บทเรียนเรื่องเงินสำหรับลูก ที่นำไปใช้ได้ตลอดชีวิต

ทักษะทางการเงินสำหรับลูกเริ่มได้ตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่อเริ่มตั้งแต่อายุเท่านี้ ความรู้ของลูกก็จะมีแต่เพิ่มกับเพิ่ม เรื่องเงินก็เช่นเดียวกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทักษะทางการเงินสำหรับลูก เริ่มได้ตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่อเริ่มตั้งแต่อายุเท่านี้ ความรู้ของลูกก็จะมีแต่เพิ่มกับเพิ่ม เรื่องเงินก็เช่นเดียวกัน

เราเคยพูดเล่นว่า พ่อของเราเป็นต้นไม้เงิน ไม่ต้องออมเงินหรือหาเงินหรอก ถ้าอยากได้ของเล่นสักชิ้นนะ ก็แค่ไปเขย่าต้นไม้เงินสูงใหญ่ต้นนี้ และแน่นอน ความจริงก็คือ เงินไม่ได้งอกออกมาจากต้นไม้ และอีกอย่างที่เป็นเรื่องจริงเหมือนกันก็คือ เด็กต้องเรียนรู้ความสำคัญของการออมเงิน คุณค่าของการบากบั่นทำงาน และผลที่เกิดจากการตอบแทนสังคม ยิ่งไปกว่านั้น ในโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน มันยิ่งจำเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่เราต้องสอนลูกให้รู้ถึงอำนาจ และคุณค่าที่แท้จริงของเงิน แต่จะเริ่มตรงไหนดีล่ะ ลูกจะเข้าใจแนวคิดเรื่องเงินไหม แล้วจะทำยังไงเพื่อปลูกฝังนิสัยดี ๆ ที่ลูกสามารถนำไปใช้ได้ตลอดชีวิตล่ะ

 

ทักษะทางการเงินในเด็ก

ก่อนอื่นเลย เรามีข่าวดีมากบอก คุณเองน่าจะเริ่มต้นได้สวยแล้วนะ ในการศึกษาเกี่ยวกับการสอนลูกเรื่องเงินในเอเชีย ที่จัดทำโดยอีสต์สปริง อินเวสต์เมนต์ส ซึ่งสำรวจพ่อแม่ผู้ปกครองในเก้าประเทศกลุ่มอาเซียน พบว่าพ่อแม่ผู้ปกครอง 95% เชื่อว่าการสอนลูกเรื่องเงิน ซึ่งคือการสอนให้ลูกรู้จักใช้เงินและจัดการเงินนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ พ่อแม่ผู้ปกครองแต่ละคนอาจจะมีรูปแบบการสื่อสารเรื่องนี้ที่ไม่เหมือนกัน หรือก็คือการสอนลูกเรื่องเงินที่ไม่เหมือนกันนั่นแหละ แต่นี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเลย ในฐานะที่พ่อแม่ผู้ปกครองคือบุคคลต้นแบบคนแรกของลูก

 

ควรเริ่มสอนลูกเรื่องเงินได้ตอนไหน?

โดยทั่วไปแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองในเอเชีย (จำนวน 65% ของผู้ที่ตอบแบบสอบถาม) สอนลูกเรื่องเงินตอนอายุสิบขวบหรือน้อยกว่านั้น ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับตอนที่ลูกเริ่มไปโรงเรียนและการจัดการการเงินกลายเป็นสิ่งสำคัญ แต่จริง ๆ แล้ว ถ้าถามว่า ควรสอนลูกตอนไหนดีล่ะก็ขอตอบแบบง่าย ๆ เลยว่า ยิ่งสอนได้เร็วก็ยิ่งดีเด็กอายุสามถึงห้าขวบสามารถเรียนรู้เรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับเงิน และคุณอาจจะทึ่งที่เห็นว่าลูกเข้าใจได้มากแค่ไหน จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ที่จัดทำโดยมันนีแอดไวซ์เซอร์วิซของสหราชอาณาจักร นิสัยทางการเงินถูกสร้างขึ้นตั้งแต่อายุเจ็ดขวบ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สอนเรื่องคุณค่าของเงิน กระปุกออมสินยุคใหม่

