อะไรคือ Top 6 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ "มะเร็งปากมดลูก"

มีหลายเรื่องที่เชื่อกันผิด ๆ เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก เรามาดูกันดีกว่าว่าความจริงเบื้องหลังความเชื่อเหล่านี้มีอะไรบ้าง และเราจะป้องกัน (ทั้งตัวเองและคนที่เรารัก) ไม่ให้เป็นมะเร็งปากมดลูกได้อย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อะไรคือ Top 6 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ “มะเร็งปากมดลูก”

อะไรคือ Top 6 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ “มะเร็งปากมดลูก”

ก่อนที่จะเริ่มต้น เรามาดูความเป็นจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับมะเร็งกันก่อน

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ อุบัติเหตุ และ โรคหัวใจ สำหรับมะเร็งในสตรีไทยนั้น มะเร็งที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดคือมะเร็งปากมดลูก

ฟังดูน่ากลัวใช่รึเปล่า? 

แต่อันที่จริงมะเร็งปากมดลูกป้องกันได้และสามารถรักษาให้หายได้ ถ้าได้รับการรักษาในช่วงระยะก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก

ช่วงหลายปีที่ผ่านมามีความพยายามอย่างมากในการเพิ่มความตระหนักรับรู้ในสังคมเกี่ยวกับเรื่องมะเร็งปากมดลูกและวิธีการป้องกันมะเร็งปากมดลูก ซึ่งรวมถึงการแก้ไขความเชื่อผิด ๆ เรื่องมะเร็งปากมดลูกเพื่อช่วยให้ผู้หญิงและคนเป็นพ่อแม่ได้เข้าใจวิธีการป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ถูกต้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ความเชื่อผิด ๆ เรื่องมะเร็งปากมดลูกและความจริงที่อยู่เบื้องหลังความเชื่อมีอะไรบ้าง

ฉันไม่มีความเสี่ยง ที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูก เพราะไม่มีใครในครอบครัว มีประวัติเป็นโรคนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ความเชื่อผิด ๆ เรื่องที่ 1 มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่คนไม่ค่อยเป็นกัน ดังนั้นฉันจะไม่เป็นมะเร็งปากมดลูกง่าย ๆ หรอก

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบได้มากเป็นอันดับ 2 ในผู้หญิงทั่วโลก โดยมีการตรวจพบใหม่ราว 500,000 รายแต่ละปี และมีผู้เสียชีวิตเพราะมะเร็งปากมดลูกราว 270,000 รายทุกปี ย้ำอีกครั้งว่าสำหรับมะเร็งในสตรีไทยนั้น มะเร็งที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดคือมะเร็งปากมดลูก จากรายงานของสำนักงานวิจัยมะเร็งนานาชาติพบว่า ในปีพ.ศ. 2544 ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ปีละ 6,192 ราย เสียชีวิต 3,166 ราย หรือประมาณร้อยละ 50 ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุด คือ คุณควรทำทุกอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งปากมดลูก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความเชื่อผิด ๆ เรื่องที่ 2 ฉันไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกได้เพราะไม่มีใครในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคนี้

ยังคงมีผู้หญิงบางส่วนทั่วโลกที่ไม่ยอมไปตรวจมะเร็งปากมดลูก เพราะคิดว่าตัวเองไม่มีความเสี่ยงเนื่องจากในครอบครัวไม่มีใครมีประวัติเป็นโรคนี้

อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงเกือบทั้งหมดที่พบว่าเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกนั้นก็ไม่ได้มีประวัติว่ามีใครในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มาก่อน สาเหตุที่เป็นกันได้ก็เพราะการติดเชื้อไวรัสที่เรียกกันว่า Human Papilloma Virus หรือ HPV

 

ความเชื่อผิด ๆ เรื่องที่ 3 การเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน

ปกติแล้วไวรัส HPV แพร่ได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคนและติดต่อกันได้ทางบริเวณอวัยวะเพศ และผู้หญิงที่มีคู่นอนหลายคนก็เสี่ยงติดเชื้อ HPV ได้มากว่าหนึ่งชนิดด้วย

อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่มีคู่นอนเพียงแค่คนเดียวก็มีโอกาสติดเชื้อ HPV ด้วยหากคู่นอนของตนคนนั้นมีคู่นอนอีกหลายคน

อ่านต่อหน้าถัดไป >>>

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปวดท้องน้อย อาจเป็นอาการ ของมะเร็ง ปากมดลูก

ความเชื่อผิด ๆ เรื่องที่ 4 ฉันสบายดี ฉันไม่ได้ติดเชื้อ HPV

การติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่ก็เกิดขึ้นโดยไม่มีสัญญาณบอกเหตุหรืออาการอะไร นั่นคือเหตุผลว่าทำไมการตรวจมะเร็งปากมดลูกและการป้องกันจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เมื่อมะเร็งมีพัฒนาการ ผู้ติดเชื้ออาจพบสัญญาณบอกเหตุและมีอาการต่าง ๆ เช่น

– เลือดออกในช่องคลอดหลังการมีเพศสัมพันธ์ ช่วงที่ไม่มีประจำเดือน หรือ หลังช่วงวัยทอง

– ตกขาวเป็นน้ำ ๆ หรือมีเลือด ซึ่งอาจมีปริมาณมากหรือมีกลิ่นแรง

– ปวดท้องน้อยหรือเจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์

เนื่องจากสัญญาณบอกเหตุการเป็นมะเร็งปากมดลูกนั้นเงียบเชียบ คือแทบไม่มีสัญญาณเลย ดังนั้นผู้หญิงอายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกผ่านการตรวจแปปสเมียร์ (pap smear) เป็นประจำเพื่อตรวจว่าเซลล์ปากมดลูกเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่

ความเชื่อผิด ๆ เรื่องที่ 4 ฉันสบายดี ฉันไม่ได้ติดเชื้อ HPV

 

ความเชื่อผิด ๆ เรื่องที่ 5 หากฉันตรวจแปปสเมียร์ครั้งหนึ่งแล้วแปลว่าฉันจะไม่เป็นมะเร็งปากมดลูก ฉันไม่จำเป็นต้องไปตรวจซ้ำอีก

เรื่องนี้ต่างจากที่คนส่วนใหญ่คิดกัน การตรวจแปปสเมียร์เพียงครั้งเดียวไม่อาจปกป้องคุณจากการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ เพราะลักษณะเซลล์ปากมดลูกก็เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

ผลการตรวจแปปสเมียร์ว่าคุณเป็นปกติหนึ่งครั้งไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่มีวันเป็นมะเร็งปากมดลูกไปตลอดกาล เป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณควรไปตรวจแปปสเมียร์เป็นประจำทุกปี หากคุณอายุระหว่าง 25 ถึง 69 ปี และยังมีเพศสัมพันธ์

 

ความเชื่อผิด ๆ เรื่องที่ 6 การตรวจแปปสเมียร์มีประสิทธิภาพดีแล้ว ดังนั้นการฉีดวัคซีนป้องกัน HPV จึงไม่จำเป็น

นับเป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องทราบว่าการตรวจแปปสเมียร์และการฉีดวัคซีนป้องกัน HPV มีบทบาทต่างกันในการช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง

การตรวจแปปสเมียร์คือการตรวจเพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในปากมดลูกซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้ ส่วนการฉีดวัคซีนป้องกัน HPV นั้นสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV บางชนิดได้ และช่วยลดโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกได้

จะเป็นการดีที่สุดที่คุณควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำในเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกัน HPV

การตรวจแปปสเมียร์มีประสิทธิภาพดีแล้ว ดังนั้นการฉีดวัคซีนป้องกัน HPV จึงไม่จำเป็น

ที่มา: theAsianparent Singapore

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และในเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แม่ท้องต้องระวัง แท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนด เพราะปากมดลูกหลวม

วิธีดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด แม่ผ่าคลอดควรปฎิบัติตัวอย่างไร ทำอย่างไรให้ฟื้นตัวเร็ว

ก้อยปลา กินดิบ เสี่ยงมะเร็งท่อน้ำดี ถึงตายได้ !