เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นอัจฉริยะ เก่ง ฉลาด นิสัยดี แบบง่ายๆ คุณทำได้

พ่อแม่ที่มีลูกเป็นอัจฉริยะ เค้าเลี้ยงลูกกันอย่างไรนะ?

เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นอัจฉริยะ แน่นอนว่า ไม่ว่าใครก็อยากมีลูกฉลาด หัวไว เรียนเก่ง เติบโตขึ้นมาเป็นคนดี และ ประสบความสำเร็จ ในหน้าที่การงานด้วยกันทั้งนั้น ที่ผ่านมา นักจิตวิทยา ได้ทำการ ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ เรื่องดังกล่าว พบว่า ส่วนมากเด็กที่ เก่ง ฉลาด หัวไว เข้าขั้นอัจฉริยะ ล้วนแล้วแต่ ผ่านการอบรม เลี้ยงดู จากพ่อแม่ด้วยวิธีการที่คล้าย ๆ กัน วิธีการ ที่ว่าจะเป็นอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลย

 

เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นอัจฉริยะ ?

1. ให้ลูกทำงานบ้าน

ถ้าลูก ไม่เคย ทำงานบ้านเลย นั่นก็หมายความว่า มีคนอื่นคอย ทำให้ตลอด พ่อแม่ หลายท่าน อาจเลี้ยงลูก แบบตามใจ อยากให้ ลูกสบายจึงทำให้ทุกอย่าง แต่การให้ ลูกทำงานบ้านนั้น จะเป็นการ ช่วยฝึกให้ ลูกมีความรับผิดชอบ รู้จักหน้าที่ ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ซึ่งจะทำให้เค้า เติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ สามารถ ทำงานร่วมกับ ผู้อื่นได้อย่างไม่มี ปัญหา มีความ เห็นอกเห็นใจ และ คอยช่วยเหลือผู้อื่น อีกทั้ง ยังทำสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ได้ด้วยตัวเอง อย่างมีประสิทธิภาพ

 

2. มีความคาดหวังในตัวลูก

ผลการสำรวจ จากเด็กกว่า 6,600 คน พบว่า การที่พ่อแม่ตั้งความหวัง ในตัวลูกไว้สูงมี ส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของลูก ซึ่งผู้ปกครองที่วางแผนการเรียนให้ลูก คิดถึงมหาวิทยาลัย ในอนาคตสำหรับเด็ก และ มั่นใจว่าลูกจะทำได้ จะส่งผลทำให้เค้ามี ความพยายาม และ ประสบความสำเร็จได้ แต่อย่าลืมคุย กับลูกถึงความชอบของลูกก่อน เพราะไม่เช่นนั้น อาจจะกลายเป็นการบังคับ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อคุณและลูกได้

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 สถานที่เสริมพัฒนาการเด็ก พัฒนาสมองผ่านการเล่นกิจกรรม

 

3. ใช้เวลาอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว

เด็กส่วนใหญ่ ที่มาจากครอบครัวที่ พ่อแม่ทะเลาะกันบ่อย ๆ มีปัญหาหย่าร้าง หรือ ไม่ค่อยมีเวลาอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว เพราะมัวแต่ ทำงานมากจนเกินไป มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับ สภาพจิตใจซึ่งส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการ เรียนรู้ของเด็ก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ จึงควรหาเวลาเพื่อ ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นครอบครัวให้มาก ๆ หากคุณพ่อคุณแม่ ใช้เวลาร่วมกันมาตั้งแต่ลูก ยังอยู่ในท้อง ไปจนลูกเติบโต ก็จะทำให้ลูกได้รับ ความอบอุ่นจากพ่อแม่ ซึ่งจะส่ง ผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็ก

 

 

4. สอนเลขให้ลูกตั้งแต่ยังเล็ก

ครอบครัวที่มีการสอนให้ลูกคิดเลขได้เร็วตั้งแต่ยังเล็ก จะทำให้เด็กสามารถทำความเข้าใจเรื่องอื่น ๆ ได้ง่ายตามไปด้วย เด็กที่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์มักจะมีทางเลือกในการเรียนต่อ และมีทางเลือกในการทำงานมากมาย อีกทั้งผลการค้นคว้าวิจัยแสดงให้เห็นว่า เด็กส่วนใหญ่ที่เก่งคณิตศาสตร์ยังรักการอ่านหนังสืออีกด้วย และสิ่งนี้เองที่จะช่วยให้ลูกเป็นเด็กอัจฉริยะได้ในอนาคต

 

