คุณแม่ตั้งครรภ์นวดได้หรือไม่? แล้วการนวดแบบไหนที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากคิดถึงกิจกรรมช่วยผ่อนคลายร่างกายและจิตใจจากการทำงานหนักมาตลอด เชื่อว่าการนวดมักจะเป็นสิ่งแรกที่หลายคนนึกถึง แต่ใครจะรู้ว่าการนวดคนท้องอาจจะเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ที่สุดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ด้วยเช่นกัน เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์บางคนจะมีอาการปวดเมื่อยมากกว่าคนปกติ เพราะต้องแบกรับน้ำหนักที่มากกว่าเดิมและรู้สึกไม่สบายตัวจากการขยายของหน้าท้อง 

 

โดยเฉพาะในช่วง ระหว่างสัปดาห์ที่ 20 ถึง 28 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ที่มักมีอาการปวดบริเวณหลังส่วนล่าง ซึ่งอาการเช่นนี้สามารถบรรเทาได้ด้วยการลองออกไปเดินเล่น ออกกำลังกาย และปรับปรุงท่าทางการนั่งหรือการยืนให้เหมาะสม แต่บางครั้งวิธีเหล่านี้อาจไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดให้กับคุณแม่ได้เสมอไป

การนวดในระหว่างตั้งครรภ์จึงเป็นอีกทางเลือกที่คุณแม่หลายคนมองหา แต่ก็อาจมีคำถามเกิดขึ้นว่าแท้จริงแล้ว คนท้องนวดได้หรือ? ปลอดภัยจริงหรือ? ส่งผลกระทบอะไรกับลูกน้อยในท้องหรือไม่? ดังนั้น เพื่อเป็นการคลายความกังวลให้กับคุณแม่ theAsianparent จะพาคุณแม่ไปหาคำตอบกันว่าการนวดมีประโยชน์ต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไรบ้าง และวิธีการนวดแบบไหนที่ปลอดภัยสำหรับคนท้องบ้าง 

 

การนวดระหว่างตั้งครรภ์ นวดคนท้อง คืออะไร?

 

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนยังมีข้อสงสัยกันอยู่ว่าในระหว่างการตั้งครรภ์สามารถนวดได้หรือไม่? สูตินรีแพทย์ได้ให้คำตอบว่าคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถนวดได้ แต่จะต้องเป็นการนวดที่มีวัตถุประสงค์การผ่อนคลายเท่านั้น ไม่ใช่การบำบัดหรือรักษา 

ขณะเดียวกัน การนวดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์จะเน้นไปในเรื่องของการช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตและลดอาการปวดเมื่อย เพราะเมื่ออายุครรภ์มากขึ้นน้ำหนักมากขึ้น คุณแม่จะรู้สึกเดินเหินไม่คล่องตัว ปวดเมื่อยตามหลัง แขน และขา ซึ่งการนวดจะทำให้คุณแม่รู้สึกว่าผ่อนคลายและสบายตัวมากยิ่งขึ้น แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือ คุณแม่ต้องได้รับการนวดจากผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรมเรื่องการนวดสำหรับคนท้องมาโดยเฉพาะเท่านั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

โดยทั่วไปแล้ว การนวดสำหรับคนท้องจะใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง โดยผู้นวดจะใช้โต๊ะนวดที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับคนท้องโดยเฉพาะเพื่อรองรับหน้าท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์ รวมทั้งใช้หมอนรองครรภ์หรือหมอนคนท้องที่มีฟังก์ชันพิเศษช่วยให้คุณแม่สามารถนอนตะแคงข้างได้อย่างสบายในระหว่างการนวด เพราะการนอนตะแคงเป็นท่านอนที่สบายที่สุดสำหรับคนท้อง

 

การนวดในระหว่างการตั้งครรภ์ปลอดภัยหรือไม่?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การนวดคนท้องยังคงเป็นกิจกรรมที่สูติแพทย์ลังเลที่จะแนะนำให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ ถึงแม้ว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกอบรมอยู่มากมาย แต่การฝึกอบรมเหล่านั้นยังขาดมาตรฐานและการรับรองในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับรองความชำนาญพิเศษในการนวดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 

 

อีกทั้งการนวดในระหว่างตั้งครรภ์ยังไม่ได้รับการศึกษาและวิจัยอย่างจริงจังจากทางคลินิกที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ยังคงมีข้อโต้แย้งกันในทางการแพทย์ว่าการนวดในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์จะปลอดภัยจริงๆ หรือไม่

