ทำความรู้จัก "พลังงานหมุนเวียน" พลังงานรูปแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) เป็นทางเลือกการสร้างพลังงานจากธรรมชาติที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ เพราะสามารถสร้างได้อย่างไม่จำกัด และช่วยลดอัตราการเกิดภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี ถึงแม้อาจไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถลงทุนสร้างพลังงานประเภทนี้ได้ แต่การได้รู้จักกับพลังงานหมุนเวียนไว้ก่อน ก็เป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยใหม่นี้

 

พลังงานหมุนเวียนคืออะไร

พลังงานหมุนเวียน หรือพลังงานทดแทน คือ พลังงานที่มีแหล่งที่มาจากธรรมชาติที่สามารถให้พลังงานบริสุทธิ์ ไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อย ๆ ตัวอย่างเช่น พลังงานจากน้ำ, ลม, แสงอาทิตย์ หรือก๊าซชีวภาพ เป็นต้น และด้วยความปลอดภัยต่อตัวธรรมชาติ สามารถหมุนเวียนได้ พลังงานที่เกิดจากกระบวนการเหล่านี้จึงมักถูกนำมาใช้ทดแทนพลังงานประเภทที่ใช้แล้วหมดไป เพราะพลังงานที่มีจำกัดหลายชนิดส่งผลเสียต่อธรรมชาติได้ เช่น พลังงานจากน้ำมัน, ทรายน้ำมัน หรือถ่านหิน เป็นต้น นอกจากนี้ พลังงานทดแทนยังมีส่วนช่วยลดภาวะการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ทำให้โลกร้อนได้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ปัญหาขยะล้นเมือง ช่วยกันแก้ไขได้ด้วยการ “ลดขยะ” ทำได้ใน 6 วิธี

 

วิดีโอจาก : Siwatt Youtube

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันมีแนวโน้มถูกทำลายมากกว่าที่จะถูกฟื้นฟู การออกมารณรงค์เรื่องการลดขยะ, การรีไซเคิล อาจไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหานี้ พลังงานทดแทนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเร่งพัฒนา และเพิ่มจำนวนการผลิต หากทำสำเร็จจะมีแต่ผลดีก็ว่าได้

 

ประเภทของพลังงานหมุนเวียน

ด้วยความสำคัญของพลังงานทดแทนนี้ในยุคที่โลกกำลังร้อนขึ้นในทุก ๆ ปี การปรับเปลี่ยนธรรมชาติบางส่วน มาสร้างเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยไม่ส่งผลเสีย หรือสร้างมลพิษใด ๆ ถูกผลิตออกมาหลากหลายวิธี ได้แก่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • พลังงานน้ำ (Hydropower) : เป็นการใช้น้ำเพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้า โดยจะขึ้นอยู่กับระดับน้ำ และอัตราการไหลของน้ำภายในเขื่อน โดยมีรูปแบบพลังงานหลายรูปแบบ เช่น โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบน้ำไหลผ่านตลอดปี (Run-ofriver), โรงไฟฟ้าพลังน้ำจากอ่างเก็บน้ำ (Reservoir), โรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน และโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ (Pumped-storage) เป็นต้น
  • พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) : หลายคนอาจคุ้นชินกับการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เป็นอย่างดี นั่นคือ โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ส่วน โรงงานพลังงานที่ผลิตจากพลังแสงอาทิตย์มีอยู่หลายพื้นที่ เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี และโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ผาบ่อง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น
  • พลังงานลม (Wind Energy) : พลังงานชนิดนี้สามารถหาได้ง่าย และมักเกิดขึ้นเป็นปกติในธรรมชาติอยู่แล้ว โดยหลักการสร้างพลังงานมาจากการใช้กังหันลม โดยปริมาณของพลังงานขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน ได้แก่ สถานที่ติดตั้งกังหันลม, ความเร็วของลม และความยาวของใบพัด ปัจจุบันมีจุดเปลี่ยนพลังงานลมเป็นพลังงานไฟฟ้าอยู่หลายจังหวัด เช่น กังหันลมผลิตไฟฟ้า บริเวณแหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต หรือ กังหันลมผลิตไฟฟ้า บริเวณอ่างพักน้ำตอนบนโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนาอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น
  • พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Energy) : เป็นพลังงานที่อยู่บริเวณอยู่ใต้พิภพ มีความคล้ายกับน้ำมันปิโตรเลียม แต่จะอยู่ในรูปแบบของน้ำร้อน และไอน้ำ โดยมีการนำพลังงานเหล่านี้ไปใช้ในรูปแบบของความร้อน อาจไม่เพียงพอต่อการสร้างพลังงานด้วยตนเอง พลังงานนี้จึงถูกนำไปเป็นส่วนหนึ่งของแรงขับเคลื่อนในกังหันลมเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ต่อไป
  • พลังงานชีวมวล (Biomass) : มักมาได้จากหลายรูปแบบในลักษณะของสารอินทรีย์ ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ทั้งจากเกษตรกร หรือมาจากอุตสาหกรรมพลังงาน เช่น ฟางข้าว, อ้อย, กากมันสำปะหลัง, กะลามะพร้าว, ขยะมูลฝอย ไปจนถึงน้ำเสียจากโรงงาน เป็นต้น พลังงานชีวมวลถูกแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ การเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลโดยตรง (Direct Combustion) และกระบวนการเคมีความร้อน (Thermochemical Conversion)