5. ไม่เครียดในบ้าน

แน่นอนว่า ทุกคนล้วนย่อมมีความเครียดด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งถ้าจะไม่ให้เครียดเลย คงเป็นไปได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นความเครียดเรื่องงาน เรื่องเงิน หรือเรื่องครอบครัว แต่เด็กตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 11 ขวบ เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในการกำหนดอนาคตของเด็ก หากพ่อแม่มีความเครียด ก็จะส่งผลต่อไปยังลูก บางครอบครัวอาจจะมีการลงไม้ลงมือ ดุด่า ว่ากล่าวอย่างรุนแรงกับลูกเพราะความเครียด ซึ่งนั่นจะส่งผลเสียกับเด็กอย่างร้ายแรง และจากการสำรวจก็พบว่า ครอบครัวที่มีลูกฉลาด พ่อแม่มักจะอารมณ์ดี ไม่แสดงความเครียดจนไปลงที่ลูก

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ยิ่งขยับ ยิ่งเสริมพัฒนาการ สำหรับเด็ก ๆ ในวัยตั้งแต่ 12 เดือน จนถึง 4 ปี

6. เผด็จการกับลูกบ้าง

คำว่าเผด็จการในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า ต้องคอยออกคำสั่งลูก สั่งอะไรลูกก็ต้องทำ แต่เป็นการเลี้ยงลูกให้อยู่ในกรอบบ้าง ไม่ใช่ตามใจไปเสียทุกอย่าง และชักจูงลูกให้ทำเรื่องต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล อธิบายให้เค้าเข้าใจว่าต้องทำเพราะอะไร ดีอย่างไร ไม่ดีอย่างไร เพราะจะทำให้ลูกรู้ถึงเหตุผล ไม่เก็บกด ไม่เป็นเด็กเอาแต่ใจ และทำให้ลูกมีความเคารพต่อพ่อแม่

 

7. เก็บเงินเพื่อลูกตั้งแต่เนิ่น ๆ

เพราะต้นทุนของคนเรานั้นไม่เท่ากัน แต่การที่พ่อแม่มีเงินเก็บเพียงพอที่จะส่งเสียให้ลูกได้เรียนดี ๆ ก็เท่ากับว่าเข้าใกล้ความสำเร็จล่วงหน้าไปแล้ว 1 ขั้น สำหรับครอบครัวที่มีฐานะดีอยู่แล้วก็อาจจะไม่กังวลเพราะสามารถส่งลูกเรียนในระดับสูงได้เรื่อย ๆ แต่สำหรับครอบครัวอื่น ๆ แล้ว การวางแผนทางการเงินไว้ตั้งแต่ลูกยังไม่เกิด จะทำให้มีเงินเก็บไว้ใช้เลี้ยงลูกและทำให้ครอบครัวมีความสุขได้ในอนาคต

 

8. สอนลูกให้พยายาม

หากลูกต้องทำอะไรสักอย่าง พ่อแม่ควรปล่อยให้เค้าลองทำไป ไม่ควรเข้าไปทำให้ตลอดเวลา แม้ว่าลูกจะทำไม่ได้ในทีแรก และร้องไห้ขอความช่วยเหลือก็ตาม

พ่อแม่ที่มีลูกเก่งมักจะค่อย ๆ อธิบายให้ลูกได้รู้ถึงวิธีการต่าง ๆ และอธิบายสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ อย่างใจเย็น และไม่ใจอ่อนช่วยทำให้ลูกทุกครั้งที่เค้าร้องไห้

อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น คือเรื่องของการสื่อสาร คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยกันคิด ช่วยกันวางแผนอนาคตของลูกตั้งแต่เนิ่น ๆ และเมื่อลูกโตพอที่จะเข้าใจได้ ก็อย่าลืมเปิดใจพูดคุยกับลูกในสิ่งที่เค้ารัก ที่เค้าต้องการจะเป็นด้วยนะ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : สอนลูกปลูก ต้นไม้ เสริมสร้างทักษะและพัฒนาการ ผ่านทางการปลูกต้นไม้

 

 

 

 

เลี้ยงลูกอยางไรให้ลูกฉลาดขึ้น ?

การนิยามความหมายของความฉลาดในแต่ละครอบครัวนั้นอาจมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป ที่เข้าใจได้ทั่วไปคงให้น้ำหนักกับความสามารถในการอ่านออกเขียนได้และมีผลการเรียนที่ดีอยู่เสมอ เป็นวิธีการประเมินสติปัญญาแบบง่ายๆที่พอจะเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ ทั้งที่โดยแท้จริงแล้วความฉลาดของเด็กนั้นยังมีอีกหลายด้านที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม

ในเบื้องต้นคุณพ่อคุณแม่ควรได้เข้าใจว่า ความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) หรือความสามารถในการคิดคำนวณ การเชื่อมโยงเหตุผลและการจดจำนั้นมักติดตัวเด็กมาตั้งแต่เกิด สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำได้คือ ค้นหาความสามารถของเด็กในด้านนั้น ๆ และสนับสนุนเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขณะเดียวกัน ยังมีความฉลาดในด้านอื่นๆอีกหลายด้าน อาทิ ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) หรือการจัดการอารมณ์และพฤติกรรมให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ ความสามารถเข้าสังคม (SQ) การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (CQ) หรือความสามารถเอาชนะอุปสรรค (AQ) ที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาได้โดยวิธีการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีความฉลาดในการใช้ชีวิตและสามารถรับมือกับสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตได้เป็นอย่างดี

