4 วิธีฝึกลูกเดินทางได้ ไม่ง้อแท็บเล็ต

ในบทความนี้คุณแม่มือใหม่โดยเฉพาะลูกเล็กๆ ทารกไม่อยากให้พลาด 4 วิธีเริ่มต้น No Screen Time งดเล่นแท็บเล็ต ดูทีวีในรถ เนื่องจากได้ถอดบทเรียนจาก 3 ปีครึ่งที่ผ่านมา เป็นบทเรียนรู้ที่จะแชร์ครั้งนี้จริงๆ เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นที่มีผลระยะยาวไปจนโต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Screen Time คืออะไร คือช่วงเวลาที่เราใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีหน้าจอสกรีน เช่น มือถือ แท็บเล็ต โทรทัศน์ ไอแพด เกมกด…เป็นต้น

จากประสบการณ์กระเตงลูกนั่งรถไปกลับกทม.- สระบุรีเกือบทุกๆ สัปดาห์ ด้วยคาร์ซีทตั้งแต่อายุ 2เดือนจนตอนนี้ลูกใกล้จะ 4 ขวบ บ้านณดาไม่เคยใช่แท็บเล็ต หรือดูการ์ตูนระหว่างการเดินทาง เพราะเรารู้ได้ข้อมูลว่าวิธีการเหล่านี้มีผลเสียมากกว่าผลดี

สำหรับผลเสียของการใช้ screen time มากเกินไปในเด็กเรื่องนี้มีผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวถึงผลเสียต่างๆ คุณพ่อคุณแม่ลองศึกษาตรงนี้เพิ่มเติมนะคะ ดังนั้น สิ่งที่เราอยากแบ่งปันแนวทางก็คือ แล้วเราจะเริ่มต้นไม่ใช้วิธีการที่บอกได้อย่างไรบ้างในกรณีการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวค่ะ

  1. ไม่สร้างเงื่อนไข งดการสร้างเงื่อนไขกับลูก เช่น ..เงียบนะ ถ้าเงียบแม่จะให้เล่นเกม หรือแม่จะเปิด เปิดการ์ตูนให้ดู” เมื่อ screen time คือเงื่อนไขของพ่แม่ได้สำเร็จฉันใด ก็จงอย่าลืมว่าเขาจะเรียนรู้เช่นกันว่า เมื่อไรก็ตามที่ฉันอยากดูฉันจะร้องโวยวายเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการฉันนั้น ดังนั้นเราจึงไม่ใช้ข้อแลกเปลี่ยนนี้สักครั้งกับณดาเลย
  2. ต้องไม่มีครั้งที่ 1 … เพราะเมื่อมีครั้งแรกก็ต้องมีครั้งที่ 2 เพราะเด็กเรียนรู้ว่านี่คือสูตรสำเร็จ ดิ้นรนแล้วได้ผลลัพธ์ที่เขาต้องการเช่นในข้อ 1 แต่ถ้าใครดันเผลอมีครั้ง 1 ครั้ง 2 ไปแล้วอยากเลิก เราคงต้องใจแข็งและลองใช้วิธีการข้อ 3-4 ดูนะคะ
  3. ฟังเพลง อ่านหนังสือ หากิจกรรมอื่น เปิดเพลงนิทาน audio ภาษาอังกฤษในรถแทน หนังสือนิทานเล่มโปรด ตุ๊กตา ของเล่นมีเสียง สัมผัสได้ ยิ่งทารกการได้หยิบจับสัมผัสใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดน้อยมีความสำคัญต่อพัฒนาการด้วยเช่นกันค่ะ หรือโตแล้วอาจจะใช้แป้งโดว์ หรือของเล่นที่สามารถเล่นในรถได้
  4. เป็นเพื่อนเล่นให้ลูก ในกรณีที่พ่อขับรถ แม่นั่งข้างๆ หรือใครสักคนที่นั่งข้างๆ คือของเล่นชิ้นที่ดีมากๆ ยกตัวอย่างกิจกรรมที่แป้งจะใช้ตลอดการเดินทางเวลาเป็นเพื่อนเล่นให้ลูก เช่น เล่นแมงมุม/นิ้วโป้งอยู่ไหน /จีจ่อเจี๊ยบ / จักจี้กันให้ลูกได้สนุก พอสองขวบพวกเราเล่นผลัดกันพูดชื่อศัพท์หมวดหมู่ต่างๆ ห้ามซ้ำกันและห้ามคิดนาน เช่น จงพูดชื่อสัตว์ ประเทศ สิ่งที่เห็นนอกหน้าต่าง เขาจะได้ใช้การคิดและความสนุก และก็จะชวนเล่นเสมอๆ