ก่อนคุณจะบอกรายละเอียดที่ซับซ้อนของพอร์ตการลงทุนให้ลูกตัวน้อยฟัง จุดเริ่มต้นที่ดีก็คือกระปุกออมสินน่ารักหรือขวดโหลสำหรับเงินออม ผลสำรวจการสอนลูกเรื่องเงินชี้ว่า มีพ่อแม่ผู้ปกครองในเอเชียทำแบบนี้แล้ว 47% ในขณะที่ลูกยังเด็ก บทเรียนที่คุณอยากให้ลูกเรียนรู้ก็คือ ให้ลูกรู้ว่าเงินเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ และนั่นเป็นเหตุผลให้คิดก่อนที่จะซื้อของ

ในการสอนเรื่องนี้ คุณอาจจะต้องปรับเปลี่ยนกระปุกออมสินให้มันดูทันสมัยสักหน่อย โดยให้มีขวดโหลสามอันแทน แล้วให้ลูกเขียนแปะแต่ละใบว่า อดออม” “ใช้จ่ายและ แบ่งปันขวดที่เขียนว่า อดออมจะสอนให้ลูกรู้ว่าการออมเงินนั้นสนุก และคุ้มค่า เมื่อเทียบกับการเอาเงินทั้งหมดไปซื้อของเล่น และไอศกรีม ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นปัญหาสำหรับผู้ใหญ่เหมือนกันนะ ขวดโหลที่เขียนว่า ใช้จ่ายเป็นสิ่งที่สอนลูกให้รู้จักอำนาจของเงิน เมื่อลูกรู้ว่าเงินมีอำนาจที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการ และความจำเป็น ลูกก็จะเรียนรู้ว่าเงินมีประโยชน์แค่ไหน ท้ายที่สุด ขวดโหลที่เขียนว่า แบ่งปันขวดนี้ทำให้ลูกเรียนรู้บทเรียนสำคัญ อย่างเช่น ตำแหน่งแห่งหนของตัวเองในชุมชน หรือบ่อยครั้งก็จะเรียนรู้ว่า ยิ่งให้ก็ยิ่งได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มีบทเรียนเรื่องเงินที่นำไปใช้ได้ตลอดชีวิตอีก

ขวดโหลทั้งสามเป็นแค่จุดเริ่มต้น ยังมีอีกหลายทางเพื่อสอนลูกเรื่องเงิน ถ้าคุณสามารถทำเรื่องเงินให้เป็นสิ่งปกติในชีวิตของลูกได้ มันจะเป็นประโยชน์กับทั้งลูกและตัวคุณในอนาคต เหมือนกับการลงทุนอย่างชาญฉลาด

ช่วงทารกและช่วงอนุบาล

  1. ให้ค่าขนมลูก คุณเริ่มให้ค่าขนมลูกได้ตอนที่ลูกเข้าเรียน หรือให้ตอนอายุน้อยกว่านั้นก็ได้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเยอะแยะมากมายอะไร จุดประสงค์ของการให้เงินค่าขนมตั้งแต่อายุยังน้อย ก็เพื่อให้ลูกคุ้นชินกับการมีเงินติดตัว
  2. เล่นสวมบทบาท ในช่วงเวลาเล่นของลูก ลองจำลองว่าอยู่ที่ร้านอาหารและทำเป็นจ่ายค่าอาหารดู ไม่ก็เล่นจำลองการไปซื้อของข้างนอก หรือจะให้ลูกนั่งตักแล้วซื้อของผ่านทางออนไลน์ไปด้วยกันก็ได้นะ