 

ด้วยเหตุนี้ วิธีการเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กฉลาดจึงควรให้ความสำคัญกับ 5 ข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้

1. สร้างความไว้วางใจ

เด็กในช่วงขวบปีแรกจะใช้ภาษากาย และการร้องไห้เป็นหลักในการสื่อสารแทนคำพูด แต่ถึงอย่างนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถสร้างความใกล้ชิดกับลูกด้วยการให้ความสนใจและตั้งใจฟัง หมั่นสัมผัสและโอบกอด ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันเสมอ รวมทั้งพูดคุยและเล่าเรื่องต่างๆให้เด็กคุ้นเคยกับน้ำเสียง สีหน้า แววตาและท่าทาง เพื่อสร้างความเชื่อมโยงความสัมพันธ์และเกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยและความอบอุ่นใจจะช่วยให้เด็กพร้อมเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

 

2. กระตุ้นการใช้ประสาทสัมผัส

การกระตุ้นให้เด็กได้ใช้อวัยวะในการรับรู้และสัมผัสอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาการทำงานของระบบประสาทและสมองให้เป็นไปได้ด้วยดี โดยเฉพาะการทำกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้มองดูรูปภาพที่มีสีสันสะดุดตา การหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ที่มีผิวสัมผัสและรูปร่างที่หลากหลาย การฟังเสียงดนตรีและฝึกร้องตามในจังหวะที่น่าเพลิดเพลินใจ หรือการกินอาหารที่มีกลิ่นและรสชาติแตกต่างกัน ล้วนช่วยฝึกฝนการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้และแยกแยะสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

 

3. สร้างความสุขด้วยเสียงหัวเราะ

สังเกตได้เสมอว่าเวลาเด็กหัวเราะจะเป็นเสียงหัวเราะที่เปี่ยมด้วยความสุขอย่างแท้จริง แสดงถึงความสุขทั้งทางกายและใจซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาทักษะและบุคลิกภาพเฉพาะตัวของแต่ละคน เด็กที่เติบโตอย่างมีความสุขมีแนวโน้มที่จะมีความคิดทางบวกและมองโลกในแง่ดี มีความมั่นคงทางจิตใจที่พร้อมเปิดรับและเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้น การที่คุณพ่อคุณแม่ให้เวลาในการเล่นสนุกและหยอกล้อกับลูกเป็นประจำจะช่วยให้เด็กอารมณ์ดีและมีความสุขได้เสมอ

 

4. ปลดปล่อยพลังงาน

เด็กเรียนรู้จากการเล่นที่หลากหลาย ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะทำให้เด็กเกิดพัฒนาทักษะจำเป็นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทักษะในการคิด การตัดสินใจ ความคิดสร้างสรรค์ การฝึกความอดทน หรือแม้แต่ทักษะการเข้าสังคม นอกจากนี้ การเล่นบางประเภทที่ต้องออกแรงจะช่วยปลดปล่อยพลังงาน ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย รวมทั้งได้เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่จำเป็นต่อการเคลื่อนไหวและการทรงตัว ทำให้ไม่เป็นอุปสรรคหรือข้อจำกัดต่อการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง

 

5. จัดระเบียบการใช้ชีวิต

การจัดระเบียบสำหรับเด็กเล็กอาจดูเป็นเรื่องยาก แต่ก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้โดยการฝึกฝนอย่างค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากเรื่องพื้นฐานอย่างเช่นเรื่องการกิน เล่น นอนและขับถ่ายให้เป็นเวลา เมื่อมีกิจกรรมอื่นเพิ่มขึ้นก็ให้จัดสรรเวลาและความรับผิดชอบเพิ่มเติม เด็กจะค่อยๆซึมซับและเคยชินกับการรักษาระเบียบในการดำเนินชีวิตได้ในที่สุด ปัจจัยสนับสนุนที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จได้ก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องมีวินัยในการกำกับดูแลและทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยเช่นกัน

 

การเลี้ยงลูกถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่ติดตัวคุณพ่อคุณแม่ไปตลอดชีวิต จึงย่อมทำให้แต่ละครอบครัวมุ่งหวังที่จะทำหน้าที่นี้ให้ดีที่สุดด้วยการพยายามเลี้ยงลูกให้ฉลาด ซึ่งมีความหมายที่มากกว่าการมีสติปัญญาที่ดีเพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องวางรากฐานวิธีการเลี้ยงดูตั้งแต่แรกเกิดเพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นมาในทิศทางที่เหมาะสมและสามารถนำความฉลาดในด้านต่างๆมาใช้เป็นเครื่องนำทางในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่นและเป็นสุข

 


แหล่งอ้างอิง : (businessinsider)

บทความโดย

P.Veerasedtakul