แพ้ท้องเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ตั้งครรภ์เกือบจะทุกคน ในแม่ท้องบางคนมีอาการแพ้ท้องหนักมาก หรือบางคนมีอาการแพ้ท้องเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ไม่ว่าอาการแพ้ท้องจะเป็นมากหรือน้อย ก็ส่งผลให้ต่อการใช้ประจำวันของคุณแม่ได้ค่ะ ดังนั้นเพื่อช่วยให้คุณแม่สามารถรับมือได้กับอาการแพ้ท้อง เรามี 5 วิธีเอาชนะอาการแพ้ท้อง ที่สามารถทำได้ง่ายๆ มาแนะนำให้ค่ะ
อาการแพ้ท้องสัปดาห์แรก เป็นอย่างไร สัญญาณตั้งครรภ์ที่ควรรู้
คุณแม่ตั้งครรภ์จะเริ่มมีอาการแพ้ท้องขึ้นในช่วงอายุครรภ์ได้ 4-6 สัปดาห์ จากนั้นอาการแพ้ท้องก็จะค่อยๆ ทุเลาลงจนหายเป็นปกติเมื่ออายุครรภ์ผ่านไปได้ 12-14 สัปดาห์ อาการแพ้ท้องถือเป็นหนึ่งในสัญญาณที่ร่างกายแสดงออกมา เพื่อบ่งบอกว่าได้มีการตั้งครรภ์ขึ้น สำหรับอาการของแพ้ท้อง คุณแม่สามารถสังเกตตัวเองได้ดังนี้ค่ะ
- เวียนศีรษะ
- รู้สึกเหนื่อยง่าย ง่วงอยากนอนตลอดเวลา
- คลื่นไส้พะอึดพะอมอยากอาเจียน
- รู้สึกแสบตรงบริเวณลิ้นปี่
- รู้สึกขมในปาก เบื่อไม่อยากอาหาร
- รู้สึกเหม็นกลิ่นทุกชนิด เช่น กลิ่นอาหาร กลิ่นน้ำหอม กลิ่นโลชั่น เป็นต้น
5 วิธีเอาชนะอาการแพ้ท้อง
แพ้ท้อง (morning sickness) เป็นอาการปกติของคุณแม่ที่ไม่อาจปฎิเสธไม่ให้เกิดขึ้นได้ขณะตั้งครรภ์ แต่คุณแม่สามารถบรรเทาอาการแพ้ท้องให้ดีขึ้นได้ค่ะ
- ช่วงสายๆ ของวันให้เพิ่มความสดชื่นแก่ร่างกาย เพื่อจะได้บรรเทาลงจากอาการแพ้ท้อง แนะนำคุณแม่ดื่มเป็นนมโยเกิร์ตพร้อมดื่มสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน ดื่มแล้วจะช่วยทำให้รู้สึกสดชื่น หรือระหว่างวันอาจสลับมาดื่มเป็นนมพร้อมดื่ม ยูเอชทีสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์แช่เย็นๆ ก็ได้นะคะ และก่อนนอนเพื่อให้คุณแม่นอนหลับง่าย หลับสบายขึ้น สามารถดื่มนมผงชงอุ่นๆ สามารถเลือกเป็นนมผงสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ การดื่มนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นนมเปรี้ยวพร้อมดื่ม นมยูเอชที หรือนมผงชง จะช่วยได้ร่างกายของคุณแม่ได้รับสารอาหารหลากหลาย ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ด้วยค่ะ
- และหลังตื่นนอนตอนเช้า ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่าง แนะนำให้คุณแม่หาอะไรเบาๆ กิน เช่น แคร็อกเกอร ซีเรียส หรือน้ำผลไม้คั้นสด
- ระหว่างวันไม่ควรงีบหลับทันทีหลังจากรับประทานอาหารอิ่ม เพราะจะยิ่งไปกระตุ้นให้มีอาการคลื่นไส้ขึ้นมา
- ไม่รับประทานอาหารอ่อนๆ ที่มีกลิ่นฉุน และอาหารที่มีรสชาติเผ็ดจัด หรืออาหารที่มีรสชาติเลี่ยนๆ เพราะจะยิ่งไปกระตุ้นให้คลื่นไส้อยากอาเจียน
- ฝึกสมาธิ ในช่วงเช้า หรือก่อนนอน แนะนำให้คุณแม่นั่งสมาธิเพื่อปรับสมดุลในร่างกาย ช่วยลดความกังวล ความเครียดลงได้
อาหารที่แม่ท้องชอบรับประทานเพื่อบรรเทาอาการแพ้ท้อง
หากคุณแม่มีอาการแพ้ท้องแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่ยิ่งทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เช่น อาหารรสจัด อาหารไขมันสูง อาหารรสหวานจัด และอาหารที่มีกลิ่นแรง แต่โดยปกติแล้วคุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้องมักจะรับประทานอาหารได้ไม่มาก และไม่หลากหลาย เช่น ผลไม้ ไอศกรีม แคร็กเกอร์ น้ำเปล่า น้ำผลไม้ น้ำมะพร้าว หรืออาหารประเภทยำออกเปรี้ยวๆ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นอาหารและเครื่องดื่มซ้ำๆ ที่คุณแม่พอกินได้ในช่วงที่มีอาการแพ้ท้อง จะเห็นว่าแทบจะไม่ได้มีสารอาหารที่ให้ประโยชน์หลากหลายครบถ้วน คุณแม่อาจได้วิตามินแร่ธาตุ จากผลไม้ น้ำผลไม้ ได้พลังงานจากแคร็กเกอร์ และเมนูยำ ซึ่งแน่นอนว่าสารอาหารที่ได้ไม่เพียงพอต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เป็นช่วงที่ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตทางโครงสร้างร่างกาย และมีการพัฒนาสร้างระบบการทำงานต่างๆ มีการสร้างอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย และเซลล์สมองให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องบำรุงคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ให้ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ให้คุณค่าสารอาหารหลากหลาย ได้แก่
