อุณหภูมิร่างกายทารกแรกเกิด แม่ต้องวัดอุณหภูมิ จะได้รู้ว่า ลูกตัวร้อนหรือลูกตัวเย็น

อาการต่าง ๆ ของทารกในช่วง 28 วัน หรือหลังคลอดราว ๆ 1 เดือน ที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องวิตกกังวลอย่างมาก ว่าวิธีการดูแลลูกน้อยของเรานั้น ถูกต้องแล้วหรือไม่ สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่จะบอกได้ว่า ลูกมีสุขภาพที่ดีหรือไม่ นั่นคือ อุณหภูมิร่างกายทารกแรกเกิด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พ่อแม่มือใหม่ มักจะมีความวิตกกังวลเรื่องการเลี้ยงดูทารกแรกเกิด เพราะเจ้าตัวเล็กนั้นยังบอบบาง อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายก็ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะอาการต่าง ๆ ของทารกในช่วง 28 วัน หรือหลังคลอดราว ๆ 1 เดือน ที่จะทำให้คุณพ่อ คุณแม่ ต้องวิตกกังวลอย่างมาก ว่าวิธีการดูแลลูกน้อยของเรานั้น ถูกต้องแล้ว หรือไม่ ทั้งการอาบน้ำทารกแรกเกิด การให้นมแม่ การพาลูกเข้านอน รวมทั้งโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่มักเกิดขึ้นกับทารกด้วย และสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่จะบอกได้ว่า ลูกมีสุขภาพที่ดี หรือไม่ นั่นคือ อุณหภูมิร่างกายทารกแรกเกิด

 

อุณหภูมิร่างกายเด็ก อุณหภูมิร่างกายทารกแรกเกิด กี่องศา ? ทารกมีไข้กี่องศา อุณหภูมิไข้ อุณหภูมิปกติของร่างกาย อุณหภูมิทารก

พญ.วิมล เสกธีระ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด – ปริกำเนิด โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า เด็กแรกเกิด หรือทารกแรกเกิด จะมีอุณหภูมิปกติอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส หากลูกแรกเกิดมีร่างกายปกติ อุณหภูมิร่างกายของลูกควรอยู่ในช่วง 36.5 – 37.5 (หรือ ±0.5 องศา) เมื่อลูกแรกเกิดมีอุณหภูมิร่างกายมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส นั่นคือ ลูกตัวร้อน

 

การวัดอุณหภูมิร่างกายทารกแรกเกิด อุณหภูมิไข้ อุณหภูมิปกติของร่างกาย

  • คุณพ่อ คุณแม่ ต้องใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิ ไม่ควรวัดอุณหภูมิร่างกายทางหน้าผาก เพราะอาจมีการอ่านค่าที่ผิดพลาดได้ง่าย และไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กเล็ก
  • อย่านำปรอทวัดไข้ เข้าปากลูก เพราะลูกอาจงับ หรือกัด เสี่ยงทำให้ปรอทแตกได้
  • การวัดอุณหภูมิร่างกายเด็กแรกเกิด ควรใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิทางรักแร้นาน 3 – 5 นาที แล้วอ่านค่า หากลูกมีไข้ ควรพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยาลดไข้มาให้ลูกทานเองเด็ดขาด เนื่องจากอาจเป็นการปิดบังอาการ และเกิดอันตรายต่อเด็กได้

อุณหภูมิร่างกายเด็ก การวัดอุณหภูมิร่างกายเด็กแรกเกิด ควรใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิทางรักแร้นาน 3 – 5 นาที แล้วอ่านค่า หากลูกมีไข้ ควรพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยาลดไข้มาให้ลูกทานเองเด็ดขาด เนื่องจากอาจเป็นการปิดบังอาการ และเกิดอันตรายต่อเด็กได้ อุณหภูมิร่างกายทารก

 

ทารกแรกเกิดตัวเย็น อุณหภูมิปกติของร่างกาย อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

