เนื้องอกรังไข่ สัญญาณโรคมะเร็งรังไข่ที่ผู้หญิงต้องระวัง

เนื้องอกรังไข่ สัญญาณโรคมะเร็งรังไข่ที่ผู้หญิงต้องระวัง - เรามารู้จักและสังเกตุอาการของเนื้องอกรังไข่ และวิธีรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งต่างจากมะเร็งปากมดลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เนื้องอกรังไข่ ภัยใกล้ตัวที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม หากผู้หญิงเรารู้สึกพุงป่อง ท้องโตทั้งที่ไม่ใช่คนอ้วน ประจำเดือนมาผิดปกติ ควรไปเช็คอาการด่วน เพราะคุณอาจเสี่ยงมีเนื้องอกรังไข่ซ่อนอยู่ ส่วนใหญ่จะเป็นก้อนเนื้อที่เจริญเติบโตในร่างกายของผู้หญิงมากกว่าปกติ เนื้องอกรังไข่มีทั้งชนิดธรรมดาและชนิดที่เป็นมะเร็ง สำหรับเนื้องอกรังไข่ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือ ชนิดเยื่อบุผิว ซึ่งพบร้อยละ 60-65 ของเนื้องอกรังไข่ และประมาณร้อยละ 90 ของเนื้องอกของรังไข่ที่เป็นมะเร็ง แล้วเนื้องอกรังไข่เกิดขึ้นได้อย่างไร มารู้จักรังไข่กันก่อนดีกว่า

 

เนื้องอกรังไข่ไม่ใช่เนื้องอกในมดลูก …แล้วมดลูกและรังไข่แตกต่างกันอย่างไร

รังไข่คืออะไร

รังไข่ คืออวัยวะสำคัญของผู้หญิงเทียบเท่ากับอัณฑะในผู้ชาย มีลักษณะเป็นรูปไข่โดยปกติขนาด 2-3 ซม. จะอยู่ข้างปีกมดลูกทั้งสองข้าง โดยรังไข่จะทำหน้าที่หลัก 2 อย่าง คือ การผลิตฮอร์โมนเพศหญิง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายทำให้ผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงร่างกายเป็นผู้หญิงอย่างสมบูรณ์ ดังนั้น อวัยวะส่วนนี้จึงเสี่ยงต่อการเป็นเนื้องอกรังไข่

ส่วนหน้าที่หลักอีกอย่างคือ ผลิตไข่ ซึ่งรอเวลาที่จะผสมกับน้ำเชื้อของผู้ชาย จนกลายเป็นตัวอ่อน ส่วนเนื้องอกรังไข่นั้นเป็นก้อนที่เกิดขึ้นที่รังไข่ สามารถพบได้บ่อยในผู้หญิงทุกช่วงอายุ โดยทั่วไปแล้วเนื้องอกรังไข่ จะแบ่งออกตามลักษณะการตกของไข่ เป็น 2 ชนิดด้วยกันคือ

  1. ถุงน้ำ (Cyst) เป็นเนื้องอกรังไข่ ที่มีลักษณะเป็นถุง ภายในบรรจุของเหลว น้ำ เนื้อเยื่อ หรือไขมัน
  2. เนื้องอกรังไข่ ชนิดเนื้อตันบางส่วนเป็นเนื้อร้าย (มะเร็ง)

Uterus = มดลูก, Ovary = รังไข่

มดลูกคืออะไร

มดลูก คือ อวัยวะที่แข็งแรงมาก เพราะเป็นกล้ามเนื้อจำนวนสามชั้นเรียงทับกันขนาดเล็กประมาณเท่าลูกแพร์ หรือลูกชมพู่ มีลักษณะเป็นโพรงสามเหลี่ยมแบนๆ มีทางแยกสามช่อง คือ ช่องไปยังช่องคลอด และอีกสองทางแยกตรงก้นมดลูกซ้ายและขวา หรือที่เรียกว่าปีกมดลูกนั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการที่พบบ่อยของเนื้องอกรังไข่

อาการเนื้องอกรังไข่ เกิดจากเนื้อก้อนโต กดเบียดอุ้งเชิงกรานหรืออวัยวะข้างเคียง ทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น มีอาการท้องผูก หรือถ่วงท้องน้อย ปวดท้องเฉียบพลัน เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับก้อนเนื้องอกรังไข่ เช่น การบิดขั้ว และการแตกของก้อนซีสต์ และการติดเชื้อ มีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก พบได้ร้อยละ 15 อาจเกิดร่วมโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการอื่นๆ เช่น เบื่ออาหาร อืดแน่นท้อง ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ พบได้เป็นส่วนใหญ่ อาจตรวจพบก้อนจากการตรวจภายในหรือจากการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงของอุ้งเชิงกราน สามารถตรวจสอบอาการเบื้องต้นได้ดังนี้