ดังนั้น นักนวดบำบัดส่วนใหญ่มักปฏิเสธไม่ให้บริการนวดกับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่อยู่ในช่วงไตรมาสแรก ด้วยเหตุผลที่ว่าการนวดอาจมีโอกาสทำให้เกิดการแท้งบุตร ถึงแม้ว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดสำหรับคนท้องบางคนโต้แย้งว่าการนวดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ได้ทำให้เกิดการแท้งบุตร เพราะยังไม่มีการวิจัยใดที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการนวดกับการแท้งบุตรนั่นเอง 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่างไรก็ตาม แพทย์บางคนยังคงไม่แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เข้ารับการนวดในช่วงไตรมาสแรก เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ได้ เช่นเดียวกับศูนย์สุขภาพเสริมและสุขภาพเชิงบูรณาการแห่งชาติ หรือ NCCAM ได้แนะนำว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ควรปรึกษากับสูติแพทย์ก่อนเสมอว่าตนเองมีข้อห้ามหรือเงื่อนไขทางการแพทย์ใดๆ ที่ไม่เหมาะสมสำหรับการนวดหรือไม่ ซึ่งในบางประเทศคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องมีใบรับรองจากแพทย์ก่อนถึงจะสามารถเข้ารับการนวดได้

 

นอกเหนือจากโรงพยาบาลในหลายๆ ประเทศแล้ว หน่วยงานสำคัญในประเทศไทยอย่างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสภากาชาดไทย ยังได้ให้คำยืนยันว่าคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถนวดได้ แต่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

 

  • ผู้นวดควรเป็นผู้ที่ได้รับการอบรม ผ่านการฝึกฝน มีความรู้ และทักษะการนวดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะ
  • หลีกเลี่ยงการนวดบริเวณท้อง เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อเจ้าตัวเล็กในครรภ์ได้
  • การลงน้ำหนักและการใช้เทคนิคในการนวดควรเป็นไปตามความเหมาะสม หลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักที่มากจนเกินไป
  • อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับการนวดควรมีความเหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะ เช่น เตียงนวด หมอน เป็นต้น 
  • ห้ามใช้วิธีการนวดแผนไทยกับผู้นวดที่ไม่ผ่านการอบรมโดยเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ได้
  • หากคุณแม่มีเงื่อนทางการแพทย์ เช่น ภาวะแท้งคุกคาม ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดขอด หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ควรหลีกเลี่ยงการนวดหรือปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการนวดบำบัด

 

ประโยชน์ของการนวดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

มีการศึกษาไม่มากนักเกี่ยวกับผลของการนวดในคุณแม่ตั้งครรภ์ ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะบอกถึงประโยชน์จากการนวดสำหรับคนท้อง แต่มีการศึกษาอยู่จำนวนหนึ่งแสดงให้เห็นว่าการนวดอาจเป็นผลดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์หลายประการ ดังนี้

 

  • มีการไหลเวียนของโลหิตที่ดียิ่งขึ้น ช่วยลดอาการบวมตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายคุณแม่ได้ดี
  • ฮอร์โมนมีความเสถียร เนื่องจากมีการไหลเวียนของโลหิตที่ดีขึ้น
  • ช่วยลดความดันโลหิต การนวดก่อนคลอดสามารถช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตมีความสมดุล และทำให้คุณแม่สามารถคลอดเจ้าตัวเล็กได้ง่ายขึ้น
  • กระตุ้นฮอร์โมนออกซิโทซินตามธรรมชาติ ทำให้คุณแม่จะเริ่มรู้สึกมีความสุขมากขึ้น ตื่นตัวมากขึ้น และเครียดน้อยลง
  • ลดอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อ การนวดคนท้องเป็นวิธีที่ดีมากในการบรรเทาอาการปวดหลังของคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์
  • นอนหลับได้ดีขึ้น การนวดจะช่วยลดฮอร์โมนคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) ทำให้คุณแม่รู้สึกวิตกกังวลน้อยลงและสามารถพักผ่อนได้อย่างเต็มที่

เทคนิคการนวดคนท้องอย่างไรให้ปลอดภัย

 

