หยุดคิดสักนิด ก่อนคิดซื้อนม ระวัง! น้ำมันปาล์มในนมผง

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจไม่ทราบมาก่อนว่า ส่วนผสมของน้ำมันปาล์มในนมผง มีผลทำให้การดูดซึมแคลเซียมจากนมได้ต่ำ ดังนั้นจึงชวนทุกท่านมาทำความเข้าใจและเลือกนมให้ลูกได้อย่างถูกต้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หยุดคิดสักนิด ก่อนคิดซื้อนม ระวัง! น้ำมันปาล์มในนมผง

ช่วงวัยขวบปีแรกของลูก เป็นช่วงที่ลูกสะสมสารอาหารเพื่อเสริมสร้างร่างกายและกระดูกมากที่สุด

ดังนั้นลูกน้อยในช่วงวัยนี้จึงควรได้รับสารอาหารครบถ้วนโดยเฉพาะแคลเซียมเพื่อเสริมสร้างกระดูกและการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์   ซึ่งอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกช่วงวัยนี้คือนมแม่ ที่อุดมด้วยสารอาหารมากมายและร่างกายลูกก็สามารถดูดซึมแคลเซียมเพื่อนำไปใช้สร้างกระดูกได้ดี  แต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่สามารถให้นมลูกน้อยได้  คุณแม่ต้องใส่ใจเลือกสรรนมผงอย่างพิถีพิถัน เพราะแม้นมผงแต่ละยี่ห้อจะมีส่วนผสมของสารอาหารพัฒนาสมองหรือสารอาหารที่ใกล้เคียงนมแม่ แต่ไม่ได้หมายความว่าลูกน้อยจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเหมือนนมแม่เสมอไป เพราะในส่วนผสมบางอย่างอาจทำให้ร่างกายลูกดูดซึมสารอาหารเข้าไปใช้ประโยชน์ไม่ได้จริง โดยเฉพาะน้ำมันปาล์มในนมผงนั่นเอง

เพราะมีการศึกษาพบว่าการใส่น้ำมันปาล์มในนมผสมบางครั้ง เพียงเพื่อให้นมชนิดนั้นมีปริมาณกรดไขมันปาล์มมิติกเท่ากับนมแม่  แต่ผลที่ได้กลับไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ลูกดูดซึมแคลเซียมได้น้อย และทำให้ความหนาแน่นของกระดูกน้อยลง  นอกจากนี้ยังเคยมีงานวิจัยที่ทดลองกับเด็ก 3 กลุ่ม คือกลุ่มแรกเด็กที่กินนมแม่  กลุ่มที่ 2 เด็กที่กินนมผสมที่ไม่ใส่น้ำมันปาล์ม และกลุ่ม 3 เด็กที่กินนมผสมใส่น้ำมันปาล์ม  ผลปรากฏว่า เด็กที่กินนมแม่กับนมผงที่ไม่ใส่น้ำมันปาล์ม มีปริมาณแคลเซียมที่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ใกล้เคียงกัน  ส่วนกลุ่มเด็กกินนมผสมที่มีน้ำมันปาล์มจะมีปริมาณแคลเซียมที่ดูดซึมได้ต่ำกว่าถึง 35% ที่สำคัญคือ มีโครงสร้างของกระดูกที่ไม่แข็งแรงเท่าเด็ก 2 กลุ่มแรกอีกด้วย

ดังนั้นด้วยข้อมูลสำคัญเหล่านี้ เราจึงอยากให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านพยายามให้ลูกทานนมแม่ หรือหากให้นมแม่ไม่ได้ ให้สังเกตและใส่ใจสักนิดก่อนคิดที่จะซื้อนมให้ลูก  โดยควรพิจารณาเลือกนมผสมที่ไม่ใช่เพียงแค่มีสารอาหารพัฒนาสมองหรือมีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่เท่านั้น แต่ควรพิถีพิถันอ่านฉลากและเลือกนมที่มีสารอาหารหลักครบถ้วนต่อการพัฒนาสมอง การเจริญเติบโต การเรียนรู้   และพัฒนาการทุกด้านของลูกน้อย ตลอดจนไม่มีส่วนประกอบที่ขัดขวางการเสริมสร้างกระดูกและฟัน เพื่อให้ลูกได้รับแคลเซียมและสารอาหารที่มีคุณค่าได้ครบถ้วนอย่างแท้จริง

เข้าไปอ่านเรื่องราวดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ www.thehealthyclub.com คอลัมน์ฉลาดรอบด้านหรือโทร Abbott Cares 0-2252-2448 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มีงานวิจัยระบุว่า เด็กทารกแต่ละคนนั้น จะต้องการน้ำนมในปริมาณที่ไม่เท่ากัน สำหรับทารกที่มีอายุระหว่าง 1-6 เดือน ที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียว จะต้องการน้ำนมวันละ 25 ออนซ์ (750  มิลลิลิตร) หรือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 19 – 30 ออนซ์ (570 – 900มิลลิลิตร) ต่อวัน