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประโยชน์จากการใช้พลังงานหมุนเวียน

พลังงานหมุนเวียน หรือพลังงานทดแทน มีเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อหาแนวทางการผลิตพลังงานไฟฟ้าอย่างไม่จำกัด เพื่อรองรับพลังงานที่อาจใช้แล้วหมดไปในอนาคต และแน่นอนว่าประโยชน์อีกข้อหนึ่ง คือ เพื่อช่วยธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพลังงานจากธรรมชาติมีอยู่บนโลกอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานในการค้นหาแต่อย่างใด เพียงแค่คิดกระบวนการนำมาใช้ให้ได้เท่านั้น และการใช้พลังงานธรรมชาติไม่ได้ส่งผลให้สิ่งนั้น ๆ ในธรรมชาติลดลง หรือหมดไปแต่อย่างใด ในปัจจุบันเราสามารถจับต้องพลังงานเหล่านี้ได้ในบางรูปแบบ ตัวอย่างเช่น การใช้พลังงานไฟฟ้าจากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ หรือถ้าหากมีทุนเยอะเราก็อาจจะได้เห็นกังหันลมสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น ยิ่งผู้คนให้ความสนใจ และให้ความสำคัญกับการทดแทนพลังงานมากเท่าไหร่ การพัฒนาก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในอนาคตเราอาจไม่ต้องกลัวเรื่องการขาดพลังงาน และยังช่วยฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมได้ในช่วงวิกฤติอีกด้วย

 

พลังงานทดแทน สร้างจากสิ่งที่มีไม่จำกัด และเป็นสิ่งที่หาได้โดยไม่ต้องพึ่งการขุดหา อาจผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน แต่สิ่งที่ได้นั้นมีความคุ้มค่าในระยะยาว เราเองหากไม่สามารถครอบครองการผลิตพลังงานชนิดนี้ได้ ก็ควรช่วยสิ่งแวดล้อมในทางอื่นเช่นกัน

 

ร่วมด้วยช่วยกัน ให้คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์แข็งแรง ! คลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ 

 

บทความที่น่าสนใจ

รียูส (Reuse) ขั้นตอนการใช้ซ้ำง๊ายง่ายพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

รีไซเคิลกระดาษ ทำง่าย ใช้งานได้จริง และความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

ผักออแกร์นิค (Organic) คุณค่าทางอาหาร คุณเคยลิ้มลองแล้วหรือยัง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มาข้อมูล : egat wikipedia

บทความโดย

Sutthilak Keawon