แม่ท้องกินอาหารแปรรูป เป็นปริมาณมาก เสี่ยงลูกเกิดมาเป็นออทิสติก
หลังจากตั้งครรภ์ คุณแม่มักจะได้ยินเรื่องการดูแลตัวเองค่อนข้างเยอะ ทั้งจากพ่อแม่ ญาติพี่น้อง และ เพื่อน บางเรื่องก็เป็นแนวความเชื่อ บางเรื่องก็มาจากประสบการณ์ส่วนตัว สิ่งเหล่านี้ตุณแม่จะเจอเรื่อยๆ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จนกระทั่งลูกโตเลยทีเดียว ล่าสุดมีผลงานวิจัยหนึ่งพบว่า แม่ท้องกินอาหารแปรรูป กินอาหารแห้ง อาหารที่ใช้วัตถุกันเสียมาก ๆ อาจเสี่ยงต่อการทำให้ลูกเกิดมาเป็นออทิสติกได้ ความจริงคืออะไร มาดูกันค่ะ
นักวิจัยจาก University of Central Florida (UCF) ได้อธิบายว่า หลังจากทำการวิจัย พวกเขาพบว่า เซลล์มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเซลล์ประสาทต้นกำเนิด (neural stem cell) ได้สัมผัสกับกรดโพรพิโอนิคในระดับสูง ซึ่งกรดไพรโอพิโอนิคนี้ เป็นสารเคมีที่พบโดยทั่วไปกับอาหารแปรรูปที่ใช้ในการยืดอายุของอาหาร หรือ สารที่ทำให้อายุไม่เสียง่าย ส่วนใหญ่จะพบในอาหาร ขนมปัง และ ชีส โดยนักวิทยาศาสตร์ยังระบุอีกว่า ยิ่งค่า PPA สูงเท่าไหร่ จะยิ่งทำให้เกิดพัฒนาการของเซลล์ประสาทในสมองของทารกในครรภ์ลดน้อยลง
นอกจากนี้ ดร. Saleh Naser ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยระบบทางเดินอาหารของวิทยาลัยทางการแพทย์ UCF (UCF College of Medicine) ได้เริ่มทำการวิจัยในเรื่องนี้ หลังจากพบว่า เด็กเป็นออทิสติกมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร เช่น ท้องผูกเรื้อรัง และ ลำไส้แปรปรวน ซึ่งจากการวิจัยอย่างต่อเนื่องก็พบว่า ไมโครไบโอม (Microbiome) ที่พบในลำไส้เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาสมอง ทำให้ดร. Naser สงสัยถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างลำไส้และสมอง และ ได้เริ่มการตรวจสอบหาความแตกต่างของแบคทีเรียในลำไส้ของผู้ที่เป็นโรคออทิซึม (ASD) กับ เด็กปกติขึ้น
ทำไมคนท้องควรหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป
จากการศึกษา พบว่า การที่คนท้องได้รับสาร PPA มากเกินไป อาจทำให้เซลล์สมองของทารกในครรภ์ถูกทำลายได้ โดยหลายสาเหตุ มีดังนี้
- สารนี้จะเข้าไปทำลายความสมดุลของเซลล์สมอง ด้วยการลดจำนวนของเซลล์ประสาท และ ผลิตเซลล์เกลีย (glial cells) เพิ่ม ซึ่งเซลล์เกลียจะมีหน้าที่ในการพัฒนา และ ป้องกันการทำงานของระบบประสาท แต่การที่มีเซลล์ชนิดนี้มากเกินไปดันไปทำลายการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์ประสาทมากกว่า จนทำให้เกิดการอักเสบนั้นเอง (เป็นสาเหตุที่พบกันในสมองของเด็กที่เป็นออทิสติก)
- การมีค่า PPA ในระดับสูง จะทำลายเส้นทางการสื่อสารของเซลล์ประสาทกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายสั้นลง หรือ ถูกทำลายลงได้ พอเซลล์ประสาทลดน้อยลง ไหนจะเส้นทางการสื่อสารเสียหายไปอีก ทำให้ความสามาถในการสื่อสารภายในสมองลดลงตามไปด้สย แน่นอนว่า จะส่งผลถึงพฤติกรรมการเคลื่อนไหว และ การโต้ตอบกับผู้อื่นของเด็กค่ะ
ถึงแม้ว่า PPA จะพบโดยปกติอยู่ในลำไส้ของมนุษย์อยู่แล้ว แต่การที่คุณแม่ไปกินอาหารแปรรูปที่มีสาร PPA เพิ่ม มันกลับกลายเป็นตัวที่ทำให้ไมโครไบโอมในของคุณแม่เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยการเพิ่มระดับความเป็นกรดในลำไส้มากขึ้น และ เจ้าสารนี้ก็จะถูกส่งต่อไปยังทารกในครรภ์ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การวิจัยยังคงดำเนินต่อไป และ ต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก่อนที่จะสรุปออกมา ดร. Naser จึงได้มีการทดลองกับหนู เพื่อดูว่า หากให้หนูได้รับสาร PPA ในจำนวนมาก จะทำให้เกิดโรคออทิสติกหรือไม่ ซึ่งจากการทดลองนี้ ดร. และเพื่อน ๆ หวังว่า พวกเขาพบคำตอบ และ สามารถนำไปสู่การศึกษาเพิ่มเติมในระดับขั้นสูง เพื่อหาวิธีป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นกับเด็กในอนาคตได้
The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
souce หรือ บทความอ้างอิง : smartparenting
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
โรคมือเท้าปาก โรคใกล้ตัวเด็กวัยเรียน ทารก-เด็กเล็ก ก็มีโอกาสป่วยง่าย
แม่ท้องฉีดวัคซีน หรือยัง วัคซีนไข้หวัดใหญ่ฉีดในหญิงตั้งครรภ์ ป้องกันภาวะปอดอักเสบ
น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม แม่ท้องมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไรได้บ้าง