การสังเกตว่า ลูกแรกเกิดตัวเย็น หรือไม่ จะสามารถใช้มือสัมผัสได้ หากรู้สึกว่าลูกน้อยตัวเย็น ให้สังเกตว่า ปลายมือ ปลายเท้าเขียวคล้ำ หรือไม่ ถ้าลูกมีอาการเขียวคล้ำ ซ้ำยังซึม ๆ ให้รีบพาลูกมาพบแพทย์ทันที เป็นไปได้ว่า เด็กอาจมีภาวะติดเชื้อ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วง 28 วันแรก หรือหลังคลอด 1 เดือน ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม ที่จะพาลูกแรกเกิดออกไปเที่ยวนอกบ้าน (ยกเว้นว่า ลูกต้องไปหาหมอ) เพราะทารกแรกเกิด ยังไม่สามารถปรับตัวเรื่องอุณหภูมิของร่างกายได้

 

ลูกอายุเท่าไหร่ จึงจะพาออกนอกบ้านได้

ช่วงอายุน้อยที่สุดที่พาลูกออกนอกบ้านได้ คือประมาณ 4 – 6 เดือน เพราะลูกเริ่มมีความพร้อมทางด้านร่างกาย และอารมณ์ สื่อสารรู้เรื่อง และได้รับวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันมาบ้างแล้ว เมื่อมีความจำเป็นที่ต้องพาทารกออกนอกบ้าน ควรหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด หรือมีคนมาก หากลูกยังเล็ก ก็ยังไม่ควรพาออกไปนอนบ้านมากนัก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากมีความจำเป็นต้องพาลูกออกนอกบ้าน ต้องคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้

  • เลือกเวลาเดินทาง ควรพิจารณาการเดินทางในเวลาที่เหมาะสม เช่น อาจเลือกเวลาใกล้ ๆ กับเวลานอนของลูกในระหว่างเดินทาง เพื่อให้ลูกได้มีเวลาพักผ่อนได้มากที่สุด เพราะทารกวัยแรกเกิด ยังไม่สามารถรับรู้อะไร นอกจากการนอนเป็นสำคัญ
  • อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับลูกน้อย เช่น ของใช้จำเป็นสำหรับลูก คาร์ซีท รถเข็น ของเล่นเด็ก ยาของลูก ฯลฯ จัดเตรียมให้พร้อม
  • ความเอาใจใส่ลูกน้อย เพราะร่างกายของเด็กเล็กยังไม่สามารถปรับตัวได้ดี ลูกอาจจะมีงอแง หงุดหงิด อันเกิดจากความไม่สบายตัว หรือหิว คุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการของลูกน้อย หรือคอยดูชั่วโมงการให้นม และการนอนของลูกให้เป็นอย่างดี
  • การเลือกสถานที่เดินทางต้องคำนึงถึงลูก หากจำเป็นต้องพาลูกเล็กเดินทางไกล หรือไปพักผ่อน การเลือกที่พักโดยมีลูกน้อยไปด้วยควรเป็นโรงแรม หรือห้องพักที่ปลอดภัยพอสำหรับเด็กเล็ก เป็นต้น

 

อุณหภูมิร่างกายเด็ก อุณหภูมิ ร่างกาย เด็ก อุณหภูมิร่างกายทารก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อุณหภูมิปกติของร่างกาย รู้ได้อย่างไรว่าลูกตัวร้อน ?

อุณหภูมิร่างกายที่มากกว่า 37.5 – 38 องศาเซลเซียส ถือว่ามีไข้สูง ซึ่งสังเกตได้จาก
  • สัมผัสหน้าผาก หลัง หรือหน้าท้องของลูกแล้วรู้สึกร้อน
  • มีเหงื่อออกมาก ตัวเปียกชื้น
  • แก้มแดง

การวัดค่าอุณหภูมิร่างกายของลูก อาจจะมีความผิดเพี้ยนไปได้บ้าง สาเหตุจาก

  • การที่คุณพ่อ คุณแม่ ห่อตัวลูกด้วยผ้า
  • ลูกอยู่ในห้องที่มีอากาศอุ่น
  • ลูกมีความร่าเริง หรือขยับเขยื้อนร่างกายมาก
  • ลูกจับขวดนมที่มีความอุ่น
  • ลูกใส่เสื้อผ้าหลายชั้น
  • ลูกเพิ่งอาบน้ำเสร็จ

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกมีอุณหภูมิร่างกายสูง

อุณหภูมิร่างกายของลูกที่สูงขึ้น เป็นสัญญาณที่บอกว่าร่างกายกำลังต่อสู้กับเชื้อโรค เด็กบางคนจะมีอาการไข้ หรืออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น หลังจากการฉีดวัคซีน หากคุณพ่อคุณแม่รู้สึกเป็นกังวล ควรปรึกษาแพทย์

 

ทำอย่างไรเมื่อลูกมีอุณหภูมิร่างกายสูง ?

