Prebiotics เคล็ดลับลดปัญหาลูกท้องผูก

การขับถ่าย ถือเป็นหนึ่งเรื่องสำคัญที่มีผลต่อพัฒนาการและสุขภาพของลูกน้อย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องระบบขับถ่ายของลูกน้อย ที่ชอบมีปัญหา นั้นก็คือ อาการท้องผูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกท้องผูก แก้ไขอย่างไรดี

อาการท้องผูก คือ การที่ลูกน้อยมีปัญหาเรื่องการขับถ่ายอุจจาระ ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนที่ค่อนข้างแข็งมากกว่าปกติ หรือมีลักษณะเป็นก้อนแข็งคล้ายเม็ดกระสุน ซึ่งจะทำให้ลูกใช้แรงเบ่งมากกว่าปกติ และทำให้มีอาการปวดท้อง จุกเสียดตามมา ซึ่งในเด็กบางคนที่มีอาการท้องผูกมากๆ อาจทำให้มีบาดแผลที่ก้นหรือมีเลือดไหลปนมากับอุจจาระอีกด้วย

โดยอาการท้องผูกนี้ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย ที่พบมากที่สุดคือเด็กอายุประมาณ 6 เดือน – 4 ปี และจะมีสาเหตุที่แตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน ซึ่งปกติแล้วเด็กมักถ่ายอุจจาระทุกวัน โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดที่กินนมแม่ อาจถ่ายวันละ 5-6 ครั้ง ส่วนอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ลูกทารกมีอาการท้องผูกมาจากการดื่มนมผง หรือการที่เด็กเริ่มจะทานอาหารเสริมนั้นเอง

ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าอาการท้องผูกของลูกน้อย จึงเป็นปัญหายอดฮิต เราจึงขอชวนคุณแม่ๆ มารู้จักกับ prebiotics, Inulin, Oligofructose 3 ตัวช่วยดีๆ ที่ช่วยลดอาการท้องผูกของลูกน้อยกันค่ะ

  • พรีไบโอติก (Prebiotics) คือ ใยอาหารที่ไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหารส่วนบน ทำให้ผ่านมาที่ลำไส้ใหญ่ จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ใหญ่ ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งประโยชน์ของพรีไบโอติก คือ
    • ส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สุขภาพ
    • ช่วยให้อุจจาระนุ่ม ลดปัญหาท้องผูก
    • กระตุ้นการดูดซึมแคลเซียม, แมกนีเซียมและธาตุเหล็ก
    • เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

ทั้งนี้ชนิดของพรีไบโอติกที่มีอยู่ในนมแม่ คือ โอลิโกแซคคาไรด์ (Oligosaccharide) ที่เป็นส่วนประกอบของน้ำนมที่มีปริมาณสูงเป็นอันดับ 3 รองจากน้ำตาลแลคโตส และไขมัน เพราะเหตุนี้ลูกน้อยจึงควรได้รับนมแม่อย่างน้อยที่สุด 6 เดือน

ซึ่งในนมแพะเองก็มีพรีไบโอติก ชนิด Oligosaccharide เช่น Inulin และ Oligofructose อยู่ประมาณ 250 – 300 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมากกว่านมวัว 4-5 เท่า ช่วยป้องกันการติดเชื้อ การอักเสบในทางเดินอาหาร รวมถึงช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และลดปัญหาท้องผูกได้อีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • โอลิโกฟรุคโตส (Oligofructose) คือ ใยอาหาร ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดี ที่อยู่บริเวณส่วนต้น ของลำไส้ใหญ่
  • อินูลิน (Inulin) คือ ใยอาหาร ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดี ที่อยู่บริเวณส่วนปลายของ ลำไส้ใหญ่

ซึ่ง พรีไบโอติก ชนิด Oligosaccharide อย่าง Inulin และ Oligofructose มีประโยชน์ต่อร่างกายของลูกน้อยอย่างมาก โดยจะกระตุ้นการทำงาน และส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สุขภาพ อย่างเช่น แล็กโตบาซิลลัส และไบฟิโดแบคทีเรีย จึงช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ลดการอักเสบบริเวณลำไส้ ทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างเป็นปกติ ที่สำคัญช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุต่าง ๆ และช่วยเสริมสร้างการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายของเด็กได้เป็นอย่างดี

แนวทางปฏิบัติเพื่อลดอาการท้องผูกในเด็ก

1. กระตุ้นให้เด็กรับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยมากขึ้น เช่น มะละกอ กล้วย ส้ม เพราะใยอาหารจะเป็นตัวช่วยในการเพิ่มกากอาหาร หรือปริมาณเนื้ออุจจาระที่อุ้มน้ำ ทำให้อุจจาระอ่อนตัวขับถ่ายได้สะดวกขึ้น รวมทั้งควรให้เด็กดื่มน้ำอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ฝึกนิสัยการขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวัน โดยฝึกการรับประทานอาหารเมื่อท้องอิ่มจะกระตุ้นลำไส้ให้อยากถ่ายอุจจาระตามธรรมชาติ สําหรับเด็กอายุ 1 ปี ขึ้นไป ควรฝึกนั่งกระโถนหรือชักโครก โดยให้เท้าวางกับพื้นได้อย่างมั่นคง ซึ่งควรมีคุณพ่อคุณแม่ดูแลอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญ ไม่ควรดุ หรือทำโทษ เพราะจะทำให้เด็กเครียด มีความรู้สึกไม่ดีกับการขับถ่าย ให้คำชมเมื่อเด็กปฏิบัติได้ดีทุกครั้งที่รู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ ให้ถ่ายทุกครั้ง ไม่ควรกลั้นอุจจาระไว้

3. ควรเลือกนมที่มีสารอาหารตัวช่วยดีๆ อย่าง “พรีไบโอติก” ซึ่งเป็นสารอาหารที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายของลูกน้อยแล้ว จะเป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดี จึงช่วยทำให้จุลินทรีย์ที่ดีเพิ่มจำนวนขึ้น ช่วยในการสร้างสมดุลในลำไส้ทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขึ้น ลดอาการท้องผูก สร้างภูมิต้านทานในลำไส้ ช่วยป้องการการติดเชื้อในทางเดินอาหารและลดปัญหาการแพ้อาหาร ทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดี ไม่ค่อยงอแง คุณพ่อคุณแม่จึงเลี้ยงลูกน้อยได้อย่างง่าย ๆ สบาย ๆ มากขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Prebiotics เคล็ดลับลดปัญหาลูกท้องผูก

 

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team