ไขข้อสงสัย! คุณแม่ท้องน้ำหนักเกิน เสี่ยงเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กินอย่างไรให้สุขภาพดี?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เชื่อว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนล้วนอยากให้ลูกน้อยเกิดมาอย่างสมบูรณ์แข็งแรง แต่ด้วยสภาพร่างกายภูมิคุ้มกัน และฮอร์โมนต่าง ๆ ของคุณแม่ที่มีความเปลี่ยนแปลง ทำให้แม่ท้องเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะที่มักพบได้บ่อยขณะตั้งครรภ์ อย่างโรคอ้วนและภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ที่สร้างความวิตกกังวลให้กับคุณแม่ไม่น้อย บทความนี้จะพาคุณแม่ทุกคนไปดูกันว่า หากตั้งครรภ์แล้วน้ำหนักเกินเกณฑ์ เสี่ยงเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีสาเหตุมาจากอะไร และหากเป็นแล้วควรวางแผนการรับประทานอาหารอย่างไร เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

 

ภาวะน้ำหนักเกินขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร

ภาวะน้ำหนักเกินขณะตั้งครรภ์ คือ ภาวะที่มีน้ำหนักมากเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือ ค่า BMI สูงกว่า 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร โดยภาวะน้ำหนักเกินขณะตั้งครรภ์ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ดังนี้

  1. ปริมาณของอาหารที่รับประทานเข้าไป มากกว่าปริมาณการเผาผลาญและการเคลื่อนไหว
  2. พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล เช่น อาหารรสหวาน อาหารไขมันสูง หรืออาหารระหว่างวันมากเกินไป
  3. มีโรคแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อการเผาผลาญแคลอรี เช่น โรคเบาหวาน หรือภาวะซึมเศร้า
  4. พักผ่อนน้อยและเคลื่อนไหวน้อย อาจทำให้การเผาผลาญของแคลอรีน้อยลง

 

คุณแม่ตั้งครรภ์อ้วน น้ำหนักเกิน เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

แม่ท้องที่มีภาวะน้ำหนักเกินขณะตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงมากกว่าคุณแม่ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพราะเมื่อน้ำหนักเพิ่มขึ้นก็จะมีภาวะแทรกซ้อนและเกิดโรคได้ง่ายกว่า ซึ่งโรคที่พบบ่อยในหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักเกิน เช่น

  • ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เกิดจากภาวะดื้ออินซูลินทำให้ร่างกายกระตุ้นตับให้สร้างและผลิตน้ำตาลเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานและกลับเข้าสู่เซลล์ ทำให้คุณแม่เกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ตามมา ส่งผลเสียต่อทั้งร่างกายของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • โรคอ้วน

เมื่อคุณแม่มีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติในช่วงตั้งครรภ์ ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนในช่วงหลัง คลอดด้วย ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ มากขึ้น รวมถึงส่งผลต่อการให้นมลูก ภาวะซีดหลัง คลอด และภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้มากกว่าคุณแม่ที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์

 

  • โรคที่อาจจะไม่ส่งผลกับสุขภาพแม่ แต่อาจส่งผลต่อสุขภาพของลูก

แม่ท้องที่มีภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน ส่งผลเสียต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ ทำให้ลูกเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงแท้งและพิการมากกว่าปกติ รวมอาจถึงลูกมีปัญหาปากแหว่งเพดานโหว่ ลูกมีน้ำหนักมากกว่าปกติ มีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนเหมือนคุณแม่ และตัวเหลืองมากกว่าปกติ ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ในอนาคต

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กินอย่างไรให้สุขภาพดี

นม เป็นอาหารสำคัญของคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน ไม่ใช่เพียงแค่คุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์เท่านั้น เพราะเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายและลูกในครรภ์ การเลือกดื่มนมที่ปราศจากไขมัน แคลอรีต่ำ และไม่เติมน้ำตาลทราย จะช่วยให้คุณแม่มั่นใจว่าสามารถดูแลตัวเองและลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลว่าน้ำหนักจะขึ้นเยอะเกินไป

นอกจากนี้ คุณแม่อาจต้องเลือกรับประทานอาหารเป็นพิเศษ โดยอาหารที่ช่วยควบคุมน้ำหนักนั้น ต้องประกอบไปด้วยอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงควรมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ผลไม้ ผัก เนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ ไม่ติดหนัง รวมถึงควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้งหรือน้ำตาล ของหวาน อาหารที่มีเกลือสูง และอาหารที่มีไขมันสูง เป็นต้น

 