และจุดเรียนรู้สำคัญของข้อนี้ที่เราพบคือ ร่างกายของเขา ตัวเขาก็เป็นเพื่อนเล่นสำหรับเขาเองได้เช่นกัน เขาอยู่กับตัวเองได้โดยปราศจากของเล่นใดๆ เพราะบางครั้งณดาร้องเพลงคนเดียวและชูนิ้วมาเล่นเอง บางครั้งก็มองข้างนอกหน้าต่างแล้วพูดชื่อสิ่งที่เห็นออกมา นี่คือพื้นฐานของ Self Esteem การเห็นคุณค่าในตัวนั่นเอง (แม้ว่าไม่มีใครฉันก็ยังมีฉัน)

อย่างไรก็ตามบางบ้านอาจจะมีความจำเป็นที่ต้องเดินทางกับลูกแค่สองหรือสามสี่คนเท่านั้น ซึ่งเราคิดว่ามีท่านที่ทำได้สำเร็จโดยไม่อาศัย Screen time อย่างแน่นอน หากท่านใดมีวิธีสามารถแบ่งปันได้นะคะ

ถามว่าจากที่ได้ใช้วิธีการต่างๆเหล่านี้ เห็นผลดีอะไรตลอดสามปีเจ็ดเดือนที่ผ่านมา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ลูกเป็นเด็กที่มีความอดทนรอคอยเพื่อเป้าหมาย และควบคุมตัวเองได้ เด็กเบื่อเป็นเรื่องปกติ เธอจะถามตลอดว่าเมือไหร่ถึง เราจะบอกความจริงไม่โกหกลูก อีกนานก็คืออีกนาน เพื่อให้เธอรู้จักรอคอยเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้..ไม่ใช่แค่เรื่องนั่งรถ แต่การสอนให้เขาต้องต่อคิวเพื่อรอก็จะง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน..

2. เรียนรู้ที่จะเข้าใจความรู้สึกตัวเองได้ดี เรามักสอนเค้าเสมอว่ารู้สึกอะไรก็บอกออกมา “หนูเบื่อแล้วค่ะแม่..” แม่ก็จะบอกว่า “อื่อแม่ก็เบื่อเนอะอยากให้ถึงไวไวจัง แต่ยังไงเราก็ต้องรอคอยนะคะ” .. ลูกถอดหายในเฮ้อออ..แล้วก็หันไปร้องเพลงกับตัวเองต่อไป …สงบเร็วได้ด้วยตัวเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวเหนียวแน่น เพราะเขารู้ว่าแม่เล่นกับเขาได้ พ่อขับรถก็เล่นได้ ร้องเพลงด้วยกันได้ สายสัมพันธ์นี้แหละคือโอกาสที่พ่อควรสร้างและรีบคว้าไว้ เพราะในไม่ช้าไม่นาน สื่อ screen time ต่างๆ จะเข้ามาในชีวิตลูกไม่ช้าก็เร็วสำหรับโลกดิจิตอลในยุคนี้

เทคโนโลยีใดๆ ก็เชื่อมโยงได้ไม่ก้าวล้ำและสำคัญได้เท่ากับการเชื่อมโยงในสายสัมพันธ์ทางจิตใจอย่างเหนียวแน่นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์โดยเฉพาะระหว่างพ่อแม่และลูกนั่นเอง

มานำไปประยุกต์ใช้วิธีนี้ให้เข้ากับบริบทของแต่ละบ้านแต่ละคนดูนะคะ
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เลี้ยงลูกให้ดี ควรลงโทษลูกไหม?

รับมืออย่างไร เมื่อคนอื่นวิจารณ์การเลี้ยงลูกของเรา