ในปัจจุบัน มีรูปแบบการนวดกว่า 80 ประเภท ที่อยู่ในโปรแกรมการสอนนวดบำบัดกว่า 1,300 โปรแกรมในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้รับการแนะนำว่าเหมาะสมและปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • Deep-tissue massage หรือเรียกว่า นวดรีดเส้นหรือนวดกดจุด เป็นการนวดด้วยการกดน้ำหนักลงไปลึกถึงกล้ามเนื้อ

  • Swedish massage การนวดบำบัดสวีดิช เป็นศาสตร์การนวดที่มีมาตั้งแต่ยุคโรมัน มีความนิยมมากในแถบยุโรป โดยมีเทคนิคการนวดหลักๆ คล้ายการนวดน้ำมันกับนวดอโรม่า แต่ไม่ใช้แรงกดในการนวดมากนัก จัดอยู่ในการนวดสปากลุ่มให้ความรู้สึกผ่อนคลาย

  • Shiatsu เป็นวิธีการนวดด้วยการกดนิ้วตามแบบโบราณของญี่ปุ่น คล้ายการนวดแบบกดจุด เพื่อเป็นการปรับปรุงการไหลเวียนของพลังชีวิตหรือชี (qi) ในร่างกาย

นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้นักนวดบำบัดจำเป็นต้องมีความชำนาญและได้รับการฝึกฝนการนวดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะเฉพาะ รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนเทคนิคการนวดต่างๆ ของตนเองให้เหมาะสมเพื่อปรับใช้กับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่มักเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ เช่น การเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนโลหิต รวมไปถึงการเลือกใช้เตียงและหมอนที่ออกแบบพิเศษสำหรับคนท้องโดยเฉพาะ

 

ยิ่งไปกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนเลือดอาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดที่ขาท่อนล่างบริเวณน่องหรือต้นขาด้านใน เนื่องจากมีภาวะเลือดหนืดและเลือดข้นกว่าคนปกติเป็นผลทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดหรือลิ่มเลือดง่ายขึ้น บวกกับหน้าท้องที่ขยายใหญ่ขึ้น ยิ่งส่งผลทำให้การไหลเวียนกลับของเส้นเลือดดำที่ขามีประสิทธิภาพลดลง ทำให้เกิดการอุดตันได้ง่ายขึ้น  

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการนวดที่มีการลงน้ำหนักบริเวณขาเพื่อความปลอดภัย เพราะการใช้แรงกดอาจทำให้ลิ่มเลือดหลุดออกและเคลื่อนตัวไปยังบริเวณอื่นที่อาจส่งผลอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ 

 

ดังนั้น นักนวดบำบัดจึงควรใช้แรงกดอย่างเบาๆ และช้าๆ ที่บริเวณขา และหลีกเลี่ยงการใช้เทคนิคการนวดเหล่านี้ เช่น การนวดแบบกดจุด (Deep acupressure) การนวดแบบชิอัตสึ (Shiatsu) การนวดแบบขวางใยเส้นเอ็น (Cross-Fiber Friction Massage) หรือ การนวดแบบเคาะ (Percussive Tapping)

 

สรุปได้ว่า คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเข้ารับการนวดได้แต่จะต้องเป็นการนวดเพื่อบำบัดเท่านั้น และควรหลีกเลี่ยงการนวดบริเวณท้องเพื่อความปลอดภัยของเจ้าตัวเล็กในครรภ์ แต่ในบริเวณสะโพก ขา และหลัง คุณแม่สามารถนวดได้ตามปกติ แต่ไม่ควรกดหรือเน้นย้ำจุดใดจุดหนึ่งเป็นพิเศษ

 

ช่วงเวลาไหนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงจากการนวด

 

แม้จะมีหลักฐานงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ไม่เพียงพอเกี่ยวกับการนวดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีเอกสารที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ห้ามนวด ไม่ว่าจะอายุครรภ์เท่าไหร่คุณแม่ก็สามารถเข้ารับการนวดได้ โดยเฉพาะในช่วงของการตั้งครรภ์เดือนที่ 5-6 ร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก รวมไปถึงมีอาการปวดเมื่อยตามบริเวณต่างๆ มากขึ้น 

 

การนวดจะสามารถช่วยให้คุณแม่บรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้นได้ดี เพียงแต่ต้องเข้ารับการนวดกับนักนวดบำบัดที่ได้รับการอบรมและมีใบรับรองเท่านั้น แต่หากคุณแม่สังเกตได้ว่าตนเองมีอาการเหล่านี้ เราขอแนะนำให้คุณแม่หลีกเลี่ยงการนวดคนท้องไปก่อน เช่น 

