คำถามเกี่ยวกับการแท้ง รวมทุกเรื่องที่คุณต้องรู้ รู้ไว้ดีเป็นความรู้
บทความนี้เขียนโดย Regina G. Posadas คุณหมอสูตินารีวิทยา เพื่ออยากที่จะให้ความรู้แก่คุณแม่ เรื่องความเสี่ยงต่างๆ และ ความจริงที่จะเกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับการแท้ง คำถามเกี่ยวกับการแท้ง
การแท้ง เป็นประสบการณ์ที่ยากลำบากและข้ามผ่านไปได้ยาก มันเกิดขึ้นได้อย่างกะทันหัน และ สร้างความตกใจให้กับคุณแม่ มันยากลำบากและเจ็บปวด มันโจมตีคุณอย่างเงียบๆ แต่มันจะทิ้งผลกระทบทางอารมณ์ไว้เบื้องหลัง ทั้งความโกรธ ความหงุดหงิด ไม่มั่นใจ ไร้ความหวัง และ ความเศร้า มันเป็นความรู้สึกที่แย่จริงๆ
เรื่องหนึ่งที่คุณแม่จะต้องทราบก่อนเลยก็คือ คุณแม่ไม่ควรที่จะโทษตัวเอง เมื่อเกิดการแท้งขึ้น การแท้งสามารถเกิดขึ้นได้ แม้ว่าคุณจะมีหมอที่ดีที่สุด และ ดูแลตัวเองอย่างดีมากแค่ไหนก็ตาม อ้างอิงจากข้อมูลของ National Health Service (NHS) เผยว่า 8 ใน การท้องทั้งหมด มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแท้ง และ การแท้งส่วนใหญ่ ไม่สามารถป้องกันได้
แต่สิ่งที่ดีที่สุดที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะแท้งได้ ก็คือ การให้ความรู้แก่ตัวเองในเรื่องนี้
คุณหมอ Dr. Patricia Evelyn P. Palaypayon เป็นคุณหมอ สูตินรีเวช ที่มีประสบการณ์มากมาย นอกจากนั้นเธอยัง หมอด้านสุขภาพและความปลอดภัย ที่โรงพยาบาล Ospital ng Palawan ในเมือง Palawan ประเทศ Philippines ในบทความนี้เธอจะมาตอบคำถาม ที่คนถามบ่อยเกี่ยวกับเรื่องการแท้ง อาการ และ ช่วงพักรักษาตัว
อะไรคือการแท้ง และ อาการหลักคืออะไร?
การแท้ง หมายถึงการเสียลูกในท้องไปก่อนที่เขาจะได้เกิดขึ้นมา อาการหลักที่พบได้ก็คือ ประจำเดือนมาช้า เลือดออกจากช่องคลอด อาการเหน็บชา และ เจ็บในช่วงท้องล่าง
คุณจะรู้ได้อย่างไร ว่าในคือแค่การเลือดออกแบบปกติ หรือ นี่คืออาการของคนแท้ง?
ถ้ามีอาการเลือดออก ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นอาการของการแท้ง การแท้งจะถูกแบ่งและจัดการโดยอ้างอิงจากตำแหน่งของ ลูกอ่อนในครรภ์ และ รก รวมไปถึงการขยายของมดลูก ที่ทราบได้จากการตรวจ กระดูกเชิงกราน ซึ่งใช้การ Ultrasound เพื่อหาตำแหน่งที่ถูกต้อง
เราสามารถเสียลูกโดยที่ไม่รู้สึกเจ็บหรือ ไม่มีสัญญาณอะไรเลยหรือไม่?
คำตอบสั้นๆเลยก็คือ ใช่ ผู้หญิงหลายคนไม่ทราบเลยว่าตัวเองแท้ง(เพราะพวกเขาไม่รู้เลยว่าตัวเองท้อง) พวกเธออาจจะคิดว่า ประจำเดือนมากกว่าปกติเท่านั้น การเจ็บบริเวณช่วงท้องล่าง อาจจะถูกเข้าใจผิดไปว่าเป็น ประจำเดือนได้เช่นกัน
อะไรทำให้เกิดอาการแท้งเงียบ?
สาเหตุที่ทำให้เกิดการแท้งนั้น ยังไม่ชัดเจนอย่างแน่นอน ใน 50% บอกว่าอาการนี้เกิดมาจาก ตัวเลขโครโมโซม ที่ผิดปกติ หรือในบางครั้ง มันก็เกิดจากปัญหาในมดลูก และ การกระแทก และ ผลกระทบทางร่างกายก็มีผลเช่นกัน
อะไรคือการแท้งแบบไม่สมบูรณ์?
