พ่อแม่ต้องรู้ วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาดสมวัย ตั้งแต่เด็กจนโต

แน่นอนว่าใคร ๆ ก็อยากเลี้ยงให้ลูกเป็นเด็กฉลาด แต่หาก เลี้ยงลูกให้ฉลาดสมวัย ล่ะ จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าหรือไม่ ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด คือการปล่อยให้การเรียนรู้ของลูกเป็นไปโดยธรรมชาติ ย่อมจะส่งผลให้ลูกมีพัฒนาการต่าง ๆ ที่สมวัย การบังคับ  คาดหวัง หรือผลักดันให้ลูกไปไกลเกินกว่าความพร้อม ยิ่งจะส่งผลเสียไม่ว่าทางใด ก็ทางหนึ่ง นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าภาควิชาจิตเวช จิตแพทย์เด็ก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ได้เคยกล่าวว่า เลี้ยงลูกแบบไหน ก็ได้แบบนั้น แน่นอนว่าใคร ๆ ก็อยากเลี้ยงให้ลูกเป็นเด็กฉลาด แต่หากมี วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาดสมวัย ล่ะ จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าหรือไม่ ?

วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาดสมวัย

ลูกน้อยแรกเกิดถึง 12 เดือนแรก

ลูกน้อยในช่วง 12 เดือนแรก จะตัวติดกับแม่มาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 เดือนหลังคลอด เรียกได้ว่าแทบจะเป็นคน ๆ เดียวกันเลยก็ว่าได้ ใน 3 – 6 เดือนต่อมา แม้จะค่อย ๆ ห่างกันได้บ้าง แต่ก็ยังจะต้องดูแลกันอย่างใกล้ชิด ปัญหาหนึ่งของแม่หลังคลอด ก็คือการลาคลอดได้เพียง 3 เดือน ซึ่งยังไม่เพียงพอสำหรับการดูแลลูกวัยทารกอยู่ดี ความสัมพันธ์ของแม่ลูก จึงอาจอ่อนแอลง

เลี้ยงลูกแรกเกิดถึง 3 เดือน

ไม่กี่วันหลังคลอด คุณแม่อาจจะได้เห็นรอยยิ้มของลูกเป็นครั้งแรก พัฒนาการสมองของทารกเริ่มขึ้นตั้งแต่วันแรกที่พวกเขาเกิดมา ลูกมีสัญชาตญาณการยิ้ม ร้องไห้ ส่งเสียง และตอบสนองต่อสัมผัสของคุณแม่ได้ การผูกสายใยสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

  • การเคลื่อนไหวที่ยังไม่ประสานกันดี

ถ้าหากแม่ลองสังเกตการเคลื่อนไหวของลูก จะเห็นว่าการขยับแขน ขา ยังไม่ประสานกันดี คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรควบคุมการเคลื่อนไหวของลูก ทารกน้อยควรจะเคลื่อนที่อย่างเป็นอิสระ แม่อาจจะช่วยนำทิศทางของแขน และขาให้ไปในทิศทางเดียวกันได้บ้าง เหตุผลเพื่อให้แม่และลูกได้สัมผัสใกล้ชิดกันมากกว่า

  • สัมผัสรักจากพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด

อย่างเช่นที่กล่าวไปแล้วว่า ในช่วงแรกคลอด จนถึง 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาที่ลูกและแม่ จะตัวติดกันมาก ๆ หลังจากนั้นก็จะไม่ได้อุ้มอยู่ในอกนานเท่ากับในช่วงเวลานี้อีกแล้ว อีกทั้งความใกล้ชิด และการสัมผัสจากพ่อแม่สู่ลูก เป็นเสมือนเคล็ดลับที่จะช่วยให้ลูกรู้สึกปลอดภัย และมีพัฒนาการที่เหมาะสมด้วย อุ้มเข้าไว้ในอกบ่อย ๆ กอด หอม และแสดงความรักที่มีล้นในอกแม่ แม้ในเวลานี้ ลูกยังพูดไม่ได้ ยังฟังไม่เข้าใจ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องหมั่นพูดกับลูกบ่อย ๆ ใช้น้ำเสียงที่หลากหลาย ช้าบ้าง เร็วบ้าง ดังบ้าง เบาบ้าง ลองสังเกตสีหน้าของลูกเวลาได้ยินว่าสนุกมีความสุขมากเพียงใด

เลี้ยงลูก 3 – 6 เดือนแรก

ลูกน้อยอายุ 3 เดือนเริ่มมีวิสัยทัศน์ในการมองเห็นที่กว้างขึ้นลูก ลูกจึงพอจะจดจำสิ่งรอบ ๆ ตัว และคนใกล้ชิดได้บ้างแล้วว่า ใครกันนะ ที่เขามองเห็นอยู่ตลอดเวลา ลูกจะเริ่มเชื่อใจคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น ส่วนร่างกายก็เริ่มมีความแข็งแรงมากขึ้นด้วย เด็ก ๆ จะเรียนรู้การคว่ำตัว การเคลื่อนที่ ไปจนถึงการลุกขึ้นนั่ง ฟังดูแล้วน่าตื่นเต้นทีเดียว เป็นพัฒนาการที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องปรบมือให้แน่ ๆ เลย

