“โรคติดโทรศัพท์มือถือ” ส่งผลต่อความสัมพันธ์ขนาดไหน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต กลายเป็นปัจจัยใกล้ตัวที่เกือบแทบทุกรุ่นทุกวัยขาดไปไม่ได้เสียแล้ว จนทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า “โนโมโฟเบีย” หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “โรคติดโทรศัพท์มือถือ” ขึ้นมา ภาพเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่สะท้อนพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ ที่จะบอกได้ว่า โรคติดโทรศัพท์มือถือจะส่งผลต่อลูกขนาดไหน

มีผลการศึกษาพบว่า เรามักจะใช้เวลาอย่างน้อยแค่เพียง 30 วินาทีในการหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาเช็กเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ อีเมล หรือกดดูแอพต่าง ๆ แบบไม่มีเรื่องเร่งด่วน แต่กลายสิ่งที่ทำประจำจนติดนิสัยกันไปแล้ว

8 ภาพที่สะท้อนได้ว่า พฤติกรรมติดใช้โทรศัพท์ของคุณหนักขนาดไหน

1.) ตื่นนอนขึ้นมาสิ่งแรกที่คุณทำคือ เปิดโทรศัพท์

2) ถึงแม้จะอยู่ใกล้กับคนที่คุณรักแต่โทรศัพท์ก็ยังอยู่ใกล้ชิดคุณมากกว่า

3) ตลอดทั้งวันโทรศัพท์ไม่เคยที่จะห่างตัวเลย (แม้แต่ตอนเพิ่งจะแต่งงาน!)

4) เมื่อคุณขึ้นรถคุณต้องเอาโทรศัพท์ขึ้นมาถือไว้หรือเอาออกมาวางให้เห็น และเมื่อรถติดคุณก็ไม่พลาดที่จะใช้เวลานั้นถือโทรศัพท์ขึ้นมากด

5) กลายเป็นว่าลูก ๆ ของคุณมีโลกส่วนตัวกันคนละเครื่อง

6) พฤติกรรมติดโทรศัพท์ของคุณก็จะส่งผลไปถึงลูกของคุณด้วย

7) แม้แต่เวลาอาหารอยู่พร้อมกันทั้งครอบครัว กลับไม่มีบทสทนาบนโต๊ะกินข้าว

8) ให้ความสนใจกับมือถือตลอดเวลา จนลืมมองเห็นว่าลูกฉี่ราดแล้วออกมาแล้วนะ!

ทั้งหมดนี้จะเห็นว่า การติดโทรศัพท์ ติดโซเชียล ทำให้เราละเลยที่สิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่สนใจคนรอบข้าง บางครั้งเล่นจนไม่ได้รับประทานอาหาร อดหลับอดนอน ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน การเรียน และที่สำคัญที่สุดเมื่อเราให้เวลากับโทรศัพท์มากเกินไปเราจะมีเวลาดูแลสุขภาพของตัวเองน้อยลง และละเลยกับความสัมพันธ์ในครอบครัว

การใช้เทคโนโลยีจึงควรใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด และที่สำคัญสำหรับการให้เด็กใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างในการใช้งานและให้คำแนะนำดูแลลูกอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกัน “โรคติดโทรศัพท์มือถือ” ดีที่สุด

Credit : https://www.removed.social

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ติดมือถือมากไป อาจเป็นมัจจุราชเงียบในการทำลายความสัมพันธ์
เด็กไทยติดโทรศัพท์มือถือ ใช้ตั้งแต่ตื่นจนเข้านอน

บทความโดย

Napatsakorn .R