  • การคลำได้ก้อนด้วยตัวเองที่ท้องน้อย หั่นลองคลำบ่อยๆ หลังหมดประจำเดือน
  • อาจจะพบว่ามีอาการปวดที่ท้องน้อยได้บ้าง
  • บางรายอาจรู้สึกว่าท้องโตขึ้น ทั้งที่เป็นคนผอม
  • มีความผิดปกติของประจำเดือน
  • เนื้องอกรังไข่จะทำให้ปัสสาวะบ่อย ซึ่งเป็นอาการของการที่ก้อนกดทับกระเพาะปัสสาวะ
  • ท้องผูก ถ่ายอุจจาระลำบาก ซึ่งเป็นอาการของการที่ก้อนกดทับลำไส้ใหญ่
  • ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการจากภาวะแทรกซ้อน ก้อนที่รังไข่เอง ที่สำคัญได้แก่ อาการปวดท้องน้อยอย่างเฉียบพลันจากภาวะรังไข่บิดตัว (Twisted ovarian tumor) ซึ่งอาจร่วมกับมีไข้ ร่วมด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฉันคิดว่าท้องแต่จริงๆ แล้วเป็นเนื้องอก

อาการในเบื้องต้นอาจคล้ายปวดหน่วงๆ

เนื้องอกรังไข่อาจไม่แสดงอาการ

ผู้ป่วยเนื้องอกรังไข่บางราย ไม่แสดงอาการเลย ทำให้ส่วนใหญ่ที่พบโดยเฉียบพลันเกิดจากการมาพบแพทย์ด้วยอาการเจ็บป่วยอื่นๆ หรือมาตรวจสุขภาพประจำปีจึงมีการตรวจพบก้อนเนื้องอกรังไข่ หรือเมื่อมีอาการก็มักเป็นระยะที่ลุกลามมากแล้ว ถ้าเนื้องอกรังไข่มีขนาดเล็กผู้ป่วยก็จะไม่สามารถสัมผัสถึงความผิดปกติได้ แต่ถ้าก้อนโตขึ้นท้องก็จะโตขึ้น จนคลำก้อนได้ถึงจะรู้ว่ามีเนื้องอกรังไข่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะแทรกซ้อนของเนื้องอกรังไข่  

การตรวจร่างกายจะพบก้อนที่ท้องน้อย หรือตรวจพบก้อนที่ปีกมดลูกจากการตรวจภายใน ลักษณะก้อนจะเป็นก้อนถุงน้ำ ตึงแข็งผิวเรียบ จับเคลื่อนไหวได้ก้อนอำจจะพลิกมาอยู่ทางด้านหน้าของเยื่อบุช่องท้อง (Broad Ligament) ดันมดลูกไปทางด้านหลังภาวะแทรกซ้อนของถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) ที่พบได้ ได้แก่

  1. การบิดขั้ว (Torsion) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดคือ พบประมาณร้อยละ 16 ของเนื้องอก มักพบในเนื้องอกขนาดเล็กหรือปานกลางมากกว่าเนื้องอกที่มีขนาดใหญ่ เมื่อมีการบิดขั้วในระยะแรกจะทำ ให้เกิดเลือดดำ คั่งและเนื้อเยื่อในก้อนเนื้องอกบวมเป็นเหตุให้มีอาการปวด หากการบิดนั้นยังคงอยู่ต่อไปจะทำให้เลือดในหลอดเลือดแดงหยุดไหลเกิดการขาดเลือด อาการปวดอาจจะไม่มากถึงรุนแรงมาก นอกจากนั้นผู้ป่วยมักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ชีพจรเต้นเร็ว มีไข้ กดเจ็บบริเวณท้องน้อยส่วนล่างร่วมกับการหดเกร็ง ตรวจภายในพบกอ้ นที่ปีกมดลูกและกดเจ็บ ภาวะนี้จัดเป็นภาวะฉุกเฉินต้องได้รับการผ่าตัดอย่างรีบด่วนเนื่องจากก้อนเนื้องอกอาจแตกและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การแตกของก้อนเนื้องอก
  2. การแตกหรือรั่วของ ถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) พบได้น้อยคือประมาณร้อยละ 1 พบบ่อยขึ้นในขณะตั้งครรภ์ถ้าก้อนเนื้องอกแตกของเหลวในเนื้องอก จะทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบมาก มี การอักเสบเรื้องรังและเกิดพังผืดแน่นหนาตามมา อาการที่พบได้แก่ ปวดท้อง บางรายมีอาการซีด หากมีเลือดออกในช่องท้องร่วมด้วยโดยทั่วไปต้องทา ผ่าตัดอย่างรีบด่วน เพื่อล้างเอาของเหลวจากเนื้องอกออกให้มากที่สุด
  3. การติดเชื้อ (Infection) พบได้น้อยประมาณร้อยละ 1อาการที่พบได้แก่ มีอาการไข้ร่วมกับปวดท้องน้อยร่วมกับตรวจพบก้อนในอุ้งเชิงกราน เชื้อที่พบส่วนใหญ่เป็นเชื้อแบคทีเรียพวกที่พบในดินส่วนเชื้ออื่นๆ ที่อาจพบได้คือเชื้อซาลโมเนลล่าเป็นต้น

