มุมมองการเลี้ยงลูกแบบหมอ ๆ จากคุณแม่นุ่น เป็นหมอทั้งบ้าน จัดสรรเวลาให้ลูกยังไง

แม่ในหลากหลายสาขาอาชีพ ก็มีวิธีการเลี้ยงลูกต่างกันออกไป เราจะชวนมาดู มุมมองการเลี้ยงลูกแบบหมอ ๆ จากคุณแม่นุ่น เป็นหมอทั้งบ้าน หาเวลาให้ลูกยังไง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มุมมองการเลี้ยงลูกแบบหมอ เป็นหมอทั้งบ้าน จัดสรรเวลาให้ลูกยังไง ?

คุณแม่แต่ละบ้าน หลากหลายสาขาอาชีพ ย่อมต้องมีวิธีการเลี้ยงลูกต่างกันออกไป วันนี้เราเลยจะชวนมาดู มุมมองการเลี้ยงลูกแบบหมอ ๆ จากคุณแม่นุ่น ที่เป็นหมอทั้งบ้าน ยุ่ง ไม่ค่อยมีเวลา แบบนี้ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ จะจัดสรรเวลาให้ลูกยังไง แถมยังมีเรื่องโควิด (COVID-19) มาให้กังวลเพิ่มอีก

สำหรับบ้านคุณแม่หมอนุ่นนั้น มีลูกสาวด้วยกัน 1 คน อายุเพียง 2 ปี 8 เดือน เท่านั้น ซึ่งถือว่ายังเด็กอยู่เลย ในขณะที่คุณพ่อ และคุณแม่ ทำงานเป็นหมอทั้งคู่ ต้องเข้าเวรตลอด

คุณแม่นุ่นนั้นเป็นอายุรแพทย์ ส่วนคุณพ่อเป็นศัลยแพทย์ ต้องไปดูคนไข้ ​(Ward​ round)​ ทุกวัน ไม่เว้นวันเสาร์​ อาทิตย์ ​และวันหยุดราชการ

โดยในเวลาราชการ จะทำงานทุก วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 8.30 - 16.30 น. มีบางครั้งที่ต้องอยู่เวร นอกเวลาราชการ เวลา 16.30 - 8.30 น. ซึ่งคุณแม่อยู่เวร 15 วันต่อเดือน คุณพ่ออยู่เวร 10 วันต่อเดือน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนั้น บ้านนี้ยังไม่มีพี่เลี้ยงเด็ก คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงกันเอง เวลาพ่อแม่ไปทำงาน ลูกจะไปอยู่ Daycare ของโรงพยาบาล ตั้งแต่อายุ 5 เดือน (หลังคุณแม่ลาคลอด แล้วกลับไปทำงาน) และมีปู่ ย่า ยาย มาช่วยเลี้ยงบ้าง ในช่วงกลางวัน วันเสาร์อาทิตย์ที่คุณพ่อคุณแม่เข้าเวร

 

เป็นหมอทั้งบ้าน งานยุ่ง มีเวลาให้ลูกน้อยลงมั้ย ?

การที่พ่อแม่เป็นหมอทั้งบ้านแบบนี้ ในความคิดของคนอื่น ๆ จะต้องมีบ้างแหละ ที่คิดว่า แบบนี้จะเอาเวลาที่ไหนเลี้ยงลูก จะมีเวลาให้ลูกน้อยลง จนห่างเหินหรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แต่สำหรับบ้านคุณแม่นุ่น ขอบอกเลยว่า ไม่มีปัญหาเรื่องนี้เลยค่ะ เนื่องจากอยู่กัน 3 คน พ่อแม่ลูก เลี้ยงกันเอง ผลัดกันดูแลลูกอยู่แล้ว เวลาที่ให้ลูกน้อย จึงไม่ได้น้อยลงแต่อย่างใด

และการเป็นหมอ ก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกห่างเหินกับลูก เพราะด้วยความที่ เลี้ยงลูกกันเอง พ่อไม่ว่างก็อยู่กับแม่ แม่ไม่ว่างก็อยู่กับพ่อแทน ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวจึงยังแน่นแฟ้น ไม่ได้รู้สึกว่าเวลาที่ให้ลูกน้อยลง

ด้วยความที่บ้านนี้ลูกเล็ก น้องอายุเพียง 2 ขวบกว่า ๆ เท่านั้น จึงมีงอแงบ้าง เวลาที่พ่อแม่ต้องไปทำงาน แต่ไม่มากค่ะ​ เหมือนเขาจะชิน เพราะเห็นพ่อแม่ทำงานแบบนี้มาตลอด​ พ่อแม่จะคอยบอกลูกตลอดว่า มีคนไข้ไม่สบาย พ่อแม่ต้องไปรักษา ลูก​ก็​พอรู้เรื่องบ้างค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับบ้านที่เป็นหมอทั้งบ้าน แบบบ้านคุณแม่นุ่น อาจจะได้ไปเที่ยว พร้อมหน้าพร้อมตากันทั้งครอบครัวไม่บ่อยนัก ไปเที่ยวที่ไกล ๆ น้อย เพราะพ่อแม่อยู่เวรบ่อย หาเวลาว่างที่ตรงกันยาก

ส่วนมากแล้ว จะพาลูกไปเที่ยวใกล้ ๆ อย่างเช่น ร้านกาแฟ ฟาร์มแถว ๆ บ้าน แล้วก็ไปบ้านปู่ย่าตายายค่ะ

 

การแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 (COVID-19) กระทบกับครอบครัวมั้ย ?

