กองทุนประกันสังคม เพิ่มเงิน สงเคราะห์เพื่อการคลอดบุตรเป็น 30,000 บาท

จากการปรับเพิ่มฐานค่าจ้างจาก 15,000 บาทเป็น 20,000 บาท ผู้ประกันตนจะได้อะไรเพิ่มขึ้น?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กองทุนประกันสังคม เพิ่มเงิน สงเคราะห์บุตร

กองทุนประกันสังคม เพิ่มเงิน สงเคราะห์เพื่อการคลอดบุตรเป็น 30,000 บาท จากเดิมได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการคลอดบุตร เป็นเงิน 22,500 บาท

 

กรณีคลอดบุตร กองทุนประกันสังคม

ปรับเพิ่มฐานค่าจ้างจาก 15,000 บาทเป็น 20,000 บาท ผู้ประกันตนจะได้อะไรเพิ่มขึ้น?

  • เดิม (ผู้ประกันตนหญิง) ได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการคลอดบุตร เป็นเงิน 22,500 บาท
  • ปรับเพิ่ม (ผู้ประกันตนหญิง) ได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการคลอดบุตร เป็นเงิน 30,000 บาท

 

ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการปรับเพิ่มฐานค่าจ้างในการคำนวณอัตราเงินสมทบเพิ่มใหม่ หรือการเก็บเงินสมทบแบบใหม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท จ่ายสบทบเท่าเดิม สูงสุดไม่เกิน 750 บาท
  • เงินเดือน 16,000 บาท จ่ายสมทบ 800 บาท/เดือน
  • เงินเดือน 17,000 บาท จ่ายสมทบ 850 บาท/เดือน
  • เงินเดือน 18,000 บาท จ่ายสมทบ 900 บาท/เดือน
  • เงินเดือน 19,000 บาท จ่ายสมทบ 950 บาท/เดือน
  • เงินเดือนตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป จ่ายสมทบสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน

เตรียมประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย  AIA H&S Extra (new standard) คลิกที่นี่

สำหรับกรณีคลอดบุตร สำนักงานประกันสังคม มีรายละเอียด ดังนี้

1.หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

11..จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร

1.2.จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วันสำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1.3.กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง

พิจารณาสั่งจ่าย

เงินสด/เช็ค (ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน)
ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน
โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  3. สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
  4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมี 11 ธนาคาร ดังนี้
    1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
    2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
    3) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
    4) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
    5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
    6) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
    7) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
    8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
    9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
    10) ธนาคารออมสิน
    11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

หมายเหตุ หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สถานที่ยื่นเรื่อง

ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

ที่มา : https://www.sso.go.th

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก

เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรจาก 400 เป็น 600 บาท ประกันสังคมมอบของขวัญปีใหม่แม่ท้อง

เบี้ยประกันสังคมแบบใหม่ เงินเดือน 2 หมื่นขึ้น เก็บ 1 พันบาท จะดีเหร้อออ!!!

แพ็คเกจคลอด ปี 2560 ของโรงพยาบาลทุกภาคทั่วไทย เช็คราคากันได้เลย

 

บทความโดย

Tulya