การกลายเป็นมะเร็งรังไข่จึงพบได้ไม่บ่อยนักประมาณร้อยละ 1-23 ของ การแตกรั่วของถุงน้ำดี และร้อยละ 80 ของก้อนที่กลายเป็นมะเร็งนี้เป็นชนิดเซลล์สเควมัส (Squamous) แต่อาจพบเซลล์มะเร็งประเภทอื่นได้ เช่น มะเร็งซาร์โคมามดลูก (Sarcoma) หรือ มะเร็งผิวหนังชนิดรุนแรง (Malignant Melanoma) ได้ แต่อย่างไรก็ควรระวังไว้

การรักษาเนื้องอกรังไข่

สำหรับการรักษาเนื้องอกรังไข่ในเบื้องต้น แพทย์จะทำการตรวจเพื่อวิเคราะห์ก้อนเนื้อว่าเป็นชนิดใดซึ่งวิธีการตรวจวิเคราะห์ก็ทำได้หลากหลายวิธี เมื่อแน่ใจแล้วว่าเป็นก้อนเนื้อแบบไหนก็จะเจาะจงการรักษาลงไปอีกครั้ง ผู้ป่วยที่ยังมีก้อนขนาดเล็กที่สงสัยว่าเป็นถุงน้ำอาการตกไข่ แพทย์ก็จะให้ยารับประทาน ประกอบกับติดตามเฝ้าดูอาการและขนาดของก้อนเนื้อว่ามีขนาดเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไรด้วยการอัลตราซาวด์ บางรายก้อนอาจจะเล็กลงมากแต่หากรักษาด้วยยาและติดตามการรักษาเป็นระยะแล้วก้อนไม่ยุบ และยิ่งมีอาการโตขึ้น แพทย์ก็จะทำการผ่าตัดก้อนเนื้องอก

ซึ่งปัจจุบัน แพทย์จะรักษาเนื้องอกรังไข่ด้วยวิธีการผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery) ซึ่งเป็นรูปแบบการผ่าตัดแบบ MIS คือเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็กและเจ็บน้อย ซึ่งก็เป็นวิธีการผ่าตัดที่ง่ายและสะดวกต่อคนไข้มาก ข้อดีของการส่องกล้องตรวจทางหน้าท้อง คือช่วยให้เห็นลักษณะภายนอกและขนาดของก้อนได้โดยตรง และยังอาจใช้เพื่อการรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องได้อีกด้วย ปัจจุบันการผ่าตัดรักษาโรคทางสูตินรีเวชพัฒนาไปหลายด้าน และที่เป็นประโยชน์สูงสุด คือช่วยในเรื่องการรักษาอาการป่วยให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น คือ แผลมีขนาดเล็ก หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บแผลน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลกว้างฟื้นตัวเร็ว เนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับความบาดเจ็บน้อยกว่า แผลผ่าตัดเล็ก เกิดพังผืดน้อย และลดโอกาสการเกิดแผลติดเชื้อได้มาก ทำให้ร่างกายสามารถฟื้นตัวได้เร็ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เนื้องอกรังไข่ในผู้หญิงมีอาการปวดท้อง

