แม่รู้ไหม สมองลูกพัฒนาได้ แม้ในขณะนอนหลับ

แม่ ๆ เคยสงสัยกันไหมว่า ขณะที่ลูกนอนหลับ สมองได้พักไปพร้อมกันไหม? หรือแท้จริงแล้ว ระหว่างนอนหลับ สมองไม่ได้หลับไปด้วย? แล้วถ้าลูกหลับไม่สนิท ตื่นบ่อย นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือ นอนกรน จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาสมองหรือไม่ ? ไปหาคำตอบพร้อมกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มีผลวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ สมอง และ การนอนหลับ ของเด็ก ๆ จำนวนมาก ที่แสดงให้เห็นว่า สมองของลูกสามารถพัฒนาได้ แม้ในขณะ นอนหลับ ได้แก่

  • ในช่วงอายุ 3 ปีแรกของชีวิต เด็ก ๆ ล้วนใช้เวลากว่า 50 % ไปกับ การนอน 
  • สมองของเด็กจะเพิ่มขนาดขึ้นเป็น 2 เท่าจากช่วงแรกเกิด เมื่ออายุได้ 1 ปี และเมื่ออายุ 9 ปี สมองของเด็กจะมีขนาดประมาณ 95% ของสมองผู้ใหญ่
  • ในแต่ละวัน เด็กเล็กสมองใช้พลังงาน 60% และเด็กโตสมองใช้พลังงาน 40% ของพลังงานที่ได้รับมาทั้งหมด สำหรับเซลล์ประสาท 100,000 ล้านเซลล์ในสมอง โดย 2 ใน 3 ของพลังงาน ใช้ในการเชื่อมต่อ และสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท
  • การนอนหลับ เป็นการเปิดโอกาสให้สมองได้ทบทวนข้อมูลที่ได้รับมาทั้งวัน และเปลี่ยนเป็นความทรงจำ พร้อมนำกลับมาใช้ใหม่ 
  • การนอนที่มีคุณภาพ จะช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพของสมอง และการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น 

กลไกความสัมพันธ์ของ “การนอน” กับ “การทำงานของสมอง” ในระหว่างลูกหลับสนิท

ช่วงอายุ 1 – 3 ปี เป็นวัยที่มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เด็ก ๆ จะใช้เวลาในช่วงกลางวันเรียนรู้เรื่องราวใหม่ ๆ รอบตัวอย่างไม่รู้เบื่อ และช่วงกลางคืน ในระหว่างหลับสนิท สมองจะทำการโอนย้ายข้อมูลที่เรียนรู้มาตลอดวัน จาก หน่วยความจำระยะสั้น (Short Term Memory) ไปยัง หน่วยความจำระยะยาว (Long Term Memory) ซึ่งเป็นสมองส่วนที่สามารถบรรจุข้อมูลที่รับรู้มาตลอดชีวิตได้มากกว่า 3 ล้านชั่วโมง

 

กระบวนการถ่ายโอนข้อมูลของ หน่วยความจำระยะสั้น (Short Term Memory) ซึ่งเป็นความทรงจำที่เกิดขึ้นใหม่ทุกวัน เกิดขึ้นในสมองส่วนที่เรียกว่า ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ด้วยพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ข้อมูลที่ได้รับมาทั้งหมดในแต่ละวัน จำเป็นต้องถูกคัดเลือก จัดสรร จัดระเบียบ และย้ายไปจัดเก็บเพื่อรอการเรียกกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง ในส่วนที่เรียกว่า ความทรงจำระยะยาว (Long Term Memory) ทั้งนี้เพื่อให้ หน่วยความจำระยะสั้น มีพื้นที่ว่างเพียงพอสำหรับการเรียนรู้ใหม่ ๆ ในวันรุ่งขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ในทางกลับกัน หากเด็ก ๆ นอนหลับยาก นอนดึก นอนหลับไม่สนิท ตื่นบ่อย นอนกรน นอนผวา หรือหยุดหายใจขณะหลับ ถือเป็นการนอนหลับไม่มีคุณภาพ ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการถ่ายโอนข้อมูลภายในสมอง รวมทั้งยังมีผลกระทบต่อร่างกาย เช่น รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยหน่าย ไม่อยากเรียนรู้ หงุดหงิดง่าย งอแง และไม่มีสมาธิ รวมถึงทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพออีกด้วย

 

นอนหลับ แบบไหน ช่วยให้สมองพัฒนาได้เต็มที่ ?

การนอนหลับที่ช่วยให้สมองพัฒนา และถ่ายโอนข้อมูลได้ดีที่สุด เกิดขึ้นในช่วงที่เรียกว่า ระยะหลับลึก (Slow wave sleep) เป็นช่วงที่หลับสนิทมากที่สุด อุณหภูมิในร่างกายจะลดลง ความดันโลหิตลดลง และหัวใจเต้นช้าลงเหลือประมาณ 60 ครั้งต่อนาที ในขณะที่สมองทำการโอนย้ายข้อมูลนั้น ร่างกายก็จะหลั่ง โกรทฮอร์โมน (Growth hormone – GH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้เด็ก ๆ เจริญเติบโต มีพัฒนาการที่ดีไปพร้อม ๆ กัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ชั่วโมงการนอนหลับที่เหมาะสมของเด็กแต่ละวัย จะแปรผันไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น เช่น

