4 เหตุผลที่ทำให้ ลูกโกรธเคืองพ่อแม่

หลายครั้งที่พ่อแม่รู้สึกได้ว่าลูกโกรธและไม่พอใจคุณ แต่คิดไม่ออกจริง ๆ ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร ลองมาดูกันดีกว่าว่าเหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้ลูกโกรธพ่อแม่คืออะไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พ่อแม่ห้ามทำสิ่งนี้ จะทำให้ ลูกโกรธเคืองพ่อแม่

4 ข้อนี้ คุณพ่อคุณแม่ห้ามทำ เมื่อลูกอาละวาด หยุด! คิดให้ดีก่อนทำลงไป เมื่อลูกเกิดกรีดร้อง อาละวาด ดื้อจนเอาไม่อยู่ ลูกโมโหง่าย โมโหร้าย ก้าวร้าว เพราะจะทำให้ ลูกโกรธเคืองพ่อแม่ มาดูวิธีจัดการเด็กอาละวาดกัน

ลูกโกรธเคืองพ่อแม่

สิ่งที่แม่ห้ามทำเมื่อลูกอาละวาด

เพจ 9 อย่างเพื่อสร้างลูก แนะนำสิ่งที่แม่ห้ามทำ เมื่อลูกอาละวาด 4 อย่างที่แม่ห้ามทำ

ร้องอาละวาด : ตอนที่ 3 สิ่งที่ไม่ควรทำเวลาลูกร้องอาละวาด
1. แม่ห้ามทำ “ไม่ตามใจ – ไม่ติดสินบน”

พ่อแม่บางคนยอมลูกทันทีที่ลูกร้องอาละวาดเพื่อที่ลูกจะได้หยุด(และพ่อแม่ไม่ต้องอับอายคนรอบข้าง) เช่น ถ้าลูกลงไปนอนดิ้นเพราะอยากได้ของเล่น ก็รีบหยิบไปจ่ายเงินให้จะได้รีบออกไปจากตรงนั้น หรือบอกว่า “ถ้าหยุดร้องเดี๋ยวจะพาไปกินไอติม” แต่การทำเช่นนี้ยิ่งทำให้ลูกเข้าใจว่า พอร้องแล้วจะได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ เขาก็จะทำอีกเรื่อยๆ ค่ะ

2. แม่ห้ามทำ “ไม่บอกว่าไม่รัก”

เราต้องพยายามให้เด็กที่กำลังอารมณ์ปรี๊ดอยู่ ได้สงบลง โดยที่เขารู้สึกว่าพ่อแม่เข้าใจอารมณ์ของเขา และยังรักเขาอยู่ การบอกลูกว่า “ถ้าร้องไห้จะไม่รักแล้วนะ” จะทำให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่รักแล้ว ซึ่งสำหรับเด็กกำลังควบคุมอารมณ์ของตัวเองไม่ได้ จะยิ่งทำให้เสียใจมากขึ้น

3. แม่ห้ามทำ “ไม่ตะโกน”

เวลาที่ลูกโกรธ ลูกจะไม่สามารถฟังเหตุผลได้ ยิ่งพ่อแม่ตะโกนใส่ ยิ่งจะทำให้อารมณ์ปรี๊ดขึ้นกันทั้งสองฝ่าย พอฟิวส์ขาดใส่กัน ทีนี้คุยกันไม่รู้เรื่องแล้วค่ะ

4. แม่ห้ามทำ “ไม่ตี”

การตี อาจจะทำให้เด็กหยุดร้องชั่วคราวเพราะเจ็บ แต่ไม่ได้สอนให้ลูกเข้าใจอารมณ์ของตัวเองและแสดงให้ลูกเห็นวิธีจัดการอารมณ์นั้น แต่กลับแสดงให้ลูกเห็นว่า เวลาโกรธ เราใช้กำลังมาหยุดปัญหาได้ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เราอยากสอนลูกเลยค่ะ

สรุป: การร้องอาละวาด ถึงแม้ว่าเป็นสิ่งที่น่าโมโหสำหรับพ่อแม่ แต่หากคุณพ่อคุณแม่ใช้วิธีจัดการที่เหมาะสม ก็สามารถช่วยให้ลูกเรียนรู้จากประสบการณ์นี้ได้ และไม่ทำซ้ำอีกค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
วิธีรับมือเมื่อลูกน้อยจอมซนอาละวาด

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีกรมการแพทย์ แนะให้คุณพ่อคุณแม่ทราบถึงวิธีการรับมือ เมื่อลูกน้อยจอมซนอาละวาดขว้างปาข้าวของ ไม่ยอมเก็บของเล่นคุณพ่อคุณแม่แต่ละบ้านก็อาจจะมีวิธีรับมือแตกต่างกันไป ซึ่งวิธีหนึ่งที่นิยมกันก็คือ การ time out หรือขอเวลานอก แยกลูกออกมา เพื่อให้สงบสติอารมณ์

นายแพทย์ปานเนตร ปางพุฒพงศ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า พฤติกรรมเด็กในแต่ละช่วงวัย มีสภาวะอารมณ์ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการเลี้ยงดู และสภาพแวดล้อม การ Time out ไม่ใช่การลงโทษเด็กแต่เป็นการสอนและฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนเอง ยิ่งเด็กสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีเท่าไร ยิ่งเป็นผลดีกับเด็กมากเท่านั้นและเมื่อลูกทำได้พ่อแม่ควรชื่นชมลูกเมื่อลูกจัดการอารมณ์ของตนเองได้ดี