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายของลูกมีความร้อนขึ้น คือการขาดน้ำ ให้ลูกดื่มน้ำอย่างเพียงพอ หากลูกยังคงดื่มนมแม่ คุณแม่ควรให้ลูกดื่มนมมากขึ้น แต่หากลูกมีอาการดังนี้ ควรพบแพทย์ทันที

  • ลูกมีอาการป่วย เช่น กระสับกระส่าย  มีผื่นขึ้น เป็นต้น
  • ลูกอายุน้อยกว่า 3 เดือน อุณหภูมิสูงกว่า 38 องศา
  • ลูกอายุระหว่าง 3 – 6 เดือน อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 39 องศา

 

อุณหภูมิร่างกายเด็ก อุณหภูมิ ร่างกาย เด็ก สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายของลูกมีร้อนขึ้น คือการขาดน้ำ ให้ลูกดื่มน้ำอย่างเพียงพอ หากลูกยังคงดื่มนมแม่ คุณแม่ควรให้ลูกดื่มนมมากขึ้น แต่หากลูกมีอาการดังนี้ ควรพบแพทย์ทันที อุณหภูมิร่างกายทารก

ประเภทของเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายเด็ก

  • การวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก (Rectal thermometers)

เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด จนถึง 3 ขวบ เป็นเครื่องมือวัดอุณหภูมิร่างกายที่ให้ผลลัพธ์แม่นยำที่สุด

  • การวัดอุณหภูมิทางรักแร้ (Axillary thermometers)

เหมาะสำหรับเด็กเล็ก หรือช่วงวัยที่ลูกสามารถจะหนีบ หรือประคับ ประคอง เครื่องมือชนิดนี้เอาไว้ใต้รักแร้ได้ แม้ว่าจะเทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิทางรักแร้ จะไม่สามารถให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำได้เท่ากับการวัดทางทวารหนัก แต่ถือว่าเป็นประเภทที่ใช้งานได้ง่ายมาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การวัดอุณหภูมิทางหู และหน้าผาก (Ear and forehead thermometers)

ข้อดีคือ ใช้งานง่าย สะดวก และรวดเร็ว จะมีติดบ้านไว้สักอันก็ไม่เสียหาย แต่เครื่องมือชนิดนี้ ไม่ได้ให้ความแม่นยำเท่าไรนัก วิธีการใช้คือ วางไว้บนหน้าผาก หรือรูหูของลูก

  • การวัดอุณหภูมิทางปาก (Oral thermometers)

เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3 – 4 ปี ที่พอจะเข้าใจอะไรบ้างแล้ว และสามารถที่จะอมเทอร์โมมิเตอร์เอาไว้ใต้ลิ้นได้ประมาณ 1 นาที เพื่อความแม่นยำ

1 ใน 3 ของเด็กทารกที่เป็นไข้หวัด ควรได้รับการดูแลจากแพทย์ หากแต่ไม่ใช่ทุก ๆ อาการ ที่จะรุนแรง จนต้องเป็นกังวล เพราะระบบภูมิคุ้มกันของทารกก็กำลังก่อร่างสร้างตัวเองให้แข็งแรง พร้อมรับมือกับเชื้อโรคอื่น ๆ ในอนาคต แม้ว่าคุณพ่อ คุณแม่ จะดูแลลูกอย่างดีที่สุดแล้ว ลูกได้ดื่มนมแม่ และมีภูมิคุ้มกันอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ดี ลูกก็อาจต้องมีอาการไข้ หรือเป็นหวัดครั้งแรก ซึ่งอาจทำให้คุณพ่อ คุณแม่ เป็นกังวลไม่น้อย ดังนั้น หากลูกมีอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรตั้งสติ และรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที

 

แหล่งข้อมูล: whattoexpect , nhs.uk

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ไม่อยาก ให้ลูกต้องป่วยบ่อย ต้องสอนลูกให้ทำแบบนี้

ผนังหน้าท้องไม่ปิด สาเหตุการเกิด gastroschisis ที่ทำให้ลูกต้องทรมานตั้งแต่แรกเกิด

โรต้าไวรัส สาเหตุโรคอุจจาระร่วง วิจัยเผย ส่งผลต่อ พัฒนา การทารก เสี่ยงไอคิวต่ำ

บทความโดย

Tulya