การแท้งที่ไม่สมบูรณ์ จะเกิดขึ้นได้ถ้ามีเลือดไหล ปากมดลูกพอง และยังเนื้อเยื่อหลงเหลืออยู่ในมดลูก สิ่งนี้จะเกิดขึ้นเมื่อ ไข่ ไม่ได้พัฒนาการอย่างปกติ
การแท้งสามารถเกิดในไตรมาสที่สอง และ ไตรมาสสามได้หรือไม่?
ใช่ ไตรมาสแรกคือ 3 เดือนแรก และ ไตรมาสสองคือเดือน 4-6 การแท้งในไตรมาสหลังๆ นั้นคือเมื่อ 14 ถึง 24 สัปดาห์ แล้วลูกแท้ง
เมื่อไหร่ที่คุณแม่ควรไปหาหมอและสแกน?
คุณจะต้องผ่านการสแกนหลายครั้ง ในการตั้งครรภ์หนึ่งครั้ง การสแกนในช่วงแรกของการตั้งครรภ์คือช่วง 6-8 สัปดาห์จะใช้คอนเฟิร์มว่า ลูกในครรภ์ เป็นปกติหรือไม่ การ Ultrasound ครั้งต่อมา ช่วง 14 – 20 สัปดาห์ เพื่อวัดความหนาของน้ำในรก ว่ามันมีความผิดปกติอะไรหรือไม่ Ultrasound ในช่วง 18 ถึง 20 สัปดาห์ ใช้เพื่อหาเพศของทารกในครรภ์ และวัดอวัยวะ ต่างๆในร่างกายของเด็ก คุณแม่ควรจะไปหาหมอทุกครั้งตามที่คุณหมอนัด และถามคำถาม หรือ บอกเล่าความกังวลที่คุณมีให้กับคุณหมอฟัง เขาจะได้แนะนำให้ได้อย่างถูกต้อง
การทำ Ultrasound จะนำอันตรายมาสู่ตัวเด็กหรือไม่?
ไม่เลย การทำ Ultrasound จะไม่ส่งผลกระทบต่อตัวเด็ก การทำ Ultrasound จะส่งคลื่นเสียงผ่านไปยังครรภ์ และ ส่งกลับมา เพื่อเครื่องมือจะได้ทำให้เห็นการขยับและตำแหน่งของลูก
หลังจากคุณแม่แท้ง คุณแม่สามารถมีเซ็กซ์ และ ท้องได้อีกเมื่อไหร่
เวลาที่ปลอดภัยคือหลังจาก เลือดหยุดไหล 3 – 6 เดือน หลังจากการแท้ง
เมื่อไหร่ที่จะกลับมามีประจำเดือน?
หลังจากการแท้ง คุณแม่จะกลับมามีประจำเดือน ภายในช่วง 4 – 6 สัปดาห์ แต่มันอาจจะต้องใช่เวลากว่า 2 – 3 เดือน ที่ประจำเดือนจะมาอย่างปกติ
อะไรคือการแท้งซ้ำซ้อน?
การแท้งซ้ำซ้อน คือการที่เสียลูกจากการทำแท้งมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไปและ ทราบได่ผ่านการทำ Ultra Sound ก่อนที่อายุครรภ์จะถึง 20 สัปดาห์ จากการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย อาการนี้ต่างจาก อาการบางคนที่ไม่สามารถตั้งท้องได้
วิธีที่ดีที่สุด ที่จะรักษาตัวหลังจากเกิดการแท้ง?
- ให้เวลาตัวเองได้มีโอกาสรักษาทั้งจิตใจ และ สภาพร่างกาย
- อย่ามีเซ็กซ์ จนกว่าเลือดจะหยุดไหลแล้ว
- ใช้แผ่นอนามัยใน 24 ชั่วโมงแรก
- พูดคุยกับคุณหมอเรื่อง วิธีการรักษา
- ทานยาให้ครบตามที่หมอสั่ง
- พูดคุยและขอความช่วยเหลือด้านจิตใจจากคนใกล้ตัว เช่น ครอบครัว เพื่อน และ แม่คนอื่นๆ
- พบจิตแพทย์ถ้าคุณคิดว่าจิตใจของคุณเริ่มที่จะไม่โอเคแล้ว
ที่มา : sg.theasianparent
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
10 เรื่องยอดฮิตของทารก รวมทุกคำถามที่พ่อแม่อยากรู้และสงสัยมากที่สุด!
5 วิธีบำรุงผิวแบบเร่งด่วนสำหรับคุณแม่ นอนน้อยยังไงให้หน้ายังดูใสปิ๊งไม่โทรม