ตั้งครรภ์เกินกำหนด ท้องแก่เต็มที่แต่ยังไม่เจ็บท้องเลย ยังชิลอยู่ได้ไหม?

สำหรับคุณแม่ที่ไปฝากครรภ์ คุณหมอจะประเมินกำหนดคลอด ๆ คร่าว โดยคำนวณจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มาอย่างปกติ อายุครรภ์ที่เรียกว่าครบกำหนดคลอดและทารกในครรภ์มีความสมบูรณ์เต็มที่ คืออายุครรภ์ระหว่าง 37 สัปดาห์ถึง 41 สัปดาห์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อครบกำหนดแล้วยังไม่มีสัญญาณเจ็บท้องคลอด ไม่มีการหดตัวของมดลูกเลย หาก ตั้งครรภ์เกินกำหนด ต้องทำอย่างไร

การกำหนดคลอดนั้นคุณหมอจะคำนวณจากประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มา แต่ในกรณีที่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ในสัปดาห์ที่ 20 นั้นคุณหมอจะมีการตรวจยืนยันอายุครรภ์ด้วยการอัลตร้าซาวด์ ซึ่งแพทย์จะกำหนดวันคลอด อายุครรภ์ที่ครบกำหนดคลอดที่ทารกในครรภ์มีความสมบูรณ์เต็มที่ คืออายุครรภ์ระหว่าง 37 สัปดาห์ถึง 41 สัปดาห์ และไม่เกินอีก 6 วัน หากเกินตั้งแต่ 42 สัปดาห์ขึ้นไป จัดว่าเป็นการ ตั้งครรภ์เกินกำหนด ถือว่ามีความเสี่ยงต่อทั้งแม่และลูกในครรภ์ได้

การตั้งครรภ์เกินกำหนดนั้นพบได้ ประมาณ 10% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่หากคุณแม่มีการตั้งครรภ์ที่ปกติ อาจจะคลอดก่อนวันนัด 1-2 สัปดาห์ และมีแม่ตั้งครรภ์ประมาณ 5 % ที่คลอดตรงกับวันที่หมอนัดพอดี แต่เมื่อครบกำหนดแล้วยังไม่มีสัญญาณเจ็บท้องคลอด ไม่มีการหดตัวของมดลูกเลย ควรไปหาหมอตรงตามนัดเพื่อทำการตรวจร่างกายและประเมินสุขภาพของลูกในครรภ์

ทางการแพทย์ยังไม่มีข้อยืนยันชัดเจนว่าการตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอดนั้นเกิดจากสาเหตุใด แต่อาจเกิดจากความผิดปกติหรือความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่พบว่า ทารกในครรภ์พิการบางอย่าง เช่น ทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ (Anencephaly) ,เกิดจากพันธุกรรมทางฝ่ายแม่, เคยมีประวัติการตั้งครรภ์เกินกำหนดมาก่อน หรือต่อมใต้สมองผิดปกติ, ต่อมหมวกไตฝ่อ และการขาดฮอร์โมน Placental sulfatase deficiency ทำให้การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนมีน้อยลง คุณแม่จึงไม่มีอาการเจ็บท้องคลอด แต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการตั้งครรภ์เกินกำหนด คือ การที่แม่ท้องจำวันแรกที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายไม่ได้หรือจำวันผิด ทำให้คำนวณอายุครรภ์ผิดไป

เมื่ออายุครรภ์ครบ 40 สัปดาห์แล้วแต่ยังไม่มีอาการเจ็บท้อง คุณแม่อย่าเพิ่งกังวลไปนะคะ สามารถรอได้อีกประมาณ 1 สัปดาห์ โดยระหว่างนี้ต้องสังเกตและนับลูกดิ้นให้ดี ซึ่งลูกควรดิ้นอย่างน้อย 10 ครั้งใน 12 ชั่วโมง ถือว่าไม่มีปัญหา แต่หากดิ้นน้อยกว่านั้นหรือเข้าสัปดาห์ที่ 41 แล้วยังไม่เจ็บท้องคลอด คุณหมอจะพิจารณาทำการเร่งคลอด เพื่อลดอันตรายต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ โดยไม่รอให้ถึง 42 สัปดาห์ค่ะ

ตั้งครรภ์ เกินกำหนด

ดังนั้นสิ่งสำคัญสำหรับแม่ตั้งครรภ์ที่ควรป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์เกินกำหนด คือ การพาตัวเองไปตรวจครรภ์ตามที่คุณหมอนัดอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายสำหรับคนท้องเพื่อกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของมดลูกและมีการคลอดตามกำหนดตามมา ดูแลสุขภาพกายและใจให้สมบูรณ์ อย่าไปกังวลในขณะตั้งครรภ์ หากพบว่าร่างกายมีความผิดปกติ ไม่สบายใจ ให้ไปหาคุณหมอเพื่อคลายกังวลลงนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตั้ง ครรภ์ เกิน กำ หนด 1

เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยเพิ่มเติม จาก นพ.สันต์ธีร์ ติยะธะ และ ศ.นพ จตุพล ศรีสมบูรณ์ เรื่องเกี่ยวกับภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว

ภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว (Uterine atony) เป็นสาเหตุหลักของภาวะตกเลือดหลังคลอด (PPH : Post-partum hemorrhage) มากถึงร้อยละ 80 (1) โดยภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุดของผู้ป่วยสูติกรรมทั่วโลก พบมาก 140,000 รายต่อปี หรือทุก 4 นาทีจะมีหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิต 1 ราย นอกจากการเสียชีวิตแล้ว การตกเลือดหลังคลอดยังส่งผลที่ตามมาหลายอย่างเช่น การหายในลำบากเฉียบพลัน ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด ภาวะช็อกจากการเสียเลือดมาก ภาวะมีบุตรยาก และต่อมใต้สมองตายจากการขาดเลือด (Pituitary necrosis :Sheehan syndrome) (2)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความหมายของภาวะตกเลือดหลังคลอดโดยทั่วไป หมายถึง ภาวะที่มีการเสียเลือดมากกว่า 500 มิลลิลิตร ในการคลอดทางช่องคลอด หรือมากกว่า 1000 มิลลิลิตร ในการผ่าท้องคลอด มักเกิดภายใน 24 ชั่วโมงหลังการคลอด เรียกว่า Primary PPH แต่หากเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด 24 ชั่วโมง จนถึง 12 สัปดาห์ เรียกว่า Secondary PPH
ปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ใช้รักษาภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว แต่หากหลังให้ยาไปแล้วมดลูกยังหดรัดตัวไม่ดีและยังมีเลือดออกทางช่องคลอด ควรพิจารณาว่าล้มเหลวในการรักษาด้วยยา โดยระยาเวลาของการให้ยาหรือให้ยากี่ตัวจะถือว่าล้มเหลวยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด แต่หากมดลูกไม่ตอบสนองต่อยา จำเป็นจะต้องรักษาภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่ดีด้วยหัตถการต่างๆ และการผ่าตัดห้ามเลือดเพื่อรักษาชีวิตของผู้ป่วยต่อไป

ปัจจัยส่งเสริมของภาวะมกลูกหดรัดตัวไม่ดี (3)

  1. ระยะคลอดยืดเยื้อยาวนาน (Failure to progression)
  2. มดลูกขยายหรือยืดตัวมากเกินไป (Overdistended uterus) เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ ทารกตัวโต(Macrosomia)
  3. การคลอดที่ต้องใช้หัตถการต่างๆ เช่น การใช้มือเข้าไปหมุนเปลี่ยนท่าทารกในโพรงมดลูก (Internal podalic version) การทำคลอดด้วยคีม (Forcep extraction)
  4. การเสียเลือดมาก จากหลายสาเหตุเช่น จากแผลผีเย็บหรือการฉีกขาด ทำให้มดลูกมี hypoxia ยิ่งส่งเสริมให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี และยิ่งเสียเลือดมากยิ่งขึ้น
  5. เคยคลอดบุตรหลายคน (Multiparity) โดยเฉพาะในรายที่เคยมีประวัติตกเลือดหลังคลอดมาก่อน
  6. มีแผลที่ตัวมดลูกมาก่อน เช่น เคยผ่าตัดทำคลอด ผ่าตัดเนื้องอกมดลูก หรือ hysterotomy
  7. มีเนื้องอกที่ตัวมดลูก ซึ่งจะขัดขวางการกดรัดตัวของมดลูก
  8. รกลอกตัวก่อนกำหนด และมี couvelaire uterus คือ การเห็นผนังมดลูกมีสีคล้ำเป็นจ้ำๆ เนื่องจากเลือดออกชนิด concealed ได้แทรกซึมเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อมดลูกจนถึงใต้ชั้น serosa
  9. การชั้นนำคลอด (Induction of labour) หรือการกระตุ้นเสริมการหดรัดตัวมดลูก (Augmentation)
  10. การหดรัดตัวหลังคลอดไม่ดีโดยไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic atony)

    ตั้ง ครรภ์ เกิน กำ หนด 2

    Loading...
    You got lucky! We have no ad to show to you!
    ติดต่อโฆษณา

The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ


ที่มา : haamor.com,  w1.med.cmu.ac.th

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

ตะคริวที่ท้องขณะตั้งครรภ์ เป็นได้ยังไง แก้ยังไงให้หาย?

ท้องเสียขณะตั้งครรภ์ทำอย่างไร ถ่ายปรู๊ดปร๊าด รุนแรงแค่ไหนถึงต้องไปหาหมอ

มดลูกลอยตัวอันตรายไหม มดลูกลอยตัวตอนตั้งครรภ์และหลังคลอด เป็นอย่างไร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R