พ่อแม่พร้อมไหม โรงเรียนเปิด 1 ก.ค.
ตามประกาศจาก ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ประกาศไว้ว่า โรงเรียนเปิด 1 ก.ค. ไม่ได้เคาะให้เลื่อนเปิดเทอมเร็วขึ้น โดยเน้นให้เด็กเข้าห้องเรียนแบบไม่แออัด หรือเหลื่อมเวลา สลับวันกันมาเรียน ทางด้านพ่อแม่ หลายคนยังคงหวั่นใจ จากผลสำรวจพบว่า กว่า 86% พ่อแม่กังวล ห่วงลูกที่ต้องกลับไปโรงเรียน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (Kasikorn Research Centre) ได้ทำการสำรวจผู้ปกครอง จำนวน 480 คน ที่มีลูก กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ในระหว่างวันที่ 1 เมษายนถึง 10 พฤษภาคม
การสำรวจโดย ศูนย์วิจัยจากกสิกรไทย (Kasikorn Research Centre) แสดงให้เห็นว่า 86% ของผู้ปกครอง ยังคงกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อ ของโรค โควิด-19 (COVID-19) ต้องการให้โรงเรียน จัดเจลทำความสะอาด สำหรับนักเรียน ไว้ตามจุดต่าง ๆ
ทำการฆ่าเชื้อห้องเรียน และห้องอื่น ๆ ในโรงเรียนเป็นประจำ ลดความแออัดในห้องเรียน สร้างความมั่นใจในสังคม และลดกิจกรรมกีฬา ที่อาจทำให้นักเรียนสัมผัสกับร่างกาย ของกันและกันได้
ผู้ปกครองหลายท่าน ให้การสนับสนุนในเรื่อง ตัวเลือกทางการศึกษา อย่างการเรียนออนไลน์ ไปก่อน ตามที่โรงเรียนหลาย ๆ แห่งแนะนำ เพื่อช่วยให้นักเรียนเตรียมพร้อม สำหรับการเปิดเทอมอีกครั้ง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (Kasikorn Research Centre) รายงานว่า การใช้จ่ายด้านการศึกษา ของผู้ปกครองในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ก่อนเปิดโรงเรียน คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% เป็นจำนวนมากกว่า 28,000 ล้านบาท ในปีนี้ แม้ว่าผู้ปกครองจำนวนมาก จะได้รับผลกระทบ จากการปิดกิจการอย่างกว้างขวาง เนื่องจากโรคระบาด โควิด-19 (COVID-19).
การสำรวจ ยังแสดงให้เห็นว่า 88.9% ของผู้ปกครอง มีความกังวล ว่าพวกเขาอาจไม่มีเงินเพียงพอ สำหรับค่าเล่าเรียน เนื่องจากรายได้ที่ลดลง และการออมที่จำกัด
ด้าน นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวถึงข้อสรุปในที่ประชุมว่า จะยังไม่เลื่อนเปิดเทอมให้เร็วขึ้น จะยังเปิดเรียนวันที่ 1 ก.ค. เหมือนเดิม และให้ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไปลงในรายละเอียด เช่น เรื่องโรงเรียน ขนาดโรงเรียน สถานที่จัดตั้งโรงเรียน อย่างที่ห่างไกล ไม่มีอัตราการติดเชื้อ ถิ่นทุรกันดาร ให้เด็กได้รับการเรียน
ส่วนโรงเรียนในนเขตพื้นที่เมือง มีการเดินทางจราจร อาจจะเหลือมเวลาเรียน สลับเวลากันมาเรียน เช่น คนหนึ่งมาเรียนวันจันทร์ พุธ ศุกร์ อีกคนเรียนวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ ถือเป็นนโยบายที่จะช่วยให้ จำนวนนักเรียนไม่แออัดมาก
ส่วนเรื่องโรงเรียนนานาชาติ มีข้อร้องมาว่า ต้องการเปิดเทอมเร็วขึ้น เพื่อให้ทันกระแสของโลก และการเรียนที่เป็นมาตรฐานกับประเทศต่างๆ แต่ก็ยังไม่มีข้อตกลง ที่จะเป็นข้อสรุปแต่อย่างไร ตอนนี้มอบให้ รมว.ศธ. ไปศึกษา และหาข้อสรุป ของแต่ละเรื่องมานำเสนออีกที
6 มาตรการหลัก ป้องกันการแพร่ระบาดของ โควิด-19 (COVID-19) ในสถานศึกษา
ด้านแพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แถลงเรื่องการเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียน ในวันที่ 1 ก.ค. 2563 ว่า มีคู่มือของกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการทำร่วมกัน หนึ่งในนั้นเป็นเรื่อง 6 มาตรการหลัก ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในสถานศึกษา ดังนี้
- มีมาตรการคัดกรองวัดไข้ และอาการเสี่ยงก่อนเข้าโรงเรียน
- สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
- จัดให้มีจุดล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล อย่างเพียงพอ
- จัดให้มีการเว้นระยะห่าง ทำให้นักเรียนจะเหลือประมาณ 20-25 คนต่อห้อง
- ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัส ที่มีการใช้ร่วมกันบ่อย เช่น โรงอาหาร
- ลดความแออัด ไม่จัดกิจกรรมที่มีการสัมผัสร่วมกัน
ทางด้าน นายแพทย์อนุพงค์ สุจริยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค กล่าวเสริมว่า ในกรณีมีเด็กไม่สบายในโรงเรียน ควรพบแพทย์ และให้พักอยู่ที่บ้าน หากพบว่า มีเด็กติดเชื้อ แม้จะแค่ 1 ราย ก็ต้องให้ความสำคัญ ต้องแยกเด็กป่วยออกมา ควบคู่กับการดูแลเด็กคนอื่นที่ใกล้ชิด
ส่วนทางด้านผู้ปกครอง ก็ควรปลูกฝัง และใส่ใจกับการสอนลูก ให้รับมือกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 (COVID-19) ช่วยฝึก และทำความเข้าใจกับบุตรหลาน ในการสวมใส่หน้ากาก รวมไปถึงการพกเจลแอลกอฮอล์ หรือการล้างมือบ่อย ๆ ด้วย
ส่วนเรื่องรถรับ-ส่งโรงเรียน ต้องทำตามตามมาตรการเช่นกัน รวมถึงทำความสะอาดรถทุกวัน ต้องมีผู้ดูแลนักเรียน ให้ความรู้เด็กเรื่องความสะอาด สุขอนามัย สวมหน้ากาก จัดระยะห่างในรถ งดการเล่นกัน
ที่มา : www.thaipbsworld.com 2 www.thairath.co.th
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ลูกไม่ยอมใส่หน้ากาก ทำยังไงดี? รวมวิธีสอนให้ลูกใส่หน้ากาก
ไขข้อสงสัย วิธีซักหน้ากากอนามัย หน้ากากผ้าซักยังไง ซักแล้วใช้ซ้ำได้จริงหรือไม่
7 วิธีป้องกันไวรัสโคโรน่า ไวรัสอู่ฮั่น นอกเหนือจากการใส่หน้ากากอนามัย