พ่อแม่เผลอทำให้ลูกเสียใจ เพราะสถาบันครอบครัว คือจุดเริ่มต้นที่ดีต่อการเติบโตของลูกในอนาคต ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสาขาพัฒนาการมนุษย์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาการเด็ก และ ครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัยจึงได้แนะนำ 5 เรื่องหลัก ๆ ที่คุณพ่อ คุณแม่ ควรหลีกเลี่ยงเพื่อที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อจิตใจลูกได้
#1 เผลอเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น
เพราะการเปรียบเทียบจะเป็นการสร้าง ความรู้สึกด้อยให้เกิดขึ้นในชีวิตของลูก ๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของ เด็กอย่างมาก ถึงแม้การพูดในลักษณะนี้จะเป็นการที่ อยากจะให้ลูกได้พยายาม ปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น แต่ก็อาจทำให้เด็กรู้สึกด้อยค่า และ มองว่าไม่เก่งเท่าคนอื่น ๆ อาจจะเลิกพยายามทำหรือยอมแพ้ หรืออีกมุมหนึ่งคือ เด็กอาจเกิดความคิดหาทางกลั่นแกล้ง ทำลายคู่แข่งคนอื่น ๆ ได้ซึ่ง คุณพ่อ คุณแม่ไม่ควรเข้าใจว่า พื้นฐานของเด็กแต่ละคนนั้นตลอดจนความสามารถนั้นแตกต่างกัน ควรจะมอง และ ชื่นชมลูกในสิ่งที่เขาสามารถทำได้ และ ถนัด มากกว่าการใช้คำพูดเพื่อทำลายความรู้สึกของลูก ๆ ด้วยการเปรียบเทียบ หรือ เพื่อต้องการให้ลูกเก่งกว่าเด็กคนอื่น ๆ ในทุกด้าน
#2 เผลอต่อว่าลูกต่อหน้าคนอื่น การดุด่าว่ากล่าวลูกต่อหน้าคนอื่น
ถือเป็นการทำร้ายจิตใจลูกอย่างมาก คุณพ่อ คุณแม่ต้องคิดเสมอว่า เด็ก ๆ ก็มีความรู้สึกอาย และ เสียหน้าเป็น ดังนั้นหากลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ควรค่อย ๆ พูดกับลูกในระดับที่เสมอกัน ด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน และ เป็นมิตร ซึ่งไม่ควรเผลอที่จะตะคอก หรือโดยวายลูกต่อหน้าคนอื่น หรือที่สาธารณะนะคะ
#3 เผลอบอกว่า “ไม่รัก” แล้ว
จริง ๆ แล้วไม่มี คุณพ่อ คุณแม่ คนไหนที่ไม่รักลูก แต่ก็ไม่ควรนำความรักมาใช้เป็นเงื่อนไขต่อรองกับลูก ซึ่งการพูดไม่รักบ่อย ๆ เป็นการบั่นทอนความมั่นคงทางอารมณ์ และ จิตใจของลูกอย่างมาก พ่อแม่บางคนอาจบอกว่าไม่รักเพื่อให้ลูกเชื่อฟัง แต่หารู้ไม่ว่าวิธีนี้อาจทำให้เด็กรู้สึกคิดจริงจังก็ได้ว่า พ่อแม่ไม่รักจริง ๆ และรู้สึกเจ็บปวดมากที่สุด อาจจะไม่ทำตามในสิ่งที่ พ่อแม่บอกแล้ว เพราะไม่มีประโยชน์อะไรที่เขาจะทำดี หรือเชื่อฟังเมื่อพ่อแม่ไม่รัก ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเด็กมาก ดังนั้นหากคุณจะตำหนิลูกที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ควรว่ากล่าวด้วยเหตุผลมากกว่าการบอกว่า “ถ้าทำตัวแบบนี้พ่อแม่ไม่รักนะ” ดีกว่าค่ะ
#4 เผลอเพิกเฉย ไม่สนใจ
การแสดงความไม่สนใจต่อลูกนั้น ในกรณีที่ คุณพ่อ คุณแม่ ตั้งใจแสดงออกให้ลูกเห็นว่าการเรียกร้องแสดงความสนใจเพื่อที่จะให้พ่อแม่ตามใจ เช่น การร้องไห้ชักดิ้นชักงอ หรือการเดินหนีออกจากพ่อแม่นั้นไม่ได้ผล วิธีนี้ถือเป็นการช่วยฝึกวินัยของลูกให้เรียนรู้ว่า พฤติกรรมแบบนี้ไม่สามารถเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ได้ และ ลูกก็จะไม่ทำอีก แต่กลับกัน หากพ่อแม่เอาแต่สนใจอย่างอื่น โดยที่ไม่สนใจลูก เพิกเฉยต่อการที่ลูกจะเข้ามาเล่นด้วย หรือ อวดสิ่งของที่ลูกได้ทำเอง ถือเป็นการทำร้ายต่อจิตใจลูกมากนะคะ
#5 เผลอข่มขู่หรือทำให้กลัว
เด็ก ๆ มักจะกลัวเสียงดุจาก คุณพ่อ คุณแม่ อยู่แล้ว เนื่องจากลูกยังไม่สามารถเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ได้ดีเกือบทั้งหมด การเรียนรู้ครั้งแรกหรือการทำผิดพลาดอาจทำให้ลูกเกิดความไม่กล้าในครั้งต่อไป หากพ่อแม่ใช้วิธีการขู่มาเป็นข้อห้าม หรือ หลอกเพื่อไม่ให้ลูกได้ทำสิ่งต่าง ๆ เช่น “ออกไปนอกบ้าน ระวังตำรวจจับนะ” หรือ “ถ้าซนมากๆ เดี๋ยวตุ๊กแกกินตับนะ” การขู่ในลักษณะแบบนี้ หากทำบ่อย ๆ ลูกจะซึบซับและจะกลายเป็นการกลัวฝังใจ กลัวแม้กระทั่งเรื่องนิด ๆ หน่อย ๆ ทำให้เด็กกลายเป็นคนขี้กลัว ซึ่งความกลัวเหล่านี้ จะเป็นสาเหตุให้เด็กเก็บไปฝัน และนอนผวาในตอนกลางคืนได้ ถือเป็นการบั่นทอนสุขภาพของเด็กอย่างมาก
สำหรับเด็กแล้ว เรื่องของจิตใจกับความรู้สึกถือ เป็นเรื่องใหญ่ที่สำคัญไม่น้อยกว่าการเอาใจใส่ดูแลสุขภาพร่างกาย เพราะสองอย่างนี้จะเติบโตคู่ไปกับลูก ดังนั้นพ่อแม่ไม่ควรเผลอกระทำสิ่งเหล่านี้ลงไปให้ลูกรู้สึกแย่ หรือ ไม่ดี เพื่อให้ลูกได้เติบโตมาเป็นเด็กที่มีอารมณ์ดี มีจิตใจมั่นคง และ ร่างกายที่แข็งแรงในอนาคตนะคะ
ที่มา : https://mgronline.com/
theAsianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่ คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่ และ เด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ทำอย่างไรหากคุณปรี๊ดใส่ลูกโดยไม่ได้ตั้งใจ
10 เรื่องที่พ่อแม่ลูกเล็กต้องเจอ