ทารกนอนอย่างไรให้ปลอดภัย ท่านอนทารก ที่นอนทารกแรกเกิด ต้องเป็นแบบไหน

แม่ต้องรู้ว่าทารกนอนอย่างไรให้ปลอดภัย ท่านอนทารก เด็กแรกเกิด–4 เดือน และวิธีจัดเตียงนอนลูกวัยแรกเกิด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำวิธีจัดเตียงนอนที่ปลอดภัย ท่านอนที่เหมาะสมสำหรับเด็กแรกเกิด-4 เดือน ทารกนอนอย่างไรให้ปลอดภัย เป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องเข้าใจ การป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุเด็กตกเตียง แม่นอนทับลูก แม่นอนเบียดลูก จนเกิดอันตราย ทำให้ทารกเสี่ยงเสียชีวิต ที่นอนทารก หมอนสําหรับทารก เองก็สำคัญ

 

ทารกนอนอย่างไรให้ปลอดภัย

แม่ต้องรู้ทารกนอนอย่างไรให้ปลอดภัย

จากข่าวลูกสาววัย 3 เดือนพลัดตกเตียงติดซอกผนังข้างที่นอนเสียชีวิตนั้น ทำให้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ต้องออกมาเตือนพ่อแม่มือใหม่ถึงความสำคัญของวิธีจัดเตียงนอนที่ปลอดภัย การนอนของทารกวัยแรกเกิด–4 เดือน ลูกต้องนอนอย่างไรให้ปลอดภัย

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า เด็กทารกในวัยแรกเกิด–4 เดือน ถือเป็นวัยบอบบางที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องดูแลไม่ให้คลาดสายตา เพราะอาจจะเกิดอันตรายต่อเด็กได้ รวมถึงการนอนของเด็กด้วย หากเด็กนอนด้วยท่านอนที่ไม่เหมาะสม และที่นอนที่ไม่ปลอดภัยอาจเป็นสาเหตุให้เด็กอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้เช่นเดียวกัน

 

ที่นอนทารกแรกเกิด วิธีจัดเตียงนอนที่ปลอดภัย

เด็กแรกเกิด–4 เดือนพ่อแม่ควรจัดท่านอนที่เหมาะสม จัดเตียงนอนที่ปลอดภัย ดังนี้

  • ทารกต้องนอนที่นอนที่ปลอดภัย คือแยกที่นอนมาอยู่ด้านข้างผู้ใหญ่ด้วยระยะห่างประมาณเอื้อมมือถึง
  • ทารกต้องไม่นอนระหว่างผู้ใหญ่หรือติดชิดกับผู้ใหญ่ เพราะอาจเผลอนอนเบียดหรือทับเด็กจนหายใจไม่ออก
  • ทารกต้องนอนที่นอนเด็ก สูงประมาณ 2 ฟุต พ่อแม่ต้องระวังไม่ให้ทารกโดนผ้าห่ม หมอนของพ่อแม่ทับเด็กโดยไม่รู้ตัว
  • ทารกต้องนอนที่นอนไม่นิ่มเกินไป ระวังผ้าห่ม หมอน มุ้ง อาจปิดทับจมูกทำให้หายใจไม่สะดวกหรืออุดกลั้น

หากจำเป็นต้องนอนด้วยเตียงนอน ควรมีที่กันตก รั้วขอบของเตียงต้องมีระยะห่างของซี่รั้วน้อยกว่า 15 เซนติเมตร และมีที่นอนที่พอดีกับเตียง ไม่มีช่องห่างระหว่างที่นอนกับขอบเพราะอาจเกิดการติดค้างของศีรษะที่ลอดผ่านซี่ราวหรือลอดผ่านรูช่องบนผนังรั้วรอบเตียง และการกดทับใบหน้า จมูก ในช่องห่างระหว่างเบาะที่นอนกับราวกันตก

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ไหลตายในเด็ก SIDS โรคไหลตายในทารก พรากชีวิตทารกจากอ้อมอกแม่ไปตลอดกาล

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อควรระวัง พ่อแม่ไม่ควรนั่งอุ้มจนหลับ เพราะผู้ปกครองอาจจะเผลอปล่อยเด็กออกจากมือทำให้ตกลงมาได้

 

ที่นอนทารก ทารกนอนอย่างไรให้ปลอดภัยไม่เสียชีวิต

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท่านอนที่เหมาะสมสำหรับทารก

  • ท่านอนที่เหมาะสมสำหรับเด็กคือนอนด้วยท่านอนหงาย ไม่ใช่นอนคว่ำ เพราะอาจอุดกลั้นทางเดินหายใจ
  • หากต้องการให้เด็กหัวทุย ก็จัดท่านอนตะแคงซ้ายและขวาสลับกันกันไป โดยให้เด็กนอนกอดหมอนข้างเพื่อป้องกันการคว่ำหน้า
  • การจัดท่านอนของเด็กนั้นต้องดูช่วงอายุ และลองเปลี่ยนท่านอนให้เรื่อย ๆ เพื่อหาท่านอนที่เด็กนอนหลับสบายที่สุด

