กฎหมายเรื่องลูก มีอะไรบ้าง ? พ่อกับแม่ใครมีสิทธิในตัวลูกมากกว่ากัน

พ่อกับแม่ใครมีสิทธิในตัวลูกมากกว่ากัน ถ้าไม่ได้จดทะเบียน ถ้าจดทะเบียนเเล้วหย่า ถ้าไม่ได้ใส่ชื่อพ่อในใบเกิด ใครจะมีสิทธิกันเเน่นะ

พ่อกับแม่ใครมีสิทธิในตัวลูกมากกว่ากัน ฟ้องร้องเรื่องลูก ในกรณีที่ไม่จดทะเบียนสมรส เเละจดทะเบียน เเละถ้าหย่าร้างกันละ กฎหมายเรื่องลูก มีอะไรบ้าง ฟ้องศาลเรื่องลูก สิทธิการเลี้ยงดูบุตร หลังหย่า พ่อกับเเม่ใครจะมีสิทธิในตัวลูกนะ

 

กฎหมายเรื่องลูก ฟ้องร้องเรื่องลูก มีอะไรบ้าง ?

กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส กฎหมายเรื่องลูก

คุณเเม่มีสิทธิในตัวของลูกเพียงผู้เดียวค่ะ เเม้ว่าจะมีการใส่ชื่อบิดาในใบเกิดของลูกก็ตาม แม้ว่าเมื่อลูกโตขึ้น ต้องเข้าเรียนทำงาน หรือรับราชการใด ๆ ก็ตาม การไม่ระบุชื่อบิดาจะไม่มีปัยหาในการทำเอกสารใด ๆ ทั้งสิ้น

เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรส (ถูกต้องตามกฎหมายหรือจดทะเบียนกัน) กับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้นอำนาจการปกครองบุตรจึงเป็นของมารดาฝ่ายเดียว (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546)

 

ฟ้องร้องเรื่องลูก คุณพ่อจะมีสิทธิในตัวลูกได้ยังไง

คุณพ่อจะมีสิทธิในตัวลูก หรือลูกจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย (ซึ่งบิดาและมารดาของบุตรจะมีอำนาจปกครองบุตรร่วมกัน) ก็ต่อเมื่อ

  • บิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง
  • บิดาได้จดทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตร (ต้องได้รับความยินยอมทั้งจากมารดาและเด็กโดยตามปกติต้องไปให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียนที่อำเภอ)
  • ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547) โดยต้องให้ญาติสนิทของเด็กคนอื่นๆหรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดี เพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็กตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1556

 

กฎหมายเรื่องลูก กรณีจดรับรองบุตร

ทำให้ลูกมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเเละรับมรดกจากพ่อ เเละพ่อมีสิทธิในตัวลูกค่ะ ส่วนเรื่องฝ่ายไหนจะเลี้ยงนั้น หากฝ่ายชายเมื่อรับรองบุตร แล้วสามารถจะเอาบุตรไปเลี้ยงได้ ต้องร้องขอเปลี่ยนอำนาจปกครองจากแม่ไปเป็นของพ่อเสียก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1566(5) ซึ่งศาลจะพิจารณาว่า บุตรอยู่กับพ่อหรือแม่ลูกจะได้ประโยชน์มากที่สุด ก็จะพิจารณาไปตามที่สมควร อาจจะเป็นแม่หรือพ่อก็ได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ที่ไม่ได้มีอำนาจปกครองพบปะบุตรตามสมควร

เเต่อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการเลี้ยงลูกนั้น หากต้องมีการฟ้องร้องการเลี้ยงดูลูกนั้น ว่าพ่อหรือเเม่มีความเหมาะสมมากกว่ากัน ศาลจะพิจารณาโดยอิงผลประโยชน์ของเด็กเป็นอันดับแรกค่ะ

 

กรณีจดทะเบียนสมรสและหย่าขาดด้วยความสมัครใจ ฟ้องร้องเรื่องลูก

  • สามารถใช้อำนาจการปกครองบุตรร่วมกันได้ ซึ่งควรต้องมีทำความตกลงเป็นหนังสือ ระบุผู้มีอำนาจปกครองบุตร หากตกลงกันไม่ได้ต้องเป็นหน้าที่ของศาลเป็นผู้ชี้ขาด เพื่อให้เกิดความชัดเจนไม่มีปัญหาการแย่งตัวเด็กกันในภายหลัง
  • การมีสิทธิในตัวลูก อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น หากคุณพ่อหรือคุณเเม่ ประพฤติตนไม่สมควร หรือมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดี ศาลมีอำนาจเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองได้
  • แม้จะหย่าแล้ว อีกฝ่ายที่ไม่ได้เลี้ยงดูลูก ไม่ว่าจะเป็นพ่อหรือแม่หรือปู่ย่าตายายก็ตาม  ยังมีสิทธิในการติดต่อกับเด็กได้ตามสมควร แต่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กเป็นสำคัญ
  • ค่าอุปการะเลี้ยงดู หากไม่ได้ตกลงในสัญญา สามารถให้ศาลเป็นผู้กำหนดได้ ศาลจะชี้ขาดโดยคำนึงถึงประโยชน์ของเด็กเป็นหลัก

 

ที่มา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ลักษณะ ๒ บิดามารดากับบุตร

บทความที่คุณอาจจะสนใจ :

10 ข้อต้องอ่านก่อนลงเอยด้วยการหย่าร้าง

เมื่อเพื่อนหรือญาติต้องหย่าร้าง เราควรทำตัวอย่างไร?