ซึ่งลูกของเราก็ไม่เหมือนลูกคนอื่น ฉะนั้นเราจะมาหาปริมาณน้ำนมเฉลี่ยที่ลูกของเราต้องการในแต่ละมื้อกัน โดยดูจาก

1. น้ำหนักตัวของทารก

2. จำนวณมื้อที่ทารกกินนมในแต่ละวัน (ใน 24 ชั่วโมง หรือแบ่งให้ 6-8 มื้อ/วัน)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ตัวเลขที่ได้จะเป็นค่าประมาณน้ำนมแม่ที่ทารกต้องการในแต่ละมื้อ (ออนซ์)

ซึ่งคุณแม่ที่ สูตรลับ เพิ่มน้ำนมให้ไหลเยอะขึ้น สำหรับคุณแม่นักปั๊ม ปั๊มนม หรือชงนมผงให้ลูกกินจากขวด และต้องการทราบปริมาณที่แน่ชัดว่าควรให้ลูกกินนมวันละเท่าไหร่ จะสามารถคำนวณหาปริมาณนมที่ลูกควรกินในแต่ละวันได้ ดังนี้

ทารกอายุแรกเกิด-1 เดือน ใช้สูตรคำนวณ คือ น้ำหนักทารก (กก.) คูณ 150 ซีซี หารด้วย 30

ตัวอย่างเช่น ทารกแรกเกิดน้ำหนัก 3 กก. คำนวณได้คือ (3×150) หาร 30 = 15 ออนซ์ หรือ ปริมาณ 450 ซีซี/วัน เป็นปริมาณออนซ์ของนมที่ต้องใช้ใน 1 วัน (1 ออนซ์เท่ากับ 30 ซีซี) แบ่งให้ทานกี่มื้อ เอาจำนวนมื้อมาหาร เช่น 1 วัน ให้ลูกกิน 6 มื้อ ก็จะได้ 15 ÷ 6 เท่ากับ 2.5 คือแต่ละมื้อให้ลูกกินนมประมาณ 2.5 ออนซ์ (แต่ภายใน 1 เดือนแรก ถ้าคุณแม่ไม่ได้มีปัญหาอะไร ควรให้ลูกกินจากเต้าอย่างเดียว เพื่อป้องกันปัญหาลูกสับสนจุกนมหัวเต้านมแม่)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกอายุ 1-6 เดือน ใช้สูตรคำนวณ คือ น้ำหนักทารก (กก.) คูณ 120 ซีซี หารด้วย 30

ตัวอย่างเช่น ลูกอายุ 4 เดือน น้ำหนัก 6 กก. คำนวณได้คือ (6×120) หาร 30 = 24 ออนซ์ เป็นปริมาณออนซ์ของนมที่ต้องใช้ใน 1 วัน (ยังใช้สูตรชม.ละออนซ์ ได้เหมือนเดิม) หรือถ้าลูกกิน 8 มื้อ ก็จะได้ 24 ÷ 8 เท่ากับให้ลูกกินนมประมาณมื้อละ 3 ออนซ์

** ช่วงอายุ 5-6 เดือน เด็กส่วนใหญ่ จะกินน้อยลงอีก เพราะห่วงเล่น โดยเฉลี่ยจะกิน 24 ออนซ์ บวกลบ 4 ออนซ์ ช่วงนี้น้ำหนักจะขึ้นเดือนละ 4 ขีด

ทารก 6-12 เดือน ใช้สูตรคำนวณ คือ น้ำหนักทารก (กก.) คูณ 110 ซีซี หารด้วย 30

ตัวอย่างเช่น ลูกอายุ 6 เดือน น้ำหนัก 6.5 กก. คำนวณได้คือ (6.5X110) = 715 ÷ 30 เท่ากับ 23.83 ปัดเป็น 24 ออนซ์/วัน เหมือนเดิม แต่จะเพิ่ม คือ ข้าว 1 มื้อ มื้อละ 5-8 ชต. สำหรับเด็ก 6 เดือน , ข้าว 2 มื้อ สำหรับเด็ก 9 เดือน, ข้าว 3 มื้อ สำหรับเด็ก 12 เดือน

หลังจากครบ 1 ขวบขึ้นไป ข้าวจะเป็นอาหารหลัก ส่วนนมจะลดบทบาทเป็นเพียงอาหารเสริม เด็กช่วงนี้จะต้องการแคลเซียม วันละ 500 มก. หรือเทียบเท่ากับนมปริมาณ 500 ซีซี โดยสามารถกินนมแม่ได้จนกว่าฟันแท้จะขึ้น

การบอกจำนวนสำหรับเด็กที่กินนมจากเต้านมแม่นั้น อาจเป็นเรื่องที่คำนวนได้ยาก แแต่ถ้าให้ลูกกินนมอิ่มพอดี คือ นอนหลับสบาย ไม่งอแง น้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ เท่านี้ ก็ถือเป็นการกินนมที่เพียงพอกับลูกของเราแล้ว

ของกิน Icon Siam มาหาของกิน ขนม สุดอร่อย ที่ห้างหรูกินกันแบบชิค ๆ

หยุดคิดสักนิด ก่อนคิดซื้อนม ระวัง! น้ำมันปาล์มในนมผง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R