วิธีจัดการเด็กอาละวาดด้วย Time out
  • Time outจริง ๆ แล้วไม่ใช่การทำโทษแต่ควรเรียกว่าเป็นการปรับพฤติกรรม คือ เมื่อเด็กทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พ่อแม่ผู้ใหญ่ห้ามแล้ว เบี่ยงเบนความสนใจแล้ว ก็ยังทำอยู่ ก็อาจใช้การ time out คือ แยกเด็กออกจากสถานการณ์นั้น ๆ ไปสงบสติอารมณ์ เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักจัดการอารมณ์ของตัวเอง
  • เมื่อก่อนนี้อาจเคยได้ยินมาว่าระยะเวลา Time out แต่ละครั้งคือเท่ากับอายุเด็ก เช่น 2 ขวบก็ 2 นาที 5 ขวบ ก็ 5 นาที แต่งานวิจัยจากต่างประเทศล่าสุดพบว่าวิธีนี้อาจไม่ได้ผลเสมอไป เพราะการ time out ไม่ใช่การลงโทษแต่เป็นการปรับพฤติกรรมให้เด็กสงบตัวเอง ดังนั้น หากเด็ก ๆ สามารถจัดการอารมณ์ของตัวเองให้สงบลงได้ก่อนเวลาที่กำหนด ก็ควรจะออกจากการ time out และกล่าวชมลูกที่จัดการอารมณ์ตัวเองได้สำเร็จด้วย

Time outและTime In แก้ปัญหาลูกอาละวาด

ผศ. (พิเศษ) แพทย์หญิง ปราณี เมืองน้อย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ยังให้ความกระจายเรื่องนี้เพิ่มเติมว่าการ time out จะได้ผลดี ก็ต่อเมื่อพ่อแม่มีการ time-in กับลูกอย่างสม่ำเสมอ time-in ในที่นี้ก็คือการใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกับลูกอย่างมีคุณภาพคือ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก ให้แรงเสริมทางบวก กล่าวชมเมื่อลูกทำดี หมั่นสังเกตเห็นสิ่งดี ๆ ที่ลูกทำ ไม่ใช่เห็นแต่สิ่งผิด เอาแต่ตำหนิและสั่งให้ลูกไป time out เพราะหากเป็นเช่นนี้ ลูกก็จะยิ่งทำแต่พฤติกรรมที่ไม่ดี เพราะทำแล้วพ่อแม่สนใจ ถึงแม่จะเป็นคำตำหนิ แต่ลูกก็จะรู้สึกว่าเรียกร้องความสนใจได้สำเร็จ ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง สำหรับการใช้วิธี time out กับเด็ก อายุ 2-3 ปี ควรเลือกใช้คำสั่งที่สั้นกระชับเข้าใจง่ายเช่น “หยุด ไปนั่งพัก ไม่ตีน้อง น้องเจ็บ”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การอธิบายเหตุผลยาว ๆ กับเด็กวัยนี้อาจไม่ได้ผลนัก เมื่อลูกนั่งพักสงบลงในระยะเวลาที่กำหนดได้แล้ว ควรชวนลูกกลับมาทำกิจกรรมต่อไปได้ตามปกติ สำหรับหนูน้อยวัย 4-5 ปีขึ้นไป นอกจากการใช้ time out พ่อแม่อาจลองใช้วิธี คุยกับลูกเพื่อให้เขาได้ไตร่ตรองสิ่งที่ทำ เช่น เมื่อลูกผลักน้องล้มลง อาจจะเรียกลูกมาแล้วถามว่า “กฎของการเล่นกันคืออะไร” “มีวิธีอื่นไหมที่ทำได้โดยไม่ต้องผลักน้อง”วิธีนี้จะทำให้เด็ก ๆ ได้ฝึกคิดว่าแทนที่จะทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม เขายังมีทางเลือกอื่น ๆ ที่ดีกว่าที่สามารถทำได้”

ผศ.(พิเศษ) พญ.ปราณี เมืองน้อย เน้นย้ำว่าสายสัมพันธ์ที่ดีเท่านั้นที่จะช่วยให้ลูก ๆ ยอมรับและเชื่อตามคำสอนของเราได้ ดังนั้นแม้จะ time out กี่ร้อยครั้ง แต่หากพ่อแม่ไม่เคย time in หรือมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับลูกเลย การปรับพฤติกรรมก็ยากที่จะสำเร็จได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
นอกจาก 4 ไม่ ที่แม่ห้ามทำ เมื่อลูกอาละวาดแล้วยังต้องใช้วิธี Time outและTime In แก้ปัญหาลูกอาละวาดด้วย

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีการเลี้ยงลูกให้โตไปประสบความสำเร็จ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งผลอย่างไร

ห้ามพ่อแม่ตีลูก ญี่ปุ่นเตรียมออกกฎ! หลังสถิติเด็กถูกทำร้ายพุ่งสูง พ่อแม่ไทยทำบ้างดีไหม?

Finding Nemo การ์ตูนที่ให้ความสนุกพร้อมกับข้อคิด สอนลูกไปพร้อม ๆ กับการ์ตูน

 

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวิธีรับมือเมื่อลูกโกรธ ได้ที่นี่!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกโกรธ ลูกงอนพ่อแม่ มาจากสาเหตุอะไรได้บ้างคะ แล้วจะรับมืออย่างไรดีคะ

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team