- โฟเลต มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง หญิงตั้งครรภ์ ในเดือนแรกจำเป็นต้องได้รับโฟเลตเพื่อช่วยในการ สร้างหลอดประสาทและสมองที่สมบูรณ์ของทารก แหล่งอาหารที่มีโฟเลต เช่น ผักใบเขียวทุกชนิด กล้วย แคนตาลูป ถั่วเหลือง และนมเสริมโฟเลต เป็นต้น
- แคลเซียม มีความจำเป็นต่อการพัฒนาสร้างกระดูกและฟันของลูกน้อยในครรภ์ และเสริมให้กระดูกของคุณแม่ท้องแข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกเสื่อม ขณะตั้งครรภ์ควรได้รับแคลเซียมต่อวันให้ได้ 1,000 มิลลิกรัม แหล่งอาหารที่มีแคลเซียม เช่น นม ปลาตัวเล็กตัวน้อย ชีส โยเกิร์ต เป็นต้น
- ธาตุเหล็ก เป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ช่วยสร้างเมล็ดเลือดแดง และช่วยในการนำส่งสารอาหารและออกซิเจนไปให้ลูกน้อยในครรภ์ ดังนั้นขณะตั้งครรภ์ควรได้รับธาตุเหล็กต่อวันไม่ต่ำกว่า 27 มิลลิกรัม แหล่งอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น ไข่แดง เนื้อแดง ตับหมู ตับไก่ งาดำ งาขาว ผักโขม ผักคะน้า เป็นต้น
- วิตามินบี 2 ช่วยให้ร่างกายได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมันตามปกติ แหล่งอาหารที่มีวิตามินบี 2 เช่น ข้าว ธัญพืช เนื้อสัตว์ ไข่ นม ตับ ผักใบเขียว โยเกิร์ต เป็นต้น
- ไอโอดีน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการพัฒนา ของร่างกายและสมอง แหล่งอาหารที่มีไอโอดีน เช่น อาหารทะเล สาหร่ายทะเล เกลือเสริมไอโอดีน เป็นต้น
- วิตามินดี มีส่วนสำคัญต่อการดูดซึมแคลเซียม และฟอสฟอรัสจากอาหาร ช่วยให้มวลกระดูกแข็งแรง แหล่งอาหาร เช่น นม ไข่แดง ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาแซลมอน และยังได้จากแสงแดดอ่อนๆ ในช่วงเช้า เป็นต้น
นมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ช่วยลดอาการแพ้ท้อง
ในช่วงที่คุณแม่มีอาการแพ้ท้อง สามารถดื่มเป็นนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ค่ะ ให้เลือกเป็นนมโยเกิร์ตพร้อมดื่ม เพราะจะมีรสชาติเปรี้ยวหวานกำลังดี คุณแม่ท้องดื่มแล้วจะรู้สึกสดชื่นขึ้น ช่วยลดอาการแพ้ท้องได้ดีค่ะ ที่สำคัญยังดื่มต่อเนื่องไปจนถึงช่วงให้นมลูกได้ด้วยค่ะ จะช่วยเสริมให้น้ำนมแม่มีสารอาหารครบถ้วน อาทิเช่น
- ดีเอชเอ DHA เป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย ช่วยในการพัฒนาสมองการเรียนรู้ และระบบการมองเห็นให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- แกงกลิโอไซด์ GA เป็นส่วนประกอบสำคัญของสมองบริเวณเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ช่วยทำให้การเรียนรู้จดจำได้อย่างรวดเร็ว
- วิตามินบี 6 ช่วยในการทำงานตามปกติของระบบประสาท
- วิตามินบี 12 ช่วยในการทำงานปกติของระบบประสาทและสมอง
การดื่มนมขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์นอกจากจะดีต่อสุขภาพร่างกายของคุณแม่แล้ว ลูกน้อยในครรภ์ยังจะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนด้วยคุณค่าสารอาหารหลายชนิด ที่มีส่วนสำคัญช่วยในการเจริญเติบโตที่แข็งแรงสมบูรณ์ไปจนคลอดเลยค่ะ
อ้างอิง
- แพ้ท้องอยู่ใช่ไหม ต้องทำอย่างไรมีคำตอบ, โรงพยาบาลเพชรเวช, https://www.petcharavejhospital.com/th/
- เมื่อท้อง..ต้องแพ้ด้วยหรือ?, โรงพยาบาลเปาโล, https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/เมื่อท้อง–ต้องแพ้ด้วยหรือ-
- 6 อาหารที่ช่วยลดอาการแพ้ท้องได้ (Food that help morning sickness), แพทย์หญิงทานตะวัน พระโสภา เฉพาะทางเวชศาสตร์ฉุกเฉิน, https://www.drnoithefamily.com/post/food-that-help-morning-sickness
- วิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญต่อร่างกาย, โรงพยาบาลกรุงเทพ, https://www.bangkokhospital.com/content/vitamin-deficiency
- แหล่งรวมวิตามินในอาหาร, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/แหล่งรวมวิตามินในอาหาร/
- อาการแพ้ท้องกับคุณแม่ตั้งครรภ์…เรื่องกวนใจที่แก้ได้!!, โรงพยาบาลเปาโล, https://www.paolohospital.com/th-TH/chokchai4/Article/Details/อาการแพ้ท้องกับคุณแม่ตั้งครรภ์…เรื่องกวนใจที่แก้ได้–