ในเรื่องการแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 (COVID-19) แน่นอนว่า ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ยิ่งสำหรับบ้านที่พ่อแม่เป็นหมอ ทำงานในโรงพยาบาลแล้ว ยิ่งมีความเสี่ยงสูง

โดยเฉพาะคุณแม่นุ่น เนื่องจากคุณแม่เป็นอายุรแพทย์ มีหน้าที่รับผิดชอบดูแล ผู้ต้องสงสัย และผู้ป่วยโควิด-19 (COVID-19) ของโรงพยาบาล

จึงมีความกังวลมาก ว่าจะเอาเชื้อโรคเข้ามาติดลูกเล็กที่บ้าน แต่ก็ได้พยายามป้องกันให้ดีที่สุด เวลาทำงานเสร็จ คุณแม่จะอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า ก่อนสัมผัสลูกทุกครั้ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ถ้าจะให้แนะนำคุณ​แม่ท่านอื่น ๆ ทั้งในฐานะแม่ และในฐานะหมอ ก็คือ​ กังวลได้ แต่ต้องมีสติค่ะ​ คอยติดตามข่าวสาร ประเมินสถานการณ์​ และป้องกันอย่างเหมาะสม ​ไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป

 

กังวลกับการเปิดเทอมของลูกมั้ย สอนน้องรับมือกับโควิด (COVID-19) ยังไง ?

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) สร้างความกังวลให้กับหลาย ๆ บ้าน โดยเฉพาะเวลาที่ลูกต้องเปิดเทอม กลับไปโรงเรียน แน่นอนว่า บ้านของคุณแม่นุ่นก็เช่นกัน มีความกังวลในระดับหนึ่ง

แต่โรงเรียนก็เลื่อนเปิดเทอมมา รอให้สถานการณ์​ค่อนข้างดี แล้วค่อยกลับมาเปิด จึงคลายกังวลได้ระดับนึง​ ประกอบกับทางโรงเรียน ก็​มีมาตรการ​ต่าง ๆ ในการป้องกันการติดเชื้อค่อนข้างดี

เรื่องสอนลูก ในการรับมือกับโรคโควิด-19 (COVID-19) เนื่องจากน้องยังเล็ก ส่วนใหญ่เขายังไม่ค่อยรู้เรื่อง เลยจะเน้นให้ใส่หน้ากาก และล้างมือบ่อย ๆ แทน

 

เป็นหมอทั้งบ้านแบบนี้ อยากให้น้องเป็นหมอด้วยมั้ย ?

คำถามนึง ที่น่าจะอยู่ในใจแม่ ๆ บ้านอื่น คือ จะอยากให้ลูกเป็นหมอด้วยหรือไม่ เนื่องจากทั้งพ่อและแม่ เป็นหมอทั้งบ้านแบบนี้ บวกกับกระแสสังคม เรื่องการเป็นหมอได้คือเก่ง เป็นอาชีพที่มั่นคง และเงินเดือนดี

สำหรับบ้านแม่หมอนุ่น คุณแม่ได้บอกว่า รู้สึกเฉย ๆ ค่ะ ไม่บังคับให้เป็น แต่ถ้าลูกอยากเป็นหมอด้วยตัวเอง ก็จะไม่ห้าม คงจะสนับสนุนเต็มที่ และแนะนำให้เลือกเรียนต่อเฉพาะทาง ในด้านที่งานไม่หนักจนเกินไป

และทั้งหมดนี้ก็เป็น มุมมองในการเลี้ยงลูกแบบหมอ ๆ จากบ้านคุณแม่นุ่น ที่แม่ ๆ บ้านอื่น สามารถนำไปปรับใช้กับบ้านตัวเองได้ ทาง theAsianparent Thailand ต้องขอขอบคุณคุณแม่นุ่น ที่มาร่วมแชร์มุมมองการเลี้ยงลูกกับเราด้วยค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีเก็บเงินแบบแม่ญี่ปุ่น เก็บเงินอย่างไรให้เหลือเยอะๆ เคล็ดลับแม่บ้านญี่ปุ่น

ชวนทำเมนู ขนมปังหน้าหมู เมนูของว่างทำง่าย อิ่มอร่อยได้ทั้งบ้าน

500 ชื่อเล่นลูกสาว สองพยางค์ ชื่อลูกสาวน่ารักๆ เพราะๆ เก๋ๆ ไม่ซ้ำใคร

บทความโดย

PP.