 

  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือแพ้ท้อง
  • มีความเสี่ยงในการแท้งสูง
  • คุณแม่ตั้งครรภ์มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง เช่น ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (ภาวะที่รกหลุดออกจากผนังมดลูกเล็กน้อย) หรือการคลอดก่อนกำหนด

 

เสริมสร้างประสบการณ์ด้วยน้ำมันนวดช่วยให้การนวดของคุณแม่ตั้งครรภ์พิเศษมากยิ่งขึ้น

 

การนวดสามารถสร้างความมหัศจรรย์ให้กับร่างกายและอารมณ์ของคุณแม่ได้ และการใช้น้ำมันนวดที่ปลอดภัยสำหรับการตั้งครรภ์และให้นมบุตรก็จะยิ่งสามารถยกระดับประสบการณ์การนวดของคุณแม่ไปได้อีกขั้น!

เราขอแนะนำ น้ำมันนวด Mama’s Choice Relaxing Massage Oil จากแบรนด์ Mama’s Choice มีส่วนผสมของเกรปฟรุต ลาเวนเดอร์ น้ำมันส้ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก และวิตามิน E ผสานพลังธรรมชาติช่วยคุณแม่ผ่อนคลายไปกับการนวดในระหว่างตั้งครรภ์ได้อย่างเต็มที่ ด้วยคุณสมบัติพิเศษต่างๆ เฉพาะตัวของแต่ละส่วนผสม ดังนี้ 

  • เกรปฟรุต ลักษณะเฉพาะตัวของผลไม้รสเปรี้ยวชนิดนี้ จะช่วยเสริมให้น้ำมันมีกลิ่นหอม หวาน และสดชื่น สามารถกระตุ้นพลังงานในร่างกาย และทำให้รู้สึกแจ่มใส อารมณ์ดี
  • ลาเวนเดอร์ สมุนไพรธรรมชาติซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายว่ามีคุณสมบัติในการสร้างความรู้สึกผ่อนคลาย บรรเทาความวิตกกังวล ลดอาการตึงเครียด และช่วยลดอาการปวดหลัง
  • น้ำมันส้ม มอยส์เจอไรเซอร์จากธรรมชาติที่รู้จักกันดีในเรื่องการบำรุงผิวพรรณ และช่วยไม่ให้ผิวแห้ง
  • น้ำมันมะกอก ป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ ยับยั้งความเสียหายของผิวที่ขยายอย่างรวดเร็ว และป้องกันการเกิดริ้วรอยและความเสื่อมโทรม
  • น้ำมันมะพร้าว น้ำมันบริสุทธิ์เกรดอาหาร ช่วยเติมความชุ่มชื้นให้กับผิวที่แห้ง ทำให้ผิวมีน้ำมีนวลขึ้น

Mama’s Choice Relaxing Massage Oil ปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่างๆ เช่น พาราเบน ไตรโคลซาน แอลกอฮอล์ พทาเลท และ SLS ปลอดภัยกับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร 100% เพียงแค่เทน้ำมันนวดปริมาณเล็กน้อยลงบนฝ่ามือ ค่อยๆ เกลี่ยน้ำมันให้ทั่วบริเวณที่ต้องการแล้วนวดเบาๆ และเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ควรใช้ก่อนนอนหรือทุกเวลาที่คุณแม่ต้องการพักผ่อนและคลายความเครียด

 

 

ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการนวดในระหว่างตั้งครรภ์ที่ theAsianparent ได้นำมาฝากกัน เราเองก็หวังว่าข้อมูลจะเป็นประโยชน์เล็กๆ ให้กับคุณแม่หลายๆ คน และที่สำคัญการนวดคนท้องไม่ได้อันตรายอย่างที่คุณแม่หลายคนเป็นกังวล แต่ถึงอย่างนั้นก็อย่าลืมปรึกษากับแพทย์ก่อนเข้ารับการนวดกันด้วยนะคะ  

 

อ้างอิง

 

https://wb.md/3ps1a9O

https://bit.ly/3CcJwOI

https://bit.ly/3wbBkud

https://bit.ly/3wcLRW2

บทความโดย

Wanvisa Cinna