ช่วงประถมฯ

  1. วิชางบใช้จ่ายเบื้องต้น พอลูกของคุณเข้าเรียนชั้นประถมฯ คุณอาจจะให้ค่าขนมลูกก้อนใหญ่สำหรับใช้ทั้งสัปดาห์ หรือจะให้เป็นรายเดือนก็ยังได้ ถ้าคุณคิดว่าลูกจัดการไหวนะ การทำแบบนี้จะสอนให้ลูกจัดการงบใช้จ่าย และถ้าเกิดว่าลูกของคุณใช้วันเดียวหมดละก็ แข็งใจไว้นะ อย่าให้ลูกยืมเงิน
  2. เปิดบัญชีธนาคาร การสำรวจเกี่ยวกับการสอนลูกเรื่องเงินทำให้เห็นว่า พ่อแม่ผู้ปกครอง 48% เปิดบัญชีออมเงินให้ลูกแล้ว นี่เป็นวิธีง่าย ๆ ในการสอนลูกช่วงวัยเด็ก ให้รู้จักวิธีทำให้เงินงอกเงย
  3. ตั้งเป้าหมาย สิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ลูกคุณออมเงินมากที่สุด ก็คือเป้าหมายส่วนตัวของลูกคุณเอง เราแค่คอยดูว่าเป้าหมายนั้นเป็นไปได้จริง ถ้าเป้าหมายของลูกออกจะแพงไปนิด ก็ลองใช้แผนอัดฉีด อย่างเช่น ลูกออมเงินได้เท่าไหร่ ก็จะสมทบให้อีกเท่าตัว นี่เป็นวิธีง่าย ๆ ในการสอนลูกว่า การออมเงินทำให้เงินเพิ่มพูน
  4. เปลี่ยนงานบ้านให้เป็นเงิน สอนลูกของคุณให้เห็นค่าของการบากบั่นทำงาน ด้วยการกำหนดมูลค่าทางการเงิน ให้กับงานบ้านที่ทำอยู่ในบ้าน นี่เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการให้เด็กเรียนรู้วิธีหาเงินด้วยตัวเอง และพ่อแม่ผู้ปกครองในเอเชีย 33% ก็ใช้วิธีนี้

และยิ่งไปกว่านั้น

  1. คุยเรื่องเงินในระดับสูงขึ้นไปอีก พอลูกของคุณเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ให้ปรับการคุยเรื่องเงินที่ทำเป็นประจำอยู่แล้ว พัฒนาให้สมกับวัยที่โตขึ้น กระตุ้นให้ลูกของคุณออมเงินด้วยการสอนให้รู้จักกับพลังของดอกเบี้ยทบต้น คุณอาจจะลองทำตัวเป็นธนาคารก็ได้ ให้ลูกเอาเงินมาฝากไว้ที่คุณ แล้วหลังจากครบกำหนด คุณก็คืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย
  2. สนับสนุนให้ลูกมีงานเสริม ไม่กำหนดว่าต้องเป็นงานไหน ลูกของคุณทำงานในร้านอาหารจานด่วน เสิร์ฟอาหาร หรือพนักงานดูแลร้านก็ได้ ประเด็นอยู่ที่การสอนให้ลูกวัยรุ่นของคุณรู้ว่า ทุกงานมีศักดิ์ศรีเหมือนกัน
  3. การลงทุนจำลอง ผลลัพธ์ที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องการ หลังจากสอนลูกเรื่องเงินก็คือ ให้ลูกรู้วิธีการทำให้เงินงอกเงย และถ้าคุณเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองแบบนี้ คุณก็สามารถสอนลูกวัยหนุ่มสาวให้ลงในทุนในหุ้นด้วยการทดลองก่อน ให้ลูกเขียนลงกระดาษ ใส่ตัวเลขจำลองการลงทุนจากหุ้นจริงๆ แล้วคอยติดตามพอร์ตการลงทุนของลูกและให้รางวัลตอบแทนถ้าลูกทำได้ดี พอลูกพร้อมแล้ว ก็ให้เริ่มลงทุนจริง โดยเริ่มจากเงินจำนวนน้อย ๆ ก่อน

บทเรียนเรื่องเงินสามารถเริ่มตอนลูกยังเล็กมากๆ ได้ และควรจะพัฒนาไปตามระดับวุฒิภาวะของลูก จากการสั่งสอนอย่างสม่ำเสมอของคุณ ลูกของคุณจะได้เรียนรู้วิธีที่เหมาะสมในการจัดการเงิน และพร้อมสำหรับชีวิตในวัยผู้ใหญ่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team