ที่บอกว่าคนท้องกินนมเยอะ ๆ จะทำให้ลูกในท้องแพ้นมจริงไหม

คุณแม่คงเคยได้ยินความเชื่อที่ว่า คนท้องกินนมเยอะ ๆ จะทำให้ลูกในท้องแพ้นม ในความเป็นจริงแล้ว การดื่มนมในปริมาณพอดีสำหรับคนท้องไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงให้ลูกในท้องแพ้นมแต่อย่างใด ยกเว้นแต่ในกรณีที่คุณแม่กินนมปริมาณที่มาก ๆ เกินคำแนะนำ หรือรับประทานผลิตภัณฑ์นมอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เนย ชีส โยเกิร์ต ในปริมาณมาก ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในภูมิแพ้ในทารกได้ ทั้งนี้ การรับประทานอาหารบางประเภทมากเกินไปในช่วงตั้งครรภ์ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้ลูกแพ้ได้เช่นกัน ไม่ใช่เฉพาะการดื่มนมเท่านั้น แต่ยังเกิดกับอาหารอื่น ๆ เช่น แป้งสาลี ไข่ ถั่วลิสง และอาหารทะเล เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

แนะนำการดูแลตนเองในช่วงตั้งครรภ์

เมื่อตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องใส่ใจเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ เพราะร่างกายต้องการอาหารมากขึ้นเพื่อบำรุงลูกในครรภ์ ซึ่งการรับประทานอาหารบางประเภทจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการลูกในครรภ์ได้เป็นอย่างดี คุณแม่จึงต้องวางแผนการโภชนาการในแต่ละไตรมาสเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ และไม่ให้น้ำหนักขึ้นมากเกินไป โดยสารอาหารที่จำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ มีดังนี้

  • โฟเลตและธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงเลือดของคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์
  • สังกะสี ช่วยในการเจริญเติบโตของลูกน้อย
  • ใยอาหาร ช่วยดูแลระบบย่อยอาหารของคุณแม่ให้แข็งแรง
  • แคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก ทำให้ฟันและกระดูกแข็งแรง
  • วิตามินดีและแมกนีเซียม ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • วิตามิน A, C, DR-10 ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  • วิตามิน B1, B2, B5 และไนอะซิน ช่วยเสริมสร้างพลังงานให้แก่ร่างกายของคุณแม่
  • วิตามิน B6, B12, ไบโอติน DHA, GA, SA ช่วยดูแลระบบประสาทและพัฒนาการทางสมองของลูกน้อย

 

เพราะอะไรถึงควรเลือกดื่มผลิตภัณฑ์นมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะ

เนื่องจากคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องการสารอาหารมากกว่าคนทั่วไป การเลือกดื่มผลิตภัณฑ์นมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะ จะช่วยให้ร่างกายได้รับคุณประโยชน์จากสารอาหารในปริมาณที่เหมาะสม และได้สารอาหารสำคัญสำหรับพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ ทำให้คุณแม่มั่นใจได้เลยว่าสามารถดูแลตัวเองและลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ รวมถึงนมทั่วไปอาจไม่มีสารอาหารจำเป็นสำหรับคนท้อง เช่น ไม่มีโฟเลต ไม่มีธาตุเหล็ก และไม่มีใยอาหาร เป็นต้น

นอกจากนี้ การเลือกดื่มนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร คุณแม่ควรเลือกดื่มนมที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เพราะจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและช่วยเสริมสุขภาพที่ดีให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงเบาหวานหรือน้ำหนักเกิน โดยไม่ต้องกลัวว่าน้ำหนักจะขึ้นเยอะเกินไป เพราะแม้อยู่ในช่วงควบคุมน้ำหนัก คุณแม่ก็ยังคงได้รับสารอาหารครบถ้วน

 

หลังคลอดควรดื่มนมแม่ท้องอยู่ไหม

ช่วงหลังคลอดถือเป็นช่วงที่คุณแม่ยุ่งจนอาจไม่มีเวลาบำรุงตัวเอง และเป็นช่วงที่ทารกจำเป็นต้องได้รับสารอาหารจากน้ำนมแม่ เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ดังนั้น คุณแม่ควรดื่มนมต่อเนื่อง เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ช่วยบำรุงและฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง ซึ่งเมื่อร่างกายแข็งแรงก็จะทำให้น้ำนมมีคุณภาพ มีสารอาหารดี ๆ ส่งต่อไปยังลูกน้อยทางน้ำนม นอกจากนี้ การดื่มนมคนท้องยังช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินเอและแคลเซียมที่ร่างกายต้องการอย่างเพียงพอ และยังช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางในคุณแม่ได้

 

ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องระวังไม่ให้น้ำหนักขึ้นเกินความจำเป็น เพราะเมื่อน้ำหนักเกินมาตรฐาน ร่างกายก็จะเสี่ยงต่อภาวะไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ โดยเฉพาะภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ที่อาจนำมาสู่ความเสี่ยงด้านสุขภาพหลายประการ ดังนั้น คุณแม่ควรวางแผนด้านโภชนาการด้วยการลดอาหารจำพวกแป้ง รับประทานอาหารที่มีโปรตีน ผัก และผลไม้ให้มากขึ้น และอย่าลืมไปตรวจสุขภาพครรภ์ตามที่แพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team