 

ที่นอนทารก ทารกนอนอย่างไรให้ปลอดภัยแต่ละช่วงวัย

  • เด็กแรกเกิด–4 เดือน ควรนอนตะแคงหรือนอนหงาย เป็นท่าที่เหมาะกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อคอที่ยังไม่ค่อยแข็งแรง ทำได้เพียงหันซ้ายและขวา สามารถมองเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวและฝึกการมองได้
  • ทารกวัย 5–6 เดือน สามารถนอนคว่ำได้ และเด็กยกคอได้แล้วเพราะกระดูกคอเริ่มแข็ง แต่ยังต้องเฝ้าดูอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา เพราะอาจเกิดการอุดกลั้นการหายใจได้
  • ทารกวัย 7-12 เดือน สามารถนอนได้ทุกท่าเพราะเด็กพลิกตัวด้วยตนเองได้แล้ว ที่สำคัญพ่อแม่ผู้ปกครองต้องสังเกตตัวเด็กและสภาพสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กอยู่เสมอ เช่น บนที่นอนของเด็กจะต้องไม่มีอะไรที่จะมาปิดหน้าได้ระหว่างที่นอนหลับอยู่ โดยเฉพาะเด็กที่มีนิสัยชอบคว้าสิ่งของรอบตัว

 

ที่นอนทารกแรกเกิด วิธีจัดที่นอนลูกวัย 1 ปีขึ้นไป

แพทย์หญิงนนธนวนัณท์ สุนทรา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กล่าวว่า เด็กอายุเกิน 1 ปี ที่เริ่มยืนได้ ควรจัดให้นอนเตียงเด็กอย่างถูกวิธีคือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. เตียงเด็กต้องมีราวกันตกที่มีซี่ราวแนวตั้งตรง ไม่ใช่แนวนอน และห่างกันไม่เกิน 15 เซนติเมตร
  2. ราวกันตกจะต้องมีตัวยึดแน่น เด็กไม่สามารถเหนี่ยวให้เคลื่อนไหวได้เอง ไม่อ้า ไม่เผยอ จนเกิดช่องห่างจากเตียงจนลำตัวเด็กลอดตกได้
  3. เบาะที่นอนต้องพอดีกับเตียงและไม่มีช่องว่างระหว่างเบาะกับราวกันตก
  4. มุมเสาทั้ง 4 มุมต้องเรียบ มีส่วนนูนได้ไม่เกิน 1.5 มิลลิเมตร
  5. ผนังเตียงด้านศีรษะและเท้าต้องไม่มีการตัดตกแต่งให้เกิดร่องและรู
  6. จากขอบบนของเบาะที่นอนถึงราวกันตกด้านบนต้องมีความสูงไม่ต่ำกว่า 65 เซนติเมตร
  7. เด็กที่มีความสูงเกินกว่า 89 เซนติเมตร มีความเสี่ยงต่อการปีนราวกันตกและตกจากที่สูงได้

พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องระวังหากพบว่าเด็กแน่นิ่ง ตัวซีดหรือเขียวคล้ำ ให้จับเด็กนอนหงาย พยายามปลุก เรียก สังเกตการหายใจโดยดูการเคลื่อนไหวของหน้าอก หน้าท้อง ถ้าเรียกไม่รู้ตัวลักษณะเหมือนไม่หายใจ ให้กดทรวงอกบริเวณ สันอกทันที สลับกับการเป่าปากหรือเป่าจมูก-ปากเด็กในเวลาเดียวกันและรีบตามหน่วยฉุกเฉิน 1669 เพื่อนำส่งโรงพยาบาล

ถ้าไม่อยากเสียใจ พ่อแม่ต้องใส่ใจดูว่าทารกนอนอย่างไรให้ปลอดภัย เหมาะสมกับช่วงวัย ลูกจะได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ สุขภาพร่างกายและจิตใจก็จะแข็งแรงแจ่มใสค่ะ

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลูกแพ้นมวัว แพ้ไข่ เป็นอย่างไร อาการลูกแพ้อาหาร ทารกแพ้อาหารผ่านน้ำนมแม่ ที่ต้องระวัง!

ทำนายดวงทารกจากเวลาเกิด ลูกเกิดเวลานี้ดีหรือร้าย คำทำนายแม่นๆ

แม่ลูกอ่อนชอบลืมลูก แม่เป็นโรคลืมลูก Forgotten Baby Syndrome ทำไมแม่หลังคลอดขี้ลืม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya