วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส

สำหรับคุณแม่ การดูแลตัวเองในช่วงตั้งครรภ์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโภชนาการ อาหารคนท้อง หรือสุขภาพระหว่างการตั้งครรภ์นั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ตลอดทั้ง 40 สัปดาห์นี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการของคุณแม่ตั้งครรภ์และพัฒนาการของทารกในครรภ์ ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณแม่ควรรู้ เพื่อที่จะได้เตรียมรับมือและคอยสังเกตว่าอาการใดบ้างที่เป็นอันตราย นอกจากนี้การดูแลเรื่องอาหารการกิน หรือพัฒนาการของทารกในครรภ์ก็สำคัญเช่นเดียวกัน ในบทความนี้ theAsianparent จึงได้รวม อาการคนท้อง วิธีเตรียมตัวและดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ของคุณแม่ รวมถึงพัฒนาการของทารกในครรภ์ มาฝากคุณแม่ทุกคนกัน

 

เตรียมตัวเป็นคุณแม่

สิ่งแรกที่คุณแม่ควรที่จะทำ คือ การฝากครรภ์ เมื่อคุณแม่เริ่มมีอาการคนท้องหรือทราบแล้วว่าขณะนี้ตัวเองกำลังตั้งครรภ์ หรือมีอาการเหมือนคนท้อง การฝากครรภ์ถือเป็นเรื่องจำเป็น คุณแม่ควรรีบฝากครรภ์ภายใน 12 สัปดาห์ หรือภายในไตรมาสแรก เพื่อให้คุณหมอได้ตรวจเช็กสุขภาพตามนัด และดูแลคุณแม่อย่างใกล้ชิดตลอด 40 สัปดาห์

นอกจากนี้การฝากครรภ์ยังทำให้คุณแม่ได้ทราบถึงสุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์ กำหนดคลอด และได้รับคำแนะนำจากคุณหมอในการดูแลตัวเองเป็นอย่างดีอีกด้วย

 

อาการคนท้อง และวิธีดูแลตัวเองในแต่ละไตรมาสสำหรับคุณแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1 (ตั้งครรภ์เดือนที่ 1 – 3)

ในช่วงไตรมาสแรก หรือสัปดาห์ที่ 1 – 12 จะเป็นช่วงที่ร่างกายภายนอกของคุณแม่ยังเปลี่ยนแปลงไปไม่มากนัก แต่ที่จะสามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน คือ จะมีอาการแพ้ท้องหรือเรียกว่าอาการคนท้อง ในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งอาการแพ้ท้องของคุณแม่แต่ละท่านจะมีอาการหนักเบาแตกต่างกันออกไป แนะนำให้ทานอาหารคนท้องให้ครบ 5 หมู่ ปรุงสุก หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นฉุนหรือรสจัด และทานอาหารที่มีโฟเลตสูง เพื่อพัฒนาการทารกในครรภ์ เช่น ผักใบเขียว ถั่ว ไข่ ฯลฯ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติและเพื่อป้องกัน ลดความผิดปกติของระบบประสาทของทารกในครรภ์ รวมทั้งมีส่วนสำคัญในการแบ่งตัวของเซลล์ของทารกในครรภ์อีกด้วย

หากคุณแม่มีอาการแพ้ท้องอย่างมาก หรือคุณแม่รู้สึกคลื่นไส้อาเจียนจนไม่สามารถทานอาหารได้เลย แนะนำให้แบ่งทานอาหารคนท้องเป็นมื้อเล็ก ๆ ทานวันละหลาย ๆ มื้อแทน หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด ปวดท้องเฉียบพลัน เป็นลม หรืออาเจียนมากผิดปกติ แนะนำให้คุณแม่เข้าพบแพทย์ทันที เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี

นอกจากนี้คุณแม่ควรนอนพักผ่อนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือทำกิจกรรมที่ใช้แรงเยอะ ออกกำลังกายให้ถูกวิธี และเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการของทารกในครรภ์ และลดความเสี่ยงในการมีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ได้อีกด้วย

โดยพัฒนาการทารกในครรภ์ในช่วงไตรมาสแรกนี้ อวัยวะภายนอกของลูกน้อยในครรภ์จะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างครบสมบูรณ์แล้วในช่วงเดือนที่ 3 แต่ในส่วนของดวงตานั้น ยังคงปิดอยู่ คุณแม่อาจจะเริ่มเห็นคาง หน้าผาก จมูก มีเล็บมือ และเล็บเท้า แขนขาของทารกจะขยับไปมาได้บ้างแล้ว อวัยวะเพศภายนอกเริ่มพัฒนา แต่ยังไม่สามารถระบุเพศชัดเจนได้ และระบบขับถ่ายเริ่มทำงาน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 2 (ตั้งครรภ์เดือนที่ 4 – 6)

ในช่วงไตรมาสที่ 2 พัฒนาการทารกในครรภ์ เริ่มมีการพัฒนา ทารกจะเริ่มมีพัฒนาการทางด้านร่างกายและระบบต่าง ๆ มากขึ้น ใบหน้าของทารกพัฒนาขึ้นจนใกล้สมบูรณ์แล้ว เริ่มมีขนคิ้ว และขนตา นัยน์ตาเริ่มปรากฏขึ้นในดวงตา โดยในระยะนี้ทารกจะเริ่มเตะ และยืดนิ้วมือนิ้วเท้าได้แล้ว ในช่วงไตรมาสนี้ คุณแม่บางคนยังมีอาการคนท้องอยู่และคุณแม่ตั้งครรภ์ยังจำเป็นต้องพักผ่อนให้ได้วันละ 8 – 10 ชั่วโมงตามเดิม