  • ทารกแรกเกิด – 12 เดือน ต้องการการนอนหลับพักผ่อนต่อวันประมาณ 12 – 16 ชั่วโมง
  • เด็กเล็กอายุ 1 – 2 ปี ควรนอนพักผ่อนให้ได้วันละ 11 – 14 ชั่วโมง
  • เด็กอายุ 3 – 5 ปี ควรนอนพักผ่อนให้ได้วันละ 10 – 13 ชั่วโมง
  • เด็กโตอายุ 6 – 12 ปี ควรนอนหลับให้ได้ 9 – 12 ชั่วโมง

 

ในกลุ่มของทารกแรกเกิด จะใช้เวลานอนเกิน 70% ของเวลาทั้งวัน และนอนวันละหลายรอบ เนื่องจากไม่สามารถแยกแยะเวลากลางวัน หรือกลางคืนได้ ทำให้อาจใช้เวลานอนกลางวันได้นานหลายชั่วโมงพอ ๆ กับระยะเวลาการนอนหลับในตอนกลางคืน แต่เด็ก ๆ จะค่อย ๆ ลดชั่วโมงการนอนกลางวันลง และหลับในตอนกลางคืนได้นานขึ้น เมื่ออายุได้ 4 – 6 เดือนขึ้นไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ดังนั้น สิ่งที่ผู้ปกครองควรทำคือการปลูกฝังให้ลูก ๆ มี พฤติกรรมการนอนที่ดี ตั้งแต่วัยเด็ก เช่น เข้านอนและตื่นเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน งดกิจกรรมที่ทำให้นอนหลับยาก สร้างบรรยากาศในห้องให้เอื้อต่อการนอนมากที่สุด หากลูกมีพฤติกรรมไม่ยอมนอน หรือนอนหลับยาก คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องค้นหาปัจจัยที่ทำให้เด็กไม่ยอมหลับ และแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ตรงจุดโดยเร็วที่สุด เช่น พาเข้านอน เปิดเพลงสร้างบรรยากาศให้ง่วงนอน เล่านิทาน หรือให้ดื่มนมอุ่น ๆ ที่มีสารแอล-ทริปโตเฟน ช่วยให้ลูกนอนหลับได้ดีขึ้น เป็นต้น

 

ทำความรู้จัก แอล-ทริปโตเฟน (L-Tryptophan) สารอาหารที่ช่วยให้ลูกนอนหลับอย่างมีคุณภาพ

แอล-ทริปโตเฟน (L-Tryptophan) เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ช่วยให้นอนหลับสนิท และมีคุณภาพ เป็นสารอาหารซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น พบได้ใน เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม โปรตีนจากถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวไม่ขัดสี ปลาทะเล ไข่ รวมทั้งในผลไม้บางชนิด เช่น กล้วย กีวี แคนตาลูป สับปะรด และแตงโม 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อเด็ก ๆ ทานอาหารที่มีสารแอล-ทริปโตเฟนเข้าไป สมองจะทำการเปลี่ยนสารแอล-ทริปโตเฟน เป็น เซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็น สารสื่อประสาทตั้งต้น ในระบบประสาทส่วนกลาง ทำหน้าที่สร้าง ฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และนอนหลับได้ดี

 

หากคุณแม่พบว่าเด็ก ๆ นอนหลับยาก สามารถให้ลูกดื่มนมที่มีแอล-ทริปโตเฟน (L-Tryptophan) ก่อนนอนจะช่วยให้หลับง่าย หลับสบาย และหลับสนิท เนื่องจาก แอล-ทริปโตเฟน (L-Tryptophan) มีคุณสมบัติช่วยให้นอนหลับอย่างมีคุณภาพ ทำให้สมองสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่ พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เมื่อตื่นขึ้นมาในเช้าวันรุ่งขึ้น 

นอกจากนี้ ในนมยังมีสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพสมอง เช่น DHA และสฟิงโกไมอีลิน ที่ช่วยสร้างปลอกไมอีลิน ส่งเสริมการเชื่อมโยงการทำงานของเซลล์ประสาท ทำให้ส่งสัญญาณได้เร็วกว่า ช่วยให้เด็ก ๆ คิดเร็ว เรียนรู้ไว

การที่คุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญกับสมองลูกทั้งในยามหลับและตื่น นอกจากจะช่วยให้สมองพัฒนาได้เต็มศักยภาพแล้ว การมีสมองที่ดี ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยเสริมสร้างทักษะพื้นฐานสู่การเรียนรู้นอกกรอบในอนาคตได้อีกด้วย 

สำหรับคุณแม่คนไหนที่ต้องการให้ลูกน้อยเติบโตได้อย่างสมวัยและมีพัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุ 1 ขวบขึ้นไป คุณแม่สามารถเสริมพัฒนาการทางด้านสมองและร่างกายให้ลูกน้อยได้ง่ายๆ โดยรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเสริมด้วยนมกล่องสำหรับเด็ก 1 ขวบ เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อยในช่วงขวบปีแรก

 

ทำความรู้จัก สารแอล-ทริปโตเฟน เพิ่มเติม คลิกที่นี่

 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. DK. กฤติกา ชินพันธ์ แปล. (2564) สารานุกรมความรู้ ร่างกายมนุษย์. นานมีบุ๊คส์, 38-42 และ 68-75.
  2. https://th.rajanukul.go.th/preview-3501.html
  3. https://www.sikarin.com/doctor-articles/การนอนหลับ-กลไกสำคัญพัฒนาการเรียนรู้ของลูกน้อย
  4. https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/health-tips/how-to-get-quality-sleep 
  5. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-knowledge-article-info.php?id=456
  6. Gilmore JH, et al. Nat Rev Neurosci. 2018 Feb 16; 19(3): 123–137. 
  7. Jiang F, et al. Ann Nutr Metab. 2019;75 Suppl 1:44-54.

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team