สัญญาณเตือนมะเร็งรังไข่

หากมีอาการท้องอืดเป็นประจำ อาหารไม่ย่อย ปวดท้องเรื้อรัง รับประทานยาลดกรดไม่ดีขึ้น มักมีอาการท้องโตกว่าปกติและคลำพบก้อน มีก้อนในท้องน้อยหรือปวดแน่นท้อง และหากเป็นก้อนมะเร็งที่มีขนาดโตมาก ก้อนเนื้องอกรังไข่นั้นจะไปกดกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ส่วนปลายจนทำให้ถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระลำบาก ตามด้วยอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ในระยะท้าย ๆ ของโรคอาจมีน้ำในช่องท้อง ทำให้ท้องโตขึ้นกว่าเดิม ผอมแห้ง และภาวะขาดอาหารร่วมด้วย

การตรวจวินิจฉัยโรค

  1. ตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจภายใน มักจะคลำพบก้อนในท้องหรือบริเวณท้องน้อย และคลำพบก้อนรังไข่ได้ในสตรีวัยหมดประจำเดือน ร้อยละ 30 มักเป็นมะเร็งของรังไข่ (เพราะตามปกติวัยหมดประจำเดือน รังไข่จะฝ่อ และมีขนาดเล็กลง)
  2. การตรวจด้วยเครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) ช่วยบอกได้ว่า มีก้อนหรือมีน้ำในช่องท้อง ในบางรายที่อ้วนหรือหน้าท้องหนามาก การตรวจร่างกายตามปกติอาจตรวจได้ยากและผลการตรวจอาจไม่ชัดเจน ดังนั้นควรตรวจร่วมกับการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงควบคู่ไปด้วย
  3. การตรวจด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ มีความละเอียดสูง สามารถเห็นภาพลักษณะ ขนาด และจำนวนก้อนในท้อง สามารถตรวจต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่น ๆ ในช่องท้องได้
  4. การตรวจเลือดประกอบเพื่อช่วยในการวินิจฉัยและติดตามการรักษา

อย่างไรก็ตามผู้หญิงควรรักษาและดูแลทั้งมดลูกและรังไข่

หากไม่มีมดลูกและรังไข่ที่ถือว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญสำหรับเพศหญิง หากสูญเสียอวัยวะทั้งสองนี้ไปจะส่งผลต่อร่างกายของคุณผู้หญิงอย่างมาก โดยสามารถแบ่งได้เป็น 4 กรณี ดังนี้

  • หากสูญเสียมดลูกไป ผู้หญิงจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก และจะไม่มีเลือดประจำเดือน แต่ยังคงมีฮอร์โมนเพศหญิงอยู่
  • หากสูญเสียรังไข่ไปเพียงหนึ่งข้าง จะยังสามารถตั้งครรภ์ได้ มีฮอร์โมนเพศหญิง และมีประจำเดือนปกติ
  • หากสูญเสียรังไข่ทั้งสองข้าง จะทำให้ขาดเซลล์สืบพันธุ์และฮอร์โมนเพศหญิง
  • หากสูญเสียมดลูก และรังไข่ทั้งสองข้าง จะทำให้ไม่มีประจำเดือน ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้

พฤติกรรมเสี่ยงทำร้ายมดลูกและรังไข่

  • ตั้งครรภ์ตอนอายุมากการตั้งครรภ์ตอนอายุย่อมส่งผลให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ประจำเดือนมาผิดปกติ เป็นต้น
  • ใช้สเตย์รัดหน้าท้องการใส่สเตย์รัดหน้าท้องจะทำให้รังไข่ได้รับการบีบรัดและอาจส่งผลให้เกิดโรคซีสต์ได้
  • การสูบบุหรี่จะทำให้ผู้หญิงหมดประจำเดือนเร็วและส่งผลให้มดลูกและรังไข่เสื่อมสภาพไวขึ้น

แม้ในปัจจุบันจะมีวิธีการรักษาที่ดีมากอย่างไรแต่ทางที่ดีที่สุดไม่ใช่การรักษา ทางที่ดีที่สุดคือการดูแลตัวเองให้ลดปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรค การแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทางจะเป็นการง่ายกว่าคุ้มค่ากว่าการแก้ปัญหาปลายทาง จึงนับได้ว่าเนื้องอกรังไข่ เป็นหนึ่งโรคที่ใกล้ตัวคุณผู้หญิงจริง

จบทความที่น่าสนใจ

สัญญาณเตือนการเป็น มะเร็งปากมดลูก

เนื้องอกนอกมดลูก-ความกังวลของคุณแม่ท้องแรก

 

ที่มา: thairath , ram-hosp , samitivejhospitals

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan