกันการดึงออกของลูกๆ

หากของเล่นชำรุดหรือพัง คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกที่จะิ้งหรือซ่อมแซมทันที

เด็กกับของเล่นถือเป็นของคู่กัน คุณพ่อคุณแม่มีหน้าที่สร้างความปลอดภัยให้กับลูกในการเลือกซื้อของเล่นและในการดูแลลูกๆระหว่างเล่นของเล่นนั้นๆ ในการเลือกซื้อของเล่นครั้งต่อไปให้คำนึงถึงความปลอดภัยของลูกเป็นหลัก และคุณพ่อคุณแม่ควรแสดงความรักความเอาใจใส่ในการเล่นของเล่นกับลูกทุกครั้ง อย่าลืมขั้นตอนต่างๆที่กล่าวมาทังหมด ลองเก็บไว้เป็นเช็คลิสต์สำหรับการช้อปปิ้งของเล่นลูกในครั้งต่อๆไปดูนะคะ

ที่มาจาก sg.theasianparent.com

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

พาลูกดูของเล่นเมื่อแม่ยังละอ่อนกับพิพิธภัณฑ์ล้านของเล่น

เสริม IQ และ EQ ให้ลูกน้อย ด้วยของเล่นง่ายๆจำนวนน้อยชิ้น

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team