สิ่งสำคัญก็คือ เมื่ออายุครบ 6 เดือน ก็ได้เวลาที่ลูกจะได้ลิ้มลองอาหารอื่น ๆ นอกจากนมแม่เป็นครั้งแรก เลือกสรรอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบครัน เพื่อเสริมสร้างกระบวนการภายในให้พร้อมสำหรับการเรียนรู้ของลูกต่อไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • จุดเริ่มต้นของทักษะการสื่อสาร

เช่นเดียวกันกับการดูแลลูกในทุกช่วงวัย คือการปล่อยให้เขาได้เคลื่อนไหวอย่างที่ใจอยาก คุณพ่อและคุณแม่คอยอยู่ใกล้ ๆ เพื่อให้ลูกมีโอกาสพัฒนาระบบประสาทในทุก ๆ ด้าน ทั้งการสัมผัส การมองเห็น การได้ยิน รวมถึงยิ้มให้ลูก และหัวเราะกับลูกบ่อย ๆ ถ้าคุณแม่เลียนแบบเสียง และท่าทางของลูก ลูกก็อาจจะทำแบบเดียวกันกลับมาด้วย

ลูกในวัยนี้มีพัฒนาการด้านการมองเห็นที่ดีขึ้นแล้ว ของเล่นที่มีสีสันสดใส สีตัดกัน จะช่วยดึงดูดสายตา และความสนใจของลูกได้ ถ้าคุณแม่หยิบสิ่งของมาไว้หน้า จะเห็นว่าลูกพยายามอย่างมากทีเดียว ที่จะจับหรือคว้าสิ่งเหล่านั้น ซึ่งเป็นการเล่นที่ถูกใจลูกมาก

  • การหยิบจับ และสัมผัส

หากคุณแม่นำของใช้ที่ไม่เป็นอันตราย มาไว้ในสายตาของลูก ลูกก็อาจจะเอื้อมมือสัมผัส และพยายามที่จะหยิบคว้าสิ่งของชิ้นนั้น เล่นกิจกรรมที่มีการสัมผัสกันบ่อย ๆ อย่างเช่น จั๊กจี๊เบา ๆ ปูไต่ คุณแม่จะเรียกเสียงหัวเราะ และรอยยิ้มจากลูกไปได้เยอะแยะเลย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เลี้ยงลูกน้อยวัยซน 2 ขวบขึ้นไป ให้ฉลาดสมวัย

เลี้ยงลูกวัย 2 – 3 ขวบ

สำหรับลูกน้อยวัย 2 ขวบ พวกเขาจะเริ่มมีความอยากรู้อยากเห็นพร้อมที่เรียนรู้ และตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญคือ ดื้อขึ้นมาก ๆ อีกด้วย ไม่เพียงแค่นั้นเด็ก ๆ ยังมีความสามารถในการกลั้นอีกหลายอย่าง เช่น การกลั้นฉี่ กลั้นอึ บางครั้งลูกอาจจะไม่ยอมอึ ไม่ยอมฉี่ ทั้ง ๆ ที่ปวด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อย่าไปกดดันลูกมาก ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติจะดีกว่า

  • ลูกน้อยจอมพลัง

พัฒนาการที่สำคัญอีกอย่างของวัยซน 2 – 3 ขวบนี้ ก็คือ กล้ามเนื้อมัดใหญ่บริเวณแขนขา พวกเขาจะใช้พลังแขนและขาเยอะมาก ทั้งวิ่ง ทั้งเดิน จนพ่อแม่ตามไม่ทันเลยทีเดียว แถมยังขว้างปาสิ่งของด้วยพลังอันล้นเหลืออีกด้วย หากว่าลูกขว้างปา หรือเตะข้าวของ คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งอารมณ์เสีย หรือดุด่าลูก เปลี่ยนมาเป็นการสอน หรือชวนลูกไปเล่นโยนลูกบอล ลูกโป่งแทน ก็จะช่วยเรื่องพัฒนาการเข้าไปได้อีก

เด็ก 3 ขวบ จะเริ่มสร้างตัวตน และแสดงออกมา ตั้งแต่การกิน เดิน เรียน เล่น ทำงาน มีความรัก คุณพ่อคุณแม่ควรจะสังเกต และคอยให้คำแนะนำ ดีกว่าจะห้าม หรือพยายามสร้างตัวตนของลูก แทนตัวของเขาเอง