ควรเริ่มออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพื่อเตรียมรับน้ำหนักของลูกน้อยที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละเดือน และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ เช่น การสวมรองเท้าส้นสูง การซ้อนมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น นอกจากนี้ในช่วงไตรมาสที่ 2 เป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการเช็กสุขภาพช่องปากของคุณแม่ เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายอีกด้วย

ในส่วนของอาหารคนท้องนั้น ช่วงไตรมาสนี้คุณแม่มักจะมีอาการคนท้องหรือแพ้ท้องน้อยลงหรือแทบไม่มีอาการเลย ทำให้สามารถทานอาหารได้มากขึ้นกว่าช่วงไตรมาสแรก และอาจพบว่าคุณแม่หลายคนมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ช่วงนี้จึงควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ไขมันต่ำและควบคุมน้ำหนักตัวให้เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ คือ ½ กิโลกรัมต่อสัปดาห์ หรือ 2 กิโลกรัมต่อเดือน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์และเพื่อพัฒนาการทารกในครรภ์ที่ดีและแข็งแรง

นอกจากนี้ คุณแม่ควรรับประทานอาหารคนท้องที่มีธาตุเหล็กสูง เพื่อนำไปใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง และเลือกทานอาหารที่มีไอโอดีน เพื่อช่วยบำรุงระบบประสาท และการเจริญเติบโตของสมองให้มีความสมบูรณ์ และควรดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ อย่างน้อยวันละ 8 – 10 แก้ว เพื่อป้องกันอาการท้องผูก ช่วยลดอุณหภูมิภายในร่างกาย เพิ่มความสดชื่นกระปรี้กระเปร่า และป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 3 (ตั้งครรภ์เดือนที่ 7 – 9)

ในช่วงไตรมาสสุดท้าย หรือช่วงตั้งครรภ์เดือนที่ 7 – 9 ถือเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมายหลายอย่างเมื่อเทียบกับไตรมาสแรก ทั้งด้านร่างกายและพัฒนาการทารกในครรภ์ ร่างกายของคุณแม่ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 300 แคลอรีต่อวัน จึงจำเป็นต้องเพิ่มอาหารคนท้องระหว่างวันขึ้นอีก 2 มื้อ สิ่งที่ควรสังเกต และคอยติดตามอยู่เสมอ คือ การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว เพราะน้ำหนักตัวของคุณแม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของทารก ดังนั้น คุณแม่ควรเข้าพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อตรวจร่างกาย และติดตามพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด

พัฒนาการทารกในครรภ์ช่วงไตรมาสสุดท้ายนี้ พัฒนาการทารกในครรภ์สมบูรณ์แล้ว ลูกน้อยในครรภ์จะเริ่มสะสมไขมันใต้ผิว เพื่อคอยรักษาความอบอุ่นให้กับตัวเองและในช่วงเดือนที่ 8 ทารกจะเริ่มกลับตัวเพื่อเตรียมตัวคลอด นอกจากนี้คุณแม่บางท่าน อาจมีอาการเจ็บครรภ์เตือนในช่วงนี้อีกด้วย

คุณแม่ต้องคอยสังเกตตัวเองอยู่เสมอ เพราะเมื่อเข้าสู่โค้งสุดท้ายของการตั้งครรภ์ หมายความว่าคุณแม่กำลังจะเข้าสู่กระบวนการคลอด ดังนั้นต้องคอยสังเกตอยู่เสมอว่า ตอนนี้กำลังเจ็บท้องเตือน หรือเจ็บท้องคลอด และหากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพื่อป้องกันอันตรายและภาวะแทรกซ้อนแบบฉับพลัน

 

สิ่งที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อกำลังตั้งครรภ์

นอกจากการดูแลตัวเองในเรื่องของสุขภาพและโภชนาการแล้ว สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • งดสูบบุหรี่ และระมัดระวังควันบุหรี่มือสอง
  • งดการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ใช้แรงมาก
  • ไม่ซื้อยาทานเอง
  • ห้ามทำความสะอาดมูลแมว เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โรคมูลแมว หรือท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis)
  • ไม่ควรอบไอน้ำ หรือซาวน่า

หากคุณแม่มีความกังวลใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ พัฒนาการทารกในครรภ์  อาการคนท้อง หรือ อาหารคนท้อง อย่าเก็บความกังวลนั้นไว้เพียงลำพัง มาร่วมพูดคุยปรึกษาทีมพยาบาลผู้เชี่ยวชาญจาก Mommy Bear Club ได้ฟรีตลอด 24 ชม. พร้อมรับเคล็ดลับเทคนิคการดูแลลูกน้อย และโปรแกรมตัวช่วยต่าง ๆ ส่งตรงถึงคุณ ได้ที่ Mommy Bear Club  เพียงลงทะเบียนเป็นสมาชิก ที่ https://www.nestlemomandme.in.th/profile/register หรือ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ คลิกเลย

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team