เลี้ยงลูกวัย 4 – 5 ขวบ

พัฒนาการของเด็กวัยนี้จะเน้นที่กล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยเฉพาะนิ้วมือ ลูกน้อยสามารถฝึกทักษะด้านนี้ ด้วยการวาดภาพ ระบายสี พับกระดาษ เล่นบทบาทสมมติ วิ่งไล่จับ ปีนต้นไม้ และอ่านหนังสือ ดีกว่าการฝึกนิ้วมือด้วยการเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต รวมทั้งอย่าบังคับให้ลูกต้องเขียนพยัญชนะภาษาไทยให้ได้ทั้งหมด เขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษให้ครบ เพราะหน้าที่ของลูกในวัยนี้คือการเล่น ไม่ใช่การเขียน อย่าลืมว่าลูกยังต้องเรียนหนังสือไปอีกนาน ด้วยทักษะการใช้นิ้วมือที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจทำให้บางบ้าน มีฝาผนัง ประตู ข้าวของ และเฟอร์นิเจอร์ที่เต็มไปด้วยรอยขีดเขียนเต็มไปหมด

  • ความหลากหลายทางเพศ

อีกสิ่งหนึ่งที่หนูน้อยสนใจไม่แพ้กันคือ เพศศึกษา และเริ่มมีกิริยาท่าทางตามเพศที่เขาจะเป็น ไม่ควรปิดกั้นลูก หน้าที่ของพ่อแม่เพียงแค่บอกว่า โลกใบนี้มีความหลากหลายทางเพศมาก แม้วิทยาศาสตร์อาจจะแบ่งลักษณะอวัยวะออกมาเพียงสองก็ตาม

เลี้ยงลูกวัย 6 – 12 ขวบ

หนูน้อยวัยนี้มีหน้าที่ส่วนใหญ่ กับการตื่นนอนเพื่อไปโรงเรียน และเป็นวัยที่อยากจะสร้างผลงาน อยากมีเพื่อน และสร้างกลุ่ม สร้างทีมที่ตัวเองมีส่วนร่วม การสร้างของเด็กจะประกอบด้วย 3Cs ได้แก่

  • Compete – เข้าไปเพื่อแข่งขัน ต่อสู้ ชิงดีชิงเด่นกับเพื่อน ๆ
  • Compromise – หลังจากแข่งขัน ลูกต้องเรียนรู้ที่จะประนีประนอม รอมชอม
  • Coordinate – เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือต่าง ๆ เช่นการร่วมกันเล่น ร่วมกันทำการบ้าน และร่วมทำโครงการด้วยกัน เป็นต้น

เลี้ยงลูกวัยรุ่น 12 – 18 ขวบ

พอโตขึ้นเป็นวัยรุ่น เด็กจะเริ่มหาอัตลักษณ์ของตัวเอง ลูกอาจจะมีพฤติกรรมประหลาด ๆ นั่นก็เพราะเขายังอยู่ในช่วงของการค้นหาอัตลักษณ์ และตัวตนที่เขาเป็นอยู่ ลูกอาจจะเริ่มมีความรักใคร่เกิดขึ้น มีกลุ่มก๊วน ไปไหนไปกัน และมีความภักดีต่อกลุ่ม ลูกเชื่อเพื่อนมาก พูดอะไรก็ไม่ค่อยฟัง และอาจทำให้พ่อแม่โกรธ และเสียใจ ความเข้าใจ จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกในวัยนี้ได้มากที่สุด

พ่อแม่ควรจะฟังสิ่งที่ลูกพูด มากกว่าจะดุด่าว่าลูกพูดไม่ฟัง พูดไม่เข้าท่า เพราะนั่นจะยิ่งทำให้คุณไม่มีโอกาสได้รู้ และเข้าใจเลยว่าลูกคิดอะไรอยู่ หากจะไปถาม เด็กวัยนี้ก็คงจะไม่ยอมอธิบายง่าย ๆ เอาเสียด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การเลี้ยงดูลูกน้อยให้เติบใหญ่ แต่ละช่วงวัย ก็มีสิ่งพ่อแม่จะต้องระมัดระวัง และใส่ใจ แตกต่างกัน แต่ไม่ว่าลูกจะเติบโตมาอย่างไร เชื่อว่าจะเป็นความภาคภูมิใจให้คุณพ่อคุณแม่ได้อย่างแน่นอน

ที่มา: thepotential , unicef , pregnancybirthbaby

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ชวนแม่ๆ มา เช็คพัฒนาการลูก อะไรบ้างที่คู่มือเลี้ยงลูกไม่ได้บอก

เลี้ยงลูก 1 คนจนโตใช้เงินถึง 1 ล้าน จริงหรือ? กระทู้ร้อนพันทิป ถกเถียงกันใหญ่

ชม 5 ครั้ง ดุ 1 ครั้ง เทคนิคเลี้ยงลูกให้ได้ดี จากคุณหมอ รพ.เด็